กระหม่อมทารก เมื่อไหร่จะปิด? บุ๋ม-โป่ง บอกอะไร?

กระหม่อมทารก เมื่อไหร่จะปิด? บุ๋ม-โป่ง บอกอะไร?
การเลี้ยงลูก

Last Updated on 2023 03 24

กระหม่อมทารก (fontanels) เป็นส่วนหนึ่งของกะโหลกศีรษะ ที่ยังไม่มีการเชื่อมกันสนิท เวลาคลำที่ศีรษะทารกจะพบว่ายังเป็นช่องว่างอยู่ และรู้สึกนิ่มๆบริเวณศีรษะ โดยกระหม่อมทารกจะประกอบด้วยกระหม่อมหน้าและกระหม่อนหลัง

คุณพ่อคุณแม่หลายท่านหลังจากคลอดทารกน้อยมาแล้ว อาจมีความกังวลเรื่องกระหม่อมของลูกว่ากระหม่อมเปิด ปิดหรือยัง หรือกระหม่อมทารกน้อยของเราจะเป็นอย่างไร เพราะนอกจากลักษณะต่างๆของกระหม่อมที่ใส่ใจเป็นพิเศษแล้ว กระหม่อมยังสามารถบอกความผิดปกติของทารกน้อยได้ ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจ และรู้จักกระหม่อมลูกน้อยเราก่อนเพื่อสังเกตุว่าลูกน้อยของเรามีความผิดปกติด้านไหนหรือไม่

กระหม่อมหน้า – กระหม่อมหลัง

กระหม่อมหน้า (Anterior fontanel)

ลักษณะของกระหม่อมหน้ามีรูปร่างคล้ายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน สามารถวัดความยาวจากด้าน Coronal suture มีความกว้าง 2-3 เซนติเมตร และวัดจากด้าน Sagittal suture มีความกว้าง 3-4 เซนติเมตร กระหม่อมทารกน้อยจะปิดเมื่ออายุประมาณ 12-18 เดือน

กระหม่อมหลัง (Posterior fontanel)

ลักษณะรูปร่างสามเหลี่ยม โดยกระหม่อมหลังกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร สามารถปิดได้ตั้งแต่แรกเกิดหรืออาจจะปิดเมื่อทารกอายุครบ 2 เดือน

กระหม่อมปิดเร็ว – กระหม่อมปิดช้า บอกอะไร?

ผู้ปกครองหลายหลายอาจมีข้อสงสัยว่ากระหม่อมทารกปิดกี่เดือน โดยทั่วไปแล้วกระหม่อมทารกจะมีช่วงเวลาในการปิดเมื่ออายุลูกครบช่วงวัยหนึ่ง และโดยปกติกระหม่อมทารกจะปิดช้ากว่ากำหนดเพียงไม่กี่เดือน แต่หากทารกน้อยกระหม่อมปิดช้าหรือกระหม่อมปิดเร็วคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ครองอาจต้องสังเกตุพัฒนาการส่วนนี้เพื่อดูว่าทารกน้อยมีความผิดปกติหรือไม่

กระหม่อมปิดเร็ว

โดยทั่วไปทารกที่กระหม่อมปิดช้าบ่งบอกได้ว่าอาจมีพัฒนาการด้านสมองช้า เนื่องจากมีภาวะเชื่อมต่อกันของกะโหลกศีรษะเชื่อมกันเร็ว (Craniosynostosis) การเจริญของกะโหลกจะถูกจำกัด กะโหลกจะขยายไม่ได้ และสมองจะไปเบียดอวัยวะภายในศีรษะ อาจส่งผลให้มีพัฒนาการด้านสมองเติบโตไม่เต็มที่ทำงานช้ากว่าปกติ

กระหม่อมปิดช้า

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่ากระหม่อมหน้าและกระหม่อมหลังมีระยะเวลาในการปิดเมื่อลูกน้อยเข้าสู่ช่วงวัยหนึ่ง แต่หากกระหม่อมปิดเร็วกว่าปกติอาจบอกได้ว่าทารกน้อยมีความผิดเกี่ยวต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติแต่กำเนิด หรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับโรคหัวบาตร มีน้ำในสมอง หรือโรคกระดูกอ่อน

กระหม่อมบุ๋ม – กระหม่อมโป่ง บอกอะไร?

นอกจากกระหม่อมปิดช้าหรือเร็วสามารถบอกความผิดปกติของทารกน้อยได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถทราบถึงความผิดปกติของลูกน้อยได้จากลักษณะกระหม่อมบุ๋ม หรือกระหม่อมโป่งได้เช่นเดียวกัน

กระหม่อมบุ๋ม

ลักษณะกระหม่อมบุ๋ม หรือยุบตัวของลูกน้อยสามารถบอกได้ว่าลูกน้อยอาจเกิดภาวะขาดน้ำ ทำให้ทารกอาจมีอาการอาเจียน หรือท้องเดิน ผู้ปกครองควรสังเกตุและคลำกระหม่อมหน้าทารกว่ามีการยุบตัวหรือบุ๋มในความลึกที่ปกติไม่ลึกเกินไป เพราะหากบุ๋มมากเกินไป ร่วมกับลูกมีอาการซึม ไม่ร่าเริง ปัสสาวะน้อยอาจบอกได้ว่าลูกน้อยอยู่ในภาวะขาดน้ำรุนแรงและอาจเกิดอันตรายตามมาได้

กระหม่อมโป่ง

ลักษณะกระหม่อมโป่ง มีการนูนขึ้นของกระหม่อมหน้า และโดยปกติกระหม่อมทารกจะเต้นตุบๆตามชีพจร หากสังเกตเห็นว่ากระหม่อมทารกโป่งพอง แต่ไม่มีการเต้นของชีพจรอาจบอกได้ว่ามีความผิดปกติบางอย่าง และหากทารกมีอาการตัวร้อน ร้องไห้งอแง อาเจียนร่วมด้วยแสดงให้เห็นว่าภายในกะโหลกศีรษะมีความดันมากเกินไป บ่งบอกได้ว่ามีความผิดปกติของสมองเช่น อาจเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือเกิดภาวะสมองอักเสบได้ ดังนั้นเมื่อสังเกตุเห็นลักษณะกระหม่อมโป่งและมีความผิดปกติอื่นร่วมควรพาลูกน้อยพบแพทย์ทันที

กระหม่อมทารก แบบไหนที่ควรไปพบแพทย์

นอกจากการสังเกตว่ากระหม่อมทารกปิดช้าเร็วตามปกติ และมีลักษณะยุบตัวหรือโป่งพองร่วมด้วยสามารถบอกความผิดปกติของทารกน้อยได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตลักษณะของกระหม่อมทารกหากมีลักษณะดังนี้ควรพาทารกไปพบแพทย์ทันที

กระหม่อมบุ๋ม หรือยุบตัวมากกว่าปกติ (Sunken fontanelle)

แสดงให้เห็นว่าร่างกายลูกน้อยเกิดภาวะขาดน้ำ

กระหม่อมนูน บวม ผิดปกติ (Bulging fontanelle)

เป็นสัญญาณเตือนว่าอาจเกิดความผิดปกติในสมอง หรือสมองได้รับบาดเจ็บ

กระหม่อมทารกแม้จะเป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกาย แต่สามารถบอกถึงความผิดปกติด้านร่างกายของลูกน้อยได้ ดังนั้นผู้ปกครองที่ดูแลลูกน้อยควรสังเกตุลักษณะกระหม่อมของทารกเสมอว่ามีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นหรือไม่ ระยะเวลาปิดของกระหม่อมอยู่ในเกณฑ์ที่ควรจะเป็นหรือไม่ เพราะหากมีความผิดปกติและทิ้งไว้นานโดยไม่เข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจนำไปสู่อันตรายได้


Crazy Secret

67,690 views

นักเขียนหลากหลายแนวหลงไหลงานเขียน ไลฟ์สไตล์ ซีรีย์ รีวิว สัตว์เลี้ยง สุขภาพ ความงาม "Writer enjoy and hope will be reader happy" FB: The write เขียน ไป เรื่อย

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save