สมุนไพรที่ทำให้ตกเลือด แม่ท้องควรเลี่ยง

สมุนไพรที่ทำให้ตกเลือด แม่ท้องควรเลี่ยง
ตั้งครรภ์

Last Updated on 2022 11 08

ตั้งแต่สมัยโบราณนานมา คนไทยเราใช้สมุนไพรในชีวิตประจำวันกันเป็นจำนวนมาก ทั้งสมุนไพรในรูปของอาหาร และสมุนไพรในรูปของยารักษาโรค แต่กระนั้น สมุนไพรแต่ละชนิดก็มีทั้งคุณและโทษในตัวเองเช่นเดียวกัน ดังนั้นก่อนจะเลือกรับประทาน หรือใช้สมุนไพรใดๆ กับร่างกาย เราควรพิจารณา ตรวจสอบ และปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญให้ถ่องแท้เสียก่อน จึงจะนำมาใช้ โดยเฉพาะกับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ ซึ่งคนท้องส่วนใหญ่จะมีสภาพร่างกายที่อ่อนแอ ภูมิต้านทานต่ำ การรับประทานสมุนไพรบางอย่าง อาจมีผลทำให้ถึงกับเจ็บไข้ได้ป่วย และบางครั้งก็อาจส่งผลกระทบไปถึงทารกในครรภ์ ทำให้เกิดความผิดปกติทางร่างกาย พัฒนาการทางสมอง และอาจถึงขั้นพิการ คลอดก่อนกำหนด หรือทำให้คุณแม่ยุติการตั้งครรภ์ เนื่องจากการตกเลือดได้ด้วยเช่นกัน

สารบัญ

สมุนไพรที่ส่งผลกระทบต่อคุณแม่ตั้งครรภ์

สมุนไพรที่ส่งผลกระทบต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ที่คนท้องควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจทำให้เกิดอาการปั่นป่วนมวนในท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีอาการรุนแรงถึงขั้นครรภ์เป็นพิษ ตกเลือด และอาจแท้งบุตรได้ในที่สุด

ตังกุย (โกฐเชียง)

สรรพคุณ ตังกุย (โกฐเชียง)

บำรุงหัวใจ บำรุงเลือด ฟอกเลือด รักษาโรคโลหิตจาง บำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง (ตำรับยาสตรี) แก้ปวดหัว บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ช่วยบำรุงตับ ขับเลือด ช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ รักษาอาการหอบหืด ช่วยขับน้ำคาวปลา มีประโยชน์กับสตรีหลังคลอดบุตร ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็ว

ผลกระทบต่อคุณแม่ตั้งครรภ์

ห้ามใช้สมุนไพรตังกุยในสตรีมีครรภ์ และผู้มีระบบขับถ่ายไม่ดี เช่น ท้องเสียบ่อย ถ่ายเป็นมูกเลือด เนื่องเพราะตังกุยมีสรรพคุณในการขับเลือด กระตุ้นการบีบตัวของมดลูก จึงอาจทำให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์แท้งบุตรได้

ดอกคำฝอย

สรรพคุณ ดอกคำฝอย

ลดไขมันในเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต บำรุงประสาท ลดความเครียด ช่วยให้ผ่อนคลาย บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต ช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ

ผลกระทบต่อคุณแม่ตั้งครรภ์

คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานดอกคำฝอย เพราะดอกคำฝอยมีสรรพคุณในการขับเลือด อาจทำให้แท้งบุตรได้ นอกจากนี้ในคนทั่วไป การรับประทานดอกคำฝอย (หรือชาสมุนไพรดอกคำฝอย) ในปริมาณที่มาก และติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้รู้สึกเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย และเหนื่อยง่ายอีกด้วย

ว่านชักมดลูก

สรรพคุณ ว่านชักมดลูก

เป็นยาสมุนไพรสำหรับสตรี ช่วยบำรุงเลือด กระตุ้นการบีบตัวของมดลูก ช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ

ผลกระทบต่อคุณแม่ตั้งครรภ์

เนื่องจากว่านชักมดลูกมีสรรพคุณในการกระตุ้นการขับเลือด ทำให้มดลูกบีบตัว หดตัว จนขับเลือดออกมา จึงมีอันตรายต่อคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ เพราะอาจทำให้เกิดภาวะแท้งบุตรได้

ฟ้าทะลายโจร

สรรพคุณ ฟ้าทะลายโจร

เป็นยาเย็น มีสรรพคุณในการลดไข้ แก้หวัด แก้ไอ แก้เจ็บคอ กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยปรับสมดุลให้กับร่างกาย

ผลกระทบต่อคุณแม่ตั้งครรภ์

ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์ และแม่ที่ให้นมบุตร เพราะอาจส่งผลให้ทารกพิการได้ อีกทั้งฟ้าทะลายโจรยังมีคุณสมบัติช่วยในการคุมกำเนิดอีกด้วย ดังนั้นคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานสมุนไพรฟ้าทะลายโจร เพราะอาจทำให้มีการแท้งบุตรเกิดขึ้นได้ สำหรับในคนปกติ ห้ามใช้ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรติดต่อกันเกิน 7 และหากใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลา  3 วันอาการยังไม่ดีขึ้น ให้หยุดยา และพบแพทย์เพื่อทำการรักษา เพราะการรับประทานฟ้าทะลายโจรติดต่อกันเป็นเวลานานๆ อาจเกิดผลข้างเคียง จนเกิดภาวะช็อกอย่างรุนแรงได้

สมุนไพรที่ส่งผลกระทบต่อลูกในครรภ์

พริกสด และเครื่องแกงรสเผ็ดร้อน

สรรพคุณ พริกสด และเครื่องแกงรสเผ็ดร้อน

กระตุ้นการทำงานของลำไส้ ช่วยให้ระบบเผาผลาญทำงานได้อย่างมีประสิธิภาพ ช่วยขับเหงื่อ

ผลกระทบต่อลูกในครรภ์

มีฤทธิ์ในการกระตุ้นการทำงานของลำไส้  รับประทานมากไปอาจเกิดอาการปั่นป่วนมวนท้อง นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการบีบมดลูก คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานพริกสด พริกขี้หนู หรือเครื่องแกงรสเผ็ดร้อนต่างๆ เพราะอาจทำให้เกิดการแท้งบุตรได้

ตะไคร้

สรรพคุณ ตะไคร้

ช่วยให้ร่างกายขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ บรรเทาอาการปวดท้อง

ผลกระทบต่อลูกในครรภ์

เนื่องจากในตะไคร้จะมีสารออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ ทำให้กระบวนการผลิตเซลล์ของตัวอ่อนหยุดชะงัก หรือไม่สมบูรณ์ อาจส่งผลให้เยื่อหุ้มเซลล์ขิงทานกเกิดการฉีดขาด ทารกอาจเสี่ยงต่อความพิการ หรือทำให้เสียชีวิตได้ นอกตชจากนี้การรับประทานตะไตร้ยังส่งผลให้เกิดการบีบตัวอย่างรุนแรงของกล้ามเนื้อมดลูกนำไปสู่ภาวะการคลอดก่อนกำหนด หรืออาจแท้งบุตรได้ในที่สุด

ไพล

สรรพคุณ ไพล

แก้อาการปวดเมื่อย รักษาอาการเหน็บชา ขับลม รักษาโรคลำไส้อักเสบ แก้ปวดท้อง ขับประจำเดือน

ผลกระทบต่อลูกในครรภ์

การรับประทานไพลในปริมาณมาก และติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจเป็นพิษต่อตับได้ ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์ และแม่ในระยะให้นมบุตร เพราะไพรมีรสเผ็ดร้อน มีคุณสมบัติกระตุ้นการไหลเวียนเลือด และขับเลือดประจำเดือน ดังนั้นคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากจะทำให้เกิดอันตรายต่อแม่ และทารกในครรภ์ได้ นั่นเอง

โหระพา

สรรพคุณ โหระพา

เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ลดความเครียด ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดคลอเรสเตอรอลในเลือด แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด แน่นท้อง ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และไวรัสบางชนิดได้

ผลกระทบต่อลูกในครรภ์

น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากใบโหระพาไม่เหมาะที่จะนำมาใช้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะอาจเกิดอาการแพ้ ทำให้คลื่นไส้ อาเจียนได้ นอกจากนี้การรับประทานโหระพายังอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลง เนื่องจากในน้ำมันหอมระเหยจากใบโหระพาจะมีสารเอสตราโกล (Estragole) ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตับได้ อีกทั้งใบโหระพายังมีฤทธิ์ลดความดันโลหิต จึงไม่ควรใช้ในผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำ เพราะจะยิ่งอันตราย นอกจากนี้น้ำมันหอมระเหยใบโหระพา ยังออกฤทธิ์ชะลอการแข็งตัวของเกล็ดเลือด อาจทำให้เลือดออกไม่หยุดได้

กะเพรา

สรรพคุณ ใบกะเพรา

ช่วยรักษาโรคไข้หวัด โรคหลอดลมอักเสบ โรคหอบ ควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน  ช่วยบรรเทาอาการป่วยของโรคระบบประสาท (เช่น โรคพาร์กินสัน) ช่วยลดความเครียด ช่วยให้สมองปลอดโปร่ง ช่วยในการมองเห็น บำรุงสายตา ขับเสมหะ ขับเหงื่อ แก้ไข้ ช่วยเสริมสร้างระบบทางเดินหายใจ ช่วยขับลม ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ  ลดการบีบตัวของลำไส้ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้ท้องร่วง ลดการคลื่นไส้อาเจียน

ผลกระทบต่อลูกในครรภ์

ควรจะหลีกเลี่ยงการรับประทานกะเพราะ เพราะกะเพรามีรสเผ็ดร้อน การรับประทานใบกะเพราอาจทำให้คุณแม่รู้สึกปวดมวนในท้องได้ ซึ่งจะส่งผลไปถึงทารกในครรภ์ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ใบกะเพรายังมีฤทธิ์ชะลอการแข็งตัวของเกล็ดเลือด ดังนั้นการรับประทานกะเพราในปริมาณที่มากเกินไป อาจเกิดอันตรายต่อแม่ และทารกได้เช่นกัน

สมุนไพรที่กินได้ แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อน

คาโมมายด์

สรรพคุณ คาโมมายด์

ช่วยลดภาวะความวิตกกังวล ช่วยให้ผ่อนคลายความตึงเครียด ช่วยให้หลับสบาย ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหาร ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ผลกระทบที่เกิดขึ้น

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ สามารถรับประทานชาคาร์โมมายด์ได้ แต่ไม่ควรบริโภคมากเกินไป และควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทาน

เปปเปอร์มินต์

สรรพคุณ เปปเปอร์มินต์

ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียนของคุณแม่ในระยะตั้งครรภ์ได้ ลดความเครียด ช่วยทำให้รู้สึกสดชื่น และยังช่วยลดอาการวิงเวียนศีรษะได้อีกด้วย

ผลกระทบที่เกิดขึ้น

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์อาจเกิดอาการแพ้ได้ ซึ่งแทนที่จะช่วยให้รู้สึกสดชื่นขึ้น กลับกลายเป็นยิ่งเพิ่มอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียรหนักกว่าเดิม ทำให้รู้สึกออ่อนเพลียได้ ดังนั้นก่อนรับประทานคุณแม่ตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อนจึงจะเป็นการดีที่สุด

โรสแมรี่

สรรพคุณ โรสแมรี่

กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ป้องกันการเกิดลิ่มเลือด บรรเทาอาการไอ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย

ผลกระทบที่เกิดขึ้น

เนื่องจากโรสแมรี่มีสรรพคุณในการกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต จึงควรรับประทานแต่น้อย และควรอยู่ในความดูแลของแพทย์เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่ และลูกน้อยนั่นเอง

แนะนำเมนูสมุนไพรสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

การรับประทาอาหารสำหรับคุณแม่ที่อยู่ในช่วงการตั้งครรภ์เป็นเรื่องสำคัญต้องใส่ใจเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอาหาร เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของสมุไพรต่างๆ ต้องคำนึงและควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานทุกครั้ง

ในช่วงของการตั้งครรภ์ทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตตามช่วงวัยอยู่ตลอดเวลา เมื่ออายุครรภ์เพิ่มขึ้น นอกจากพัฒนาการองลูกน้อยที่มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วคุณแม่ก็มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายให้เห็นเช่นเดียวกันในแต่ละเดือน ดังนั้น เรามาดูกันค่ะว่าการเปลี่ยนแปลงของร่างกายขณะตั้งครรภ์ในแต่ละเดือนจะเหมาะกับอาหารสมุนไพรชนิดใดบ้าง

ตั้งครรภ์ เดือนที่ 1

คุณแม่เริ่มมีอาการแพ้ท้อง คัดและเจ็บเต้านม เต้านมเริ่มใหญ่ขึ้น อีกทั้งยังเริ่มมีอารมณ์แปรปรวนหงุดหงิดง่าย

เมนูอาหารที่แนะนำ

ได้แก่ รากบัวเชื่อม น้ำขิง เมนูใบตำลึง เป็นต้น

ตั้งครรภ์ เดือนที่ 2

เต้านมขยายใหญ่ขึ้นสังเกตจากฐานของหัวนม คุณแม่เจ็บเต้านมมากขึ้น มีอาการตกขาวมากกว่าปกติ ร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน อารมณ์แปรปรวนอ่อนไหวง่าย

เมนูอาหารที่แนะนำ

ได้แก่ ไก่ผัดขิง ยำผักแว่น

ตั้งครรภ์ เดือนที่ 3

ยังคงมีอาการแพ้ท้องแต่เริ่มลดลงและคงที่ สามารถตรวจพบคลื่นหัวใจของทารกน้อยในครรภ์ คุณแม่เริ่มมีอาการบวมที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และเส้นเลือดโป่ง

เมนูอาหารที่แนะนำ

ได้แก่ ชาขิง ชาเกสรบัวหลวง

ตั้งครรภ์ เดือนที่ 4

อาการแพ้ท้องเริ่มหาย มีอาการใจลอยบ้าง ตกขาวมากขึ้น มีอาการเส้นเลือดขอดและอาจมีอาการริดสีดวงทวารร่วม

เมนูอาหารที่แนะนำ

ได้แก่ ชามะตูม ปลากะพงนึ่งซีอิ๊วใส่ขิง น้ำฟักข้าว น้ำใบย่านาง

ตั้งครรภ์ เดือนที่ 5

อารมณ์เริ่มคงที่กลับสู่สภาวะปกติ ลูกน้อยในครรภ์เริ่มขยับตัวได้ คุณแม่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางผิวหนัง

เมนูอาหารที่แนะนำ

ได้แก่ น้ำใบบัวบก แกงเหลือง ปลาทอดขมิ้น

ตั้งครรภ์ เดือนที่ 6

การเปลี่ยนแปลงทางผิวหนังเริ่มชัดเจนโดยเฉพาะบริเวณหน้าท้องผิวหนังเริ่มแตกลาย มีอาการคันร่วม ในระยะการตั้งครรภ์นี้คุณแม่มักเกิดภาวะเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ มีอาการติดเชื้อทางเดินระบบปัสสาวะและการอักเสบร่วมด้วย

เมนูอาหารที่แนะนำ

ได้แก่ น้ำย่านาง ปีกไก่อบเชย ต้มไข่พะโล้

ตั้งครรภ์ เดือนที่ 7

คุณแม่มีกมีอาการนอนหลับยาก หลับไม่เต็มที่ การเคลื่อนไหวไม่คล่องแคล่ว มีอาการหายใจสั้น สาเหตุเนื่องมาจากมดลูกโตดันกระบังลม

เมนูอาหารที่แนะนำ

ได้แก่ น่านาง เต้าฮวยน้ำขิง โจ๊กใส่ขิง

ตั้งครรภ์ เดือนที่ 8

คุณแม่มักมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ มีอาการเหนื่อยง่าย หายใจเร็วและสั้น

เมนูอาหารที่แนะนำ

ได้แก่ ชามะตูม สะเดาน้ำปลาหวาน แกงเหลือง

ตั้งครรภ์ ดือนที่ 9

ช่วงเดือนสุดท้ายของการั้งครรภ์คุณแม่มักมีอาการปัสสาวะบ่อย มีอาการหน่วงบริเวณเชิงกรานมากขึ้น และอาจมีอาการปวดบริเวณหัวเหน่า โคนขาร่วมด้วย

เมนูอาหารที่แนะนำ

เมนูอาหารที่แนะนำ ได้แก่ ขิงสด แกงขี้เหล็ก

สมุนไพรสำหรับคุณแม่หลังคลอด

หลังจากคลอดลูกน้อยแล้วเชื่อว่าคุณแม่หลายท่านยังพบปัญหาทางด้านร่างกายและจิตใหลายอย่างซึ่งอาจเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงระบบฮอร์โมนในช่วงระหว่างตั้งครรภ์ ก่อนคลอด และหลังคลอด ปัญหาที่คุณแม่หลังคลอดส่วนใหญ่เจออาทิ น้ำนมน้อย อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย ปัญหาเกี่ยวกับผิวพรรณ เป็นต้น มาดูกันว่าสมุนไพรที่เหมาะสำหรับคุณแม่หลังคลอดมีอะไรบ้าง

สมุนไพรกระตุ้นน้ำนม

หัวปลี

อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก วิตามินซี ฟอสฟอรัส แคลเซียม แบตาแคโรทีน

ฟักทอง

อุดมไปด้วยวิตามินเอ บี ซี ฟอสฟอรัส บีตาแคโรทีน

มะละกอ

<มีเอนไซม์สร้างภูมิคุ้มกัน เส้นใย ธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินเอ บี ซี ฟอสฟอรัส

มะรุม

วิตามินซีสูงกว่าส้ม 7 เท่า แคลเซียมสูง อีกทั้งยังมีวิตามินเอ โพแทสเซียม และโปรตีนสูง

ตำลึง

อุดมไปด้วยวิตามิ B1, B2, B3, C โปรตีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก และเส้นใยสูง

ขิง

อุดมไปด้วยไขมัน วิตามินA, B1 และ B2

กานพลู

มีส่วนผสมของยูจีนอล (Eugenol) ซึ่งอยู่ในน้ำมันดอกกานพลู

สมุนไพรลดอาการปดเมื่อย อ่อนเพลีย

อาการปวดเมื่อย อ่อนเพลียหลังจากคลอดทารกเป็นอาการที่พบ่อยในคุณแม่เกือบทุกราย วิถีภูมิปัญญาชาวบ้านเมื่อคลอดทารกแล้วมักให้แม่อยู่ไฟ อบสมุนไพรหรืออาบน้ำสมุนไพรต่างๆเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสดชื่น เลือดไหลเวียนดี ลดอาการปวดเมื่อย อ่อนเพลีย อีกทั้งยังสามารถกระตุ้นให้คุณแม่ผลิตน้ำนมได้มากขึ้น ซึ่งสมุนไพรที่ใช้มีหลายชนิดอาทิ

ใบข่า พิมเสนต้น ใบเตย
ใบย่อ ใบตองกล้วยตีบแห้ง ว่านไพลใจดำ
ใบตะไคร้หอม ใบมะขาม ใบหนาด ยาหัว ว่านหอม
ใบกล้วยแห้ง ใบเปล้า แหน่งหอม
ใบเตย ขมิ้นขึ้น ใบส้มป่อย
หัวเปราะ ว่านไพล มะกรูด
ใบมะตูม เจตมูลเพลิง เปลืองแดง
ตุมตัง เอ็นอ่อน หัวหวานแก้ (พืชตระกูลขิง)
สันพร้าหอม แก่นคูน ลูกชัด
หญ้าแห้วหมู ใบจะเริมหลำ (ปีกไก่ดำ) ชะลูด
ใบส้มลม บัวบก ใบส้มกบ
สาบเสือ เปลือกดู่ ใบกิ่งปาน (คนทีสอ)

อ้างอิง naturebiotec.com, pobpad.com, tnnthailand.com, mamaexpert.com


waayu

329,134 views

(นามปากกา : วายุ, วิสัชนา, อารีรัตน์) ชอบปลูกต้นไม้ อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ และวาดรูป เคยเป็นครูอนุบาล ครูประถม ครูมัธยมต้น ครูสอนจินตคณิต(สมาร์ทเบรน) มีงานเขียนพ็อกเก็ตบุ๊ค และ E-book ที่ mebmarket.com Facebook

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save