ลูกเดินเขย่งเท้า ผิดปกติไหม? ใช่ออทิสติกหรือเปล่า

ลูกเดินเขย่งเท้า ผิดปกติไหม เมื่อไหร่ควรพบแพทย์
การเลี้ยงลูก

Last Updated on 2023 10 04

โดยธรรมชาติของเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 1 – 3 ปี ช่วงนี้จะเรียกว่า “วัยเตาะแตะ” หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ เป็นช่วงวัยของการทรงตัว เด็กจะเล่มมีการพลิกตัว ลุก นั่ง คลาน พยายามจะยืน และเดิน ซึ่งในช่วงเริ่มต้นของการหัดเดินนี้เอง คุณพ่อคุณแม่จะต้องช่วยพยุงแขนและช่วงรักแร้ของลูกน้อย เพื่อให้เขาพยายามทรงตัวยืนอยู่ได้ และค่อย ๆ ก้าวไปข้างหน้าทีละก้าว ๆ ด้วยการเขย่งเท้าเนื่องจากยังไม่คุ้นเคย แต่เมื่อได้รับการฝึกฝนหัดเดินทุกวัน ๆ เด็กก็จะเริ่มชิน จนเริ่มยืนและเดินได้เองภายใน 6 เดือน โดยไม่ต้องเขย่งเท้าอีกต่อไป และเมื่ออายุได้ 3 ขวบ เด็ก ๆ ก็จะสามารถยืน เดิน และวิ่งเล่นได้อย่างสนุกสนานตามวัยของเขา

แต่…หากลูกน้อยไม่ได้มีพัฒนาการที่เป็นเช่นนี้เล่า?

สาเหตุที่ลูกเดินเขย่งเท้า

“ลูกเดินเขย่งเท้า ถือเป็นพัฒนาการที่ผิดปกติไหม?”

คำถามนี้ผุดขึ้นมาในใจของคุณพ่อคุณแม่ทุกคนทันที ที่เห็นพัฒนาการก้าวย่างของลูกผิดไปจากเด็กทั่วไป ทั้ง ๆ ที่วัยของเขาน่าจะยืนได้เต็มเท้า หรือเดิน และวิ่งได้อย่างคล่องแคล่ว แต่กลับยังชอบเดินเขย่งเท้าอยู่อีก ซึ่งก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะคิดว่า “ลูกผิดปกติ” หรือไม่นั้น เราลองมาวิเคราะห์หาสาเหตุ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกันก่อนดีกว่าค่ะ

อาจเป็นนิสัยของเด็กเอง (Habit)

ที่ชอบเดินเขย่งเท้า หรือบางครั้งก็เป็นการเลียนแบบ ท่าทางการเดินของผู้ใหญ่ เวลาเดินบนพื้นที่เปียกแฉะ หรือสกปรก ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ไม่ใช่ตลอดเวลา จนติดเป็นพฤติกรรมที่แก้ไม่หาย

อัมพาต หรือสมองพิการ (Cerebral Palsy)

เนื่องจากสมองได้รับการกระทบกระเทือน จากภาวะการคลอดก่อนกำหนด ดังนั้นความผิดปกติของสมอง จึงทำให้ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อขา และเท้าได้ ส่งผลให้กล้ามเนื้อขามีอาการตึงตัว เกร็ง ทำให้เดินไม่ถนัด จึงต้องเดินเขย่งเท้าไปมาเป็นเวลานาน แม้อายุจะเลย 3 ขวบไปแล้ว เด็กก็ยังติดการเดินเขย่งอยู่นั่นเอง

เอ็นร้อยหวายสั้นมาแต่กำเนิด (Congenital short heel cord)

โดยธรรมชาติของเด็กวัยนี้ เมื่อร่างกายเติบโตขึ้นตามลำดับ เอ็นร้อยหวายที่ข้อเท้าก็จะยืดตามไปด้วย แต่ในเด็กที่มีอาการผิดปกติ เอ็นร้อยหวายจะสั้น ทำให้ไม่สามารถยืน หรือเดินได้เต็มเท้า จึงต้องเดินเขย่งเท้า

โรคออทิซึม (Autism)

โรคออทิซึม หรือเด็กออทิสติก นั่นเอง ซึ่งเด็กที่ป่วยเป็นโรคออทิซึม มักจะมีพฤติกรรมเด่นชัดดังนี้ คือ

  • มีพัฒนาการทางด้านภาษาค่อนข้างช้า เช่น พูดช้า หรือไม่พูด ไม่ฟังคำสั่ง ทำตามคำสั่งไม่ได้ เป็นต้น
  • มีพัฒนาการทางด้านสังคมผิดแปลกไปจากเด็กทั่วไป เช่น เก็บตัว ไม่เข้ากลุ่ม ชอบทำพฤติกรรมซ้ำๆ หมกมุ่นและสนใจเฉพาะบางสิ่ง ไม่สบตา ไม่เล่นกับเพื่อน เป็นต้น

วิธีแก้ไขลูกเดินเขย่งเท้า

วิธีการแก้ไขลูกเดินเขย่งเท้า ตามหลักการยืดหยุ่น สามารถทำได้เบื้องต้น ดังนี้

นวดคลายเส้นเบา ๆ

เมื่อเด็กยืนนาน ๆ อาจเกิดอาการเมื่อยล้า คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยนวดคลายเส้น เพื่อกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อ ที่บริเวณใต้ฝ่าเท้าให้ลูกได้ เพื่อบรรเทาความเมื่อล้า และการตึงของกล้ามเนื้อ

การฝึกเดินบนพื้นที่แตกต่างกัน

เช่น สนามหญ้า บนพื้นทราย บนพื้นดินที่นุ่ม และบนพื้นบ้านที่เรียบเสมอกัน ก็เป็นการช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อยได้ เมื่อเด็กคุ้นชิ้นกับสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ก็จะเกิดความมั่นใจ และเดินได้เต็มเท้ามากขึ้น โดยไม่ต้องเดินเขย่งอีกต่อไป

ให้ใช้หลักการยืดหยุ่น

การบริหารกล้ามเนื้อ และการคลายกล้ามเนื้อ ยกตัวอย่างเช่น

  • การยืดกล้ามเนื้อน่อง
  • การยืดเส้นเอ็นร้อยหวาย

พฤติกรรมการเดินเขย่งเท้า ถือเป็นเรื่องปกติในเด็ก “วัยเตาะแตะ” เมื่อเขาเริ่มต้นที่จะหัดเดิน ซึ่งการเดินเขย่งเท้านี้จะค่อย ๆ หายไปได้เองเมื่อเด็กอายุได้ 3 ขวบ ซึ่งอยู่ในช่วงอนุบาล และมีกิจกรรมมากมายให้เขาได้เรียนรู้ร่วมกับเพื่อน ๆ ที่โรงเรียน แต่หากเด็กอายุ 5 – 6 ขวบแล้ว แต่ยังคงเดินเขย่งเท้าอยู่ คุณพ่อ คุณแม่ คุณครู และผู้ดูแลควรสังเกตพฤติกรรมที่ผิดปกติของเด็ก และพาไปพบแพทย์ เพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป…

ลูกเดินเขย่งเท้าแบบไหนที่ควรพบแพทย์

หากคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ดูแลเด็กสังเกตการเดินของเด็กแล้วพบว่า แม้เขาจะเดิน และวิ่งได้อย่างเด็กปกติทั่วไปแล้ว แต่ก็ยังชอบเดินเขย่งเท้าอยู่อีก นั่นอาจเพราะมีบางสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับเด็ก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรพาเด็กไปพบกุมารแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำ และทำการวินิจฉัยโดยละเอียด เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาต่อไป

ลักษณะลูกเดินเขย่งเท้า ที่ควรไปพบแพทย์ ได้แก่

ลูกอายุ 3 ขวบขึ้นไปแล้ว แต่ยังเดินเขย่งเท้า

ทั้ง ๆ ที่สามารถเดินแบบปกติได้แล้ว อาจเนื่องมาจากมีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากเซลล์ประสาทผิดปกติ ซึ่งสาเหตุอาจมาจากพันธุกรรม หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้มาก่อน

มีประวัติคลอดยาก คลอดก่อนกำหนด

รวมไปถึงขาดออกซิเจนขณะคลอด ซึ่งไม่เพียงแต่จะมีผลต่อพัฒนาการของลูกน้อยแล้ว ยังส่งผลให้มีอาการผิดปกติด้านอื่นๆ ตามมาอีกด้วย

เด็กมีภาวะความตึงตัวของเอ็นร้อยหวาย

โดยเฉพาะที่บริเวณข้อเท้าที่จะมีอาการตึงตัวของเอ็นร้อยหวายมากผิดปกติ ทำให้เกิดอาการตึง เกร็ง จนเกิดความเจ็บปวด ทำให้ไม่สามารถขยับข้อเท้าก้าวเดินได้อย่างปกติ จึงต้องเดินเขย่งเท้าเป็นเวลานาน ๆ

การเดินเขย่งเท้าแบบต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ

แม้อายุจะเลย 5 – 6 ขวบไปแล้ว ก็ยังเดินเขย่งเท้าอยู่ สามารถพบได้ในกลุ่มเด็กที่ป่วยทางจิตเวช เช่น เด็กที่มีภาวะจิตบกพร่อง (schizophrenia) เด็กที่ป่วยเป็นโรคออทิสซึม (Autism) เป็นต้น

มีปานที่ผิวหนังจำนวนมาก

ตรวจพบว่าที่บริเวณผิวหนังมีปานเป็นจำนวนมาก และมีเนื้องอกเกิดขึ้น รวมไปถึงการที่กระดูกสันหลังของเด็กมีความผิดปกติด้วยเช่นกัน

การเดินเขย่งเท้าในเด็กตั้งแต่วัย 11 เดือน จนถึง 3 ปีถือเป็นเรื่องปกติที่คุณแม่ต้องคอยประคับประคองให้เขากล้าที่จะก้าวเดินได้อย่างมันคง ทีละก้าวๆ เล็กๆ จนกระทั่งเมื่อถึงวัย 3 ขวบ เด็กจะเริ่มยืน และเดินได้ด้วยตนเอง คุณพ่อคุณแม่อาจไม่ต้องคอยประคับประคองการเดินของเขาอีกต่อไป แต่ควรสังเกตอย่างระมัดระวัง และคอยสำรวจพฤติกรรมของเขาอยู่ใกล้ๆ เพื่อดูพัฒนาการของลูกน้อย จะจะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ว่ายังมีสิ่งใดที่คุณพ่อต้องห่วงกังวลอีกหรือไม่ โดยเฉพาะพัฒนาการทางร่างกาย สมอง สติปัญญา และอารมณ์ ซึ่งหากพบสิ่งผิดปกติ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรับพาเด็กไปพบกุมารแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย หาสาเหตุการเดินที่แปลกไปจากเด็กปกติ ต่อไป นั่นเอง


waayu

322,551 views

(นามปากกา : วายุ, วิสัชนา, อารีรัตน์) ชอบปลูกต้นไม้ อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ และวาดรูป เคยเป็นครูอนุบาล ครูประถม ครูมัธยมต้น ครูสอนจินตคณิต(สมาร์ทเบรน) มีงานเขียนพ็อกเก็ตบุ๊ค และ E-book ที่ mebmarket.com Facebook

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save