ลูกร้องกลั้น หน้าเขียว เพราะอะไร ทำอย่างไรดี?

ลูกร้องกลั้น หน้าเขียว เพราะอะไร ทำอย่างไรดี?
การเลี้ยงลูก

Last Updated on 2023 03 24

การร้องไห้ของเด็กนั้นมีหลากหลายสาเหตุอาจจะร้องเพราะง่วง หิว หรือรู้สึกไม่สบายข้างในตัว ยิ่งในช่วงวัยทารกการร้องไห้เป็นสิ่งเดียวที่เด็กจะสามารถสื่อสารได้ ในบางครั้งพ่อแม่อาจจะเคยเจอกับปัญหาลูกร้องกลั้นเหมือนกับหยุดหายใจไปชั่วขณะทำเอาพ่อแม่ใจหาย วันนี้เรามีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องลูกร้องกลั้นมาฝากคุณพ่อคุณแม่ค่ะ

ลูกร้องกลั้น คืออะไร?

อาการร้องกลั้นของเด็กมักจะเกิดขึ้นในช่วง 6 เดือน – 2 ปี และจะค่อย ๆ หายไปเมื่อเติบโตขึ้น ซึ่งการร้องกลั้นจะเป็นช่วงหายใจเข้าหรือหายใจออกยาวนานกว่าปกติ เด็กบางคนอาจจะนานมากกว่า 10 วินาทีได้ จนบางครั้งหน้าและเล็บของเด็กเริ่มที่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวแล้วแต่จู่ ๆ ก็ร้องขึ้นมาใหม่อีกครั้ง เมื่อมีอาการหายใจกลั้นสิ่งหนึ่งที่จะตามมาคือหัวใจของเด็กจะเต้นช้าลง แต่เมื่อกลับมาร้องไห้อีกครั้งหัวใจก็จะเต้นในระดับที่ปกติเช่นเดียวกัน

ลูกร้องกลั้น เพราะอะไร?

เมื่อลูกร้องกลั้นคุณพ่อคุณแม่ก็มักจะเกิดความสงสัยว่าเพราะอะไรลูกถึงร้องกลั้น ที่เด็กมีอาการร้องกลั้นเพราะเด็กมีอาการตอบสนองต่อความเจ็บปวด ความโมโห การเอาแต่ใจหลาย ๆ รูปแบบ แต่อาการร้องกลั้นนี้ไม่ได้พบเจอได้ในเด็กทุกคนเพราะอาการนี้ส่งผลโดยตรงมาจากทางพันธุกรรมได้มากกว่า 25% เรียกได้ว่าถ้าหากตอนเด็ก ๆ คุณพ่อคุณแม่มีอาการร้องกลั้นเมื่อมีลูกลูกก็อาจจะมีอาการร้องกลั้นได้เช่นเดียวกัน

ลูกร้องกลั้น มีกี่ประเภท?

อาการร้องกลั้นที่พบเจอในเด็กช่วงวัย 6 เดือน – 2 ปี แล้วมักจะค่อย ๆ หายไปตามการเจริญเติบโต อาการร้องกลั้นนี้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

Cyanotic Spells

เมื่อเด็กมีเหตุกระตุ้นให้ไม่พอใจ โมโห หงุดหงิด มักจะเกิดอาการร้องไห้ขึ้นอย่างรุนแรง และมีอาการหยุดหายใจในขณะที่หายใจออกจนตัวเขียว ปากเขียว เล็บมือเขียว

Pellid Spells

เหตุกระตุ้นคือความกลัวและความตกใจ เด็กจะไม่ร้องไห้รุนแรงมากนักและไม่พบเจออาการขาดออกซิเจนจนตัวเขียว แต่มักจะมีอาการตัวซีดร่วมด้วย

ลูกร้องกลั้น อันตรายไหม?

สิ่งที่พ่อแม่รู้สึกเวลาที่ลูกมีอาการร้องกลั้นนั่นก็คือกลัวความอันตรายที่จะตามมา กลัวว่าลูกมีอาการร้องกลั้นบ่อย ๆ เข้าจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะของโรคต่าง ๆ ได้

ลูกเป็นได้ก็สามารถหายได้

อาการร้องกลั้นเป็นสิ่งที่สามารถพอเจได้ในเด็กช่วง 6 เดือน – 2 ปี แต่จะพบเจอได้เยอะในเด็กอายุ 1 – 2 ปี เมื่อเด็กโตขึ้นอาการร้องกลั้นจะค่อย ๆ หายไป

ความไม่ตั้งใจที่สามารถเกิดขึ้นได้

อาการร้องกลั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากการตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ของร่างกาย ที่ไม่ได้เกิดจากการตอบสนองต่อจิตใจ เพราะการร้องกลั้นนั้นสามารถเกิดขึ้นได้เองโดยที่ไม่ต้องบังคับ

ไม่อันตรายต่อสุขภาพและสมอง

อาการร้องกลั้นภนับว่าเป็นสิ่งที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายและไม่เป็นอันตรายต่อสมองของเด็ก ยกเว้นเด็กที่เป็นโรคหัวใจและโรคระบบหลอดเลือดอาจจะก่อให้เกิดอันตรายขึ้นได้ จำเป็นต้องต้องพบแพทย์เพื่อหาทางออกกันต่อไป

ลูกร้องกลั้นแบบไหนที่ต้องระวัง

อาการร้องกลั้นของลูกที่จะเป็นต้องระวังเพิ่มมากขึ้นคือเด็กที่มีภาวะโลหิตจางอันเนื่องมาจากการขาดธาตุเหล็กมาเป็นระยะยาว รวมไปถึงเด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ซึ่งถ้าหากเด็กเหล่านี้เกิดการร้องกลั้นบ่อย ๆ เข้าจนคุณพ่อคุณแม่กังวลจำเป็นที่จะต้องพาลูกเข้าพบแพทย์เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นในภายภาคหน้า หรือคุณหมออาจจะมีการเช็คถึงความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หากพบว่าผิดปกติก็นับว่าเป็นสาเหตุของการร้องกลั้นของลูกน้อยได้เช่นเดียวกัน

ลูกร้องกลั้น รับมืออย่างไรดี?

เมื่อลูกมีอาการร้องกลั้นขึ้นมาคุณพ่อคุณแม่อาจจะเกิดความกังวลขึ้นได้กลัวว่าลูกจะหยุดหายใจ สิ่งสำคัญที่ควรทำเป็นอย่างแรกคือการมีสติอย่าตื่นตระหนกเพราะยิ่งจะทำให้ลูกรู้สึกตื่นไปด้วยเช่นเดียวกัน เมื่อตั้งสติได้แล้วให้อุ้มลูกมาแนบไว้ที่อกหรือทำการเบี่ยงเบนความสนใจของลูกด้วยบรรยากาศรอบข้างที่อากาศถ่ายเทสะดวก โดยห้ามเขย่าตัวลูกเด็ดขาดเพราะอาจเกอดอันตรายขึ้นได้

เมื่อลูกร้องกลั้นด้วยสาเหตุจากการโมโห หงุดหงิด โกรธ หรือตกใจแบบรุนแรงจนทำให้เกิดอาการร้องกลั้นได้ ถ้าหากลูกไม่ได้มีโรคประจำตัวอะไรที่ร้ายแรงก็ไม่จำเป็นต้องพบคุณหมอเพราะอาการเหล่านี้จะค่อย ๆ หายไปตามการเติบโตที่มากขึ้น สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำมากที่สุดเลยคือการมีสติและกอดลูกเอาไว้ให้แนบอก


Beach

79,906 views

นักเขียนเชิงไลฟ์สไตล์ที่รักการถ่ายทอดผ่านบทความ ชื่นชอบการเขียน การอ่าน การทำเบเกอรี่ ปลูกต้นไม้ยามว่าง ที่สุดของความสุขคือการมีแมวเป็นเพื่อน IG : iambeachhh

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save