ขอโทษลูกอย่างไรดี จะเริ่มตรงไหนก่อน เมื่อพ่อแม่ทำพลาด

ขอโทษลูกอย่างไรดี จะเริ่มตรงไหนก่อน เมื่อพ่อแม่ทำผิดพลาด
การเลี้ยงลูก

Last Updated on 2021 11 03

เชื่อว่ามีพ่อแม่หลาย ๆ คนที่เป็นมือใหม่ป้ายแดงในเรื่องการเลี้ยงลูก บางคนเลี้ยงลูกด้วยสัญชาติญาณล้วน ๆ ไม่มีทฤษฎีอะไรปน แต่ในขณะที่บางคนก็หาข้อมูล ซึ่งก็ทำตามบ้างไม่ได้ทำตามบ้าง ทำถูกบ้างทำผิดบ้างก็เรียนรู้กันไป ส่วนทำถูกก็ดีไป แต่ส่วนที่ทำผิดล่ะคะ โดยเฉพาะกับลูก พ่อแม่เคยนั่งทบทวนตัวเองหรือเปล่าคะ ว่าสิ่งที่เราทำผิดไปต้องแก้ไขอย่างไร ถ้าเรารู้ว่าเราทำผิดต่อลูกแต่ไม่คิดที่จะปรับความเข้าใจกับลูก หรือขอโทษลูก รู้หรือไม่คะว่า ผลเสียที่จะตามมามันมากมายกว่าที่พ่อแม่คิดไว้เยอะ

พ่อแม่บางคนอาจรู้ตัวว่าทำผิด อยากขอโทษ แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร เพื่อเป็นการลบรอยร้าวของความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว วันนี้โน้ตมีธีที่จะทำให้คุณพ่อคุณแม่กล้าเปิดใจกล่าวคำขอโทษกับลูกมาฝากค่ะ

ผลเสียจากการที่ไม่ขอโทษลูก

ความสัมพันธ์ในครอบครัวห่างออกจนห่างเหิน

ความสัมพันธ์ และความผูกพันธ์เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น แต่สามารถสัมผัสได้ด้วยใจ หากความสัมพันธ์นี้ห่างเหิน จะส่งผลถึงพฤติกรรมของลูกในแง่ลบ และอาจติดตัวลูกไปจนโต ยกตัอย่างนะคะ เมื่อลูกมีปัญหาอะไรซักอย่าง  “เพื่อน และคนอื่น ๆ” จะเป็นบุคคลในลำดับแรก ๆ ที่ลูกหันหา ซึ่งพ่อแม่จะอยู่ในลำดับท้าย ๆ หรืออาจไม่ติดอันดับในใจลูกเลยก็เป็นได้

ลูกจะไม่ขอโทษคนอื่นเช่นเดียวกันกับที่พ่อแม่ทำกับเขา

เพราะลูกไม่มีตัวอย่างที่ดี ที่ถูกต้องให้เรียนรู้ และเลียนแบบ

ขอโทษลูกอย่างไรดี เมื่อพ่อแม่ทำพลาด

หากพ่อแม่ทำผิด ควรขอโทษลูกอย่างไม่มีเงื่อนไข

แน่นอน…เมื่อพ่อแม่ทำผิด ไม่ว่าจะตั้งใจ หรือไม่ได้ตั้งใจก็ตาม ควรขอโทษลูกในทันทีที่รู้ว่าตัวเองทำผิด เพราะสิ่งนี้จะเท่ากับเป็นการ “แสดงความรับผิดชอบ” และ “แสดงให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่ไม่ได้นิ่งนอนใจ หรือละเลยกับสิ่งที่ตัวเองทำผิดไป”

การขอโทษนี้นอกจากจะทำให้ลูกรู้สึกสบายใจขึ้นแล้ว พ่อแม่ยังนับว่าเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกได้อีกด้วยค่ะ เพราะลูกจะเห็น เรียนรู้ และเข้าใจว่าไม่ว่าใครก็ทำผิดพลาดได้ทั้งนั้น แต่สิ่งสำคัญคือ “เมื่อรู้ตัวว่าทำผิดก็ควรขอโทษ”

ขอโทษลูกพร้อมอธิบายเหตุผล

นอกจากคำว่า “ขอโทษ” แล้ว พ่อแม่ควรอธิบายให้ลูกเข้าใจถึงเหตุผล และ/หรือ ความจำเป็นที่ทำให้พ่อแม่ทำผิดพลาดด้วยนะคะ เช่น ทำไมเราถึงไปเที่ยวในวันหยุดไม่ได้ ทำไมลูกถึงเล่นที่สนามเด็กเล่นตอนโรงเรียนเลิกไม่ได้ เป็นต้น ที่สำคัญ การอธิบายเหตุผลนั้นจะต้องไม่ใช่ทำนองที่ว่าเป็นการกล่าวหาลูกว่าเป็นความผิดของลูกอย่างเดียวนะคะ คุณพ่อคุณแม่ควรบอกลูกด้วยว่าเราเสียใจมากแค่ไหนกับความผิดพลาดครั้งนี้

เพื่อให้พ่อแม่เห็นภาพ โน้ตขอยกตัวอย่างดังนี้นะคะ

แม่ให้ลูกกินเค้กด้วยหวังว่าลูกจะใช้ช้อน แต่เผลอแป๊บเดียว ลูกใช้นิ้วจิ้มเค้กเข้าปาก แม่เสียงดังใส่ลูก แบบนี้คุณแม่นอกจากจะขอโทษลูกแล้ว ควรอธิบายเพิ่มว่า ที่แม่เสียงดังเพราะแม่ตกใจที่หนูใช้มือหยิบเค้ก เพราะมืออาจสกปรก มีเชื้อโรคได้

สอนลูกจากความผิดพลาดของตัวเอง

เพราะความผิดพลาดเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอ แม้เราจะไม่ได้ตั้งใจก็ตาม ดังนั้น ไม่ว่าใครก็สามารถทำผิดได้เช่นกัน คุณพ่อคุณแม่ควรใช้โอกาสนี้ถอดบทเรียนความผิดพลาดที่เกิดขึ้น แล้วสอนลูก อธิบายให้เค้าเข้าใจว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากอะไร แก้อย่างไร รวมถึงมีวิธีป้องกันอย่างไร

ถามลูกว่า “ให้อภัยพ่อแม่ได้หรือไม่?”

อ่ะ…เรามาถึงขั้นนี้กันแล้ว ขั้นที่พ่อแม่ขอโทษลูกไปแล้ว แต่คำว่าขอโทษอาจไม่ใช่ยาวิเศษ ไม่ใช่คาถาของโดราเอม่อนที่รักษาใจลูกได้ในทันที ให้คุณพ่อคุณแม่ลองแบบนี้ดูนะคะ ถามลูกด้วยท่าทางและน้ำเสียงที่จริงใจ อ่อนโยน ว่า

 

“หนูจะให้อภัยพ่อกับแม่ได้หรือเปล่าคะ?”

หรือ

“เราจะเกี่ยวก้อยคืนดีกันได้ไหมลูก?”

 

อาจทำให้ลูกได้ลองคิด ทำให้ลูกรู้สึกสบายใจ และยอมเปิดใจได้ง่ายขึ้นค่ะ

ให้เวลาลูกได้อยู่กับตัวเองบ้าง

บางครั้งแม้ว่าลูกอาจจะให้อภัยพ่อแม่แล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าลูกจะหายโกรธได้ในทันที โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในวัยกำลังเติบโต เขาจะมีอารมณ์ และความคิดที่ซับซ้อนมากขึ้น ลูกจึงต้องการเวลาส่วนตัว เพื่อทบทวนเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพราะเมื่อเราขอโทษพร้อมกับอธิบายเหตุผลต่างๆ ไปแล้ว ที่เหลือคือ เราก็เฝ้าดูลูกห่างๆ ไม่ต้องจ้ำจี้จ้ำไชเค้า เดี๋ยวสถานการณ์ก็จะดีขึ้นเองค่ะ

 

ไม่ต้องกลัวว่าพ่อแม่จะไม่ได้เป็นฮีโร่ในใจลูกนะคะ “ฮีโร่” คือ คนที่ทำทุกอย่างได้อย่างถูกต้อง “ฮีโร่” ไม่ใช่คนที่ไม่เคยทำผิดเลย แต่ “ฮีโร่ของลูก” คือ คนที่รู้ตัวว่าทำผิดพลาดไป พร้อมที่จะขอโทษ และแก้ไขค่ะ


Mommy Note

3,129,580 views

คุณแม่ลูกหนึ่ง ที่ใช้วิธีการเลี้ยงลูกแบบ "Tradigital" แบบดั้งเดิมผสมผสานกับความดิจิทัลในยุคปัจจุบัน เน้นเลี้ยงลูกให้เป็นคนธรรมดาที่มีสุข ติดต่องานได้ที่ e-mail : simplymommynote@gmail.com

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save