ลูกท้องผูก ถ่ายยาก แก้อย่างไร

ลูกท้องผูก ถ่ายยาก แก้อย่างไร
การเลี้ยงลูก

Last Updated on 2021 09 09

ปัญหาลูกท้องผูก เป็นเรื่องที่คุณแม่ต้องหมั่นสังเกต เนื่องจากทารกวัย 6 เดือน จะยังไม่สามารถพูดสื่อสารบอกกับคุณแม่ให้เข้าใจได้ว่าเขาท้องผูก อึแข็ง วันนี้แม่โน้ตมีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้ลูกท้องผูก พร้อมกับวิธีแก้อาการท้องผูกมาฝากค่ะ

การขับถ่ายของทารก

โดยปกติแล้ว ความถี่ในการขับของทารกมีดังนี้

ทารกแรกเกิด – 3 เดือน

จะมีการถ่ายประมาณวันละ 2 – 3 ครั้ง หรือสัปดาห์ละ 5 – 40 ครั้ง

อายุ 3 – 6 เดือน

จะถ่ายวันละ 2 – 4 ครั้ง

อายุ 6 เดือน ขึ้นไป

จะถ่ายวันละ 1 – 2 ครั้ง โดยประมาณ หรือสัปดาห์ละ 5 – 8 ครั้ง

ทั้งนี้ ทารกก็อาจจะไม่ได้มีการขับถ่ายทุกวัน ซึ่งการที่ลูกน้อยไม่ได้ถ่ายทุกวัน ไม่ได้หมายความว่าลูกจะท้องผูกเสมอไป คุณแม่ต้องสังเกตค่ะว่ามีอาการอื่นร่วมด้วยหรือไม่

ลูกท้องผูก

ลูกท้องผูก คือ ลูกมีอุจจาระเป็นก้อนแข็ง รวมไปถึงมีความยากลำบากในการขับถ่าย หรือแม้ว่าลูกน้อยจะถ่ายทุกวันแต่ถ้าอุจจาระมีลักษณะเป็นก้อนเล็ก ๆ แข็ง ๆ แบบนี้ก็ถือว่าลูกท้องผูก กลับกันถ้าดูแล้วอุจจาระมีลักษณะนิ่ม และจำนวนมากพอควร เมื่อเทียบกับปริมาณที่ลูกกินอาหารเข้าไป แต่ถ่ายสัปดาห์ละแค่ 2 ครั้ง แบบนี้ก็ถือว่า ไม่ใช่อาการท้องผูกค่ะ

อาการท้องผูกจะพบมากในทารกที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือน – 4 ปี โดยสาเหตุจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน

อาการลูกท้องผูก

โดยปกติแล้วทารกที่กินนมแม่ จะไม่มีอาการท้องผูก เว้นเสียแต่ว่าลูกกินนมชง เริ่มกินอาหารเสริมหรือยัง หรือลูกได้กินอาหารอะไรเข้าไปบ้าง คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตด้วยนะคะว่าอาหารที่ลูกกินเข้าไปนั้นจะส่งผลต่อการขับถ่ายของลูกน้อยอย่างไรบ้าง ซึ่งอาการท้องผูก มีดังนี้

ไม่ค่อยถ่าย

ความถี่ที่ทารกจะขับถ่ายนั้นอาจไม่ได้เกิดขึ้นทุกวัน และเกิดขึ้นไม่แน่นอน โดยเฉพาะในช่วงที่เริ่มหัดกินอาหารเสริมใหม่ ๆ อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่พบว่าลูกน้อยไม่ขับถ่ายมาแล้ว 2 – 3 วัน นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าลูกน้อยเริ่มจะท้องผูกแล้ว

ต้องออกแรงเบ่ง

ขณะที่ลูกขับถ่าย คุณแม่ลองสังเกตดูนะคะว่าลูกมีการออกแรงเบ่งมากกว่าปกติ รู้สึกหงุดหงิด และร้องไห้หรือไม่ หากมีอาการดังกล่าว ลูกน้อยอาจจะกำลังท้องผูกอยู่

มีเลือดปนกับอุจจาระ

หากพบว่าอุจจาระมีเลือดปนออกมา แสดงว่าลูกท้องผูก เนื่องจากผนังทวารหนักฉีกขาดอันเกิดจากการเบ่งนั่นเอง

กินอาหารได้น้อย

ลูกกินได้น้อย หรืออิ่มเร็วกว่าปกติ เนื่องจากลูกรู้สึกอึดอัด แน่นท้อง และไม่สบายท้องจากการที่เขาไม่ได้ขับของเสียออก

ท้องแข็ง

เมื่อกดที่ท้องลูกน้อยเบา ๆ พบว่าท้องแข็ง  ตึง หรือแน่น นั่นคืออาการท้องอืดที่มักเกิดขึ้นร่วมกับอาการท้องผูก

สาเหตุลูกท้องผูก พร้อมวิธีแก้

ดื่มน้ำน้อย

น้องมินก็ดื่มน้ำน้อยค่ะ แม่โน้ตก็จะคอยเตือนเขาเป็นระยะว่าให้ดื่มน้ำเยอะ ๆ หรือถ้าเป็นหลังอาหารที่เขากินอาหารเข้าไปเยอะแล้ว แม่โน้ตก็จะคอยบอกเขาว่าให้จิบน้ำบ่อย ๆ แทน แล้วจะอธิบายผลของการดื่มน้ำน้อยให้เขาฟังว่า “ถ้าหนูดื่มน้ำน้อย หนูจะท้องผูก ถ้าอึแข็งมากต้องไปหาคุณหมอ” เขาก็จะดื่มเยอะขึ้นเองค่ะ

การดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายสามารถคำนวณได้ ดังนี้ค่ะ

สูตรคำนวณปริมาณน้ำที่ร่างกายต้องการ
น้ำหนักตัว x 33
ตัวอย่าง
51 x 30 = 1,683 มล. หรือ 1.7 ลิตร

กินอาหารที่ไม่มีเส้นใยหรือมีเส้นใยน้อย

แก้ได้ด้วยการให้เขากินผักและผลไม้เพิ่มขึ้น อาจเริ่มจากผักที่ไม่มีกลิ่นฉุนก่อน เช่น แครอท ผักกาดขาว และกะหล่ำปลี เป็นต้น หรือถ้าเป็นผลไม้อาจเริ่มจากกล้วยน้ำว้า มะละกอ และแอปเปิ้ล เป็นต้น

ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย

เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายจะทำให้ระบบอาหารย่อยทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญอาหารก็จะถูกลำเลียงไปที่ลำไส้ได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น วันหยุดลองชวนลูก ๆ ออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านกันดูนะคะ

ไม่ยอมขับถ่ายในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย

เมื่อเด็กต้องออกไปนอกสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย เด็กจะยอมอั้นอุจจาระมากกว่าที่จะยอมถ่าย จึงทำให้เมื่อเลยเวลาที่จะขับถ่ายจึงทำให้อึแข็งมากขึ้น ดังนั้น ทางที่ดีควรฝึกให้ลูกขับถ่ายในช่วงเช้าก่อนออกจากบ้านหรือไม่ก็ช่วงเย็น เพื่อที่จะได้ไม่ต้องอั้นนะคะ

รู้สึกไม่อยากขับถ่าย

เนื่องจากเคยมีประสบการณ์อึแข็งจนทำให้บาดรูทวาร แก้ไขได้โดยใช้ยาทารักษาแผล รอให้หายดี และก่อนขับถ่ายทำให้อึนิ่มก่อน เพื่อไม่ให้เจ็บทวารค่อยหยุดยา และพยายามไม่ให้เกิดเหตุการณ์นี้อีก

มีประสบการณ์ที่ไม่ดีจากการถูกบังคับ

ลูกท้องผูก ฝึกนั่งกระโถน

ลูกอาจเคยถูกบังคับจากการบังคับให้นั่งกระโถน ทางแก้คือ ปล่อยให้ลูกถ่ายด้วยวิธีที่เขาถนัดไปก่อน ขณะเดียวกันก็พยายามชี้ชวนให้ลูกดูวิธีที่ทุกคนเขาปฏิบัติกัน ข้อนี้คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลนะคะ เพราะแม่โน้ตก็ทำแบบนี้เหมือนกัน รอจนวันที่เขาพร้อมเขาจะเปลี่ยนเอง บางคนก็รอจนเข้าโรงเรียนเนื่องจากที่โรงเรียนจะมีชักโครกที่พอดีกับตัวลูกค่ะ แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่อยากลองฝึกจริง ๆ อาจให้นั่งชักโครกที่บ้านก็ได้ค่ะ แล้วซื้อที่รองชักโครกสำหรับเด็กมาวาง แต่ถ้าเขาไม่พร้อมก็ไม่ต้องบังคับนะคะ

ไม่ถูกกับอาหารที่กินอยู่

เช่น อาจแพ้โปรตีนจากนมวัว รวมถึงผลข้างเคียงของธาตุเหล็กที่ผสมในนมผง ทางแก้คือ ให้ลูกดื่มนมถั่วเหลืองหรือนมสำหรับเด็กที่แพ้นมวัวโดยเฉพาะ แต่ถ้าหากลูกที่อายุมากกว่า 1 ขวบ นมผงก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป ให้เปลี่ยนมาเป็นนมกล่องที่ไม่ได้เสริมธาตุเหล็กแทนค่ะ

ผลกระทบจากโรคบางโรคหรือยาบางชนิด

โรคต่าง ๆ ที่ว่า อาทิ โรคต่อมไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์ และโรคเบาจืด หรือยาบางชนิด อาทิ ธาตุเหล็ก ยาลดไข้สูง ยาลดกรด ยากดการไอที่มีโคเดอีน หากลูกต้องเผชิญกับปัญหาท้องผูกมาก ๆ ให้ลองปรึกษาคุณหมอ เพื่อหาทางแก้ไขที่ถูกต้อง

โรคขาดเนื้อเยื่อประสาทที่ควบคุมการทำงานลำไส้

หรือที่เรียกว่า Congenital Megacolon หรือ Hirschsprung’s Disease โรคนี้จะสามารถวินิฉัยได้โดยการสวนแป้งทางทวารและผ่าตัดนำชิ้นเนื้อจากลำไส้ไปตรวจ ในกรณีที่เป็นไม่มาก สามารถแก้ไขได้ด้วยยาช่วยระบาย ถ้าเป็นมากก็จะใช้วิธีการผ่าตัด

สาเหตุที่ทำให้ลูกท้องผูกจากที่กล่าวมานั้นเกิดได้หลายสาเหตุ ซึ่งอีกหนึ่งสาเหตุที่คุณแม่สามารถแก้ได้ง่ายที่สุดก็คือ เรื่องของอาหารที่ลูกกินเข้าไป ให้คุณแม่ลองสังเกตดูว่า 6 อาหารที่ทำให้ท้องผูก ลูกน้อยถ่ายยาก มีอะไรบ้าง แล้วเลี่ยงอาหารนั้น พร้อมกับให้ลูกได้ดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้มากสักหน่อย

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ


Mommy Note

3,109,750 views

คุณแม่ลูกหนึ่ง ที่ใช้วิธีการเลี้ยงลูกแบบ "Tradigital" แบบดั้งเดิมผสมผสานกับความดิจิทัลในยุคปัจจุบัน เน้นเลี้ยงลูกให้เป็นคนธรรมดาที่มีสุข ติดต่องานได้ที่ e-mail : simplymommynote@gmail.com

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save