แม่ท้องขาดแมกนีเซียม เสี่ยงแท้ง จะป้องกันได้อย่างไร?

แม่ท้องขาดแมกนีเซียม เสี่ยงแท้ง จะป้องกันได้อย่างไร?
ตั้งครรภ์

แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการทำงานของร่างกาย หากร่างกายขาดแมกนีเซียมเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, โรคหัวใจและหลอดเลือด, เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, กระดูกพรุน และยังมีผลต่อระบบประสาท ฮอร์โมน ระบบทางเดินอาหาร ไต รวมถึงกล้ามเนื้อต่าง ๆ อีกด้วย โดยเฉพาะคุณแม่ที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์

แมกนีเซียม คืออะไร

แมกนีเซียม (Magnesium) คือ แร่ธาตุที่สำคัญและจำเป็นของร่างกายมนุษย์พบอยู่ประมาณร้อย 0.5 ของน้ำหนักกายพบได้ในทุกเซลล์ของร่างกาย ส่วนมากมักพบได้ บริเวณกระดูก เซลล์กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อ

แมกนีเซียมมีส่วนช่วยในการส่งเสริมการก่อตัวของกระดูกและฟัน การหดตัวของกล้ามเนื้อ รักษาระดับความดันโลหิตและปรับสมดุลระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ

แหล่งของแมกนีเซียมพบได้ในผลิตภัณฑ์จากถั่วเมล็ดแห้ง ธัญพืชเต็มเมล็ด เนื้อสัตว์ นม ดาร์กช็อกโกแลต ผักและผลไม้หลายชนิด เช่น เมล็ดฟักทอง เมล็ดเจีย อัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วลิสง นมถั่วเหลือง เป็นต้น

ประโยชน์ของแมกนีเซียม

แมกนีเซียมนับเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเซลล์ในร่างกาย แมกนีเซียมส่วนเกินสามารถขับออกจากร่างกายผ่านทางอุจจาระหรือเหงื่อได้ อย่างไรก็ตามการได้รับแมกนีเซียมที่เพียงพอและเหมาะกับร่างกายจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพราะมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างการทำงานของระบบต่าง ๆ ดังนี้

เสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง

หากขาดแมกนีเซียมจะทำให้กระดูกมีความเปราะบางและแตกหักได้ง่าย

ลดความถี่และความรุนแรงจากการเกิดตะคริว

โดยเฉพาะคุณแม่ในภาวะตั้งครรภ์ช่วยลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อขาอย่างฉับพลัน

ช่วยในกระบวนการเผาผลาญ

โดยแมกนีเซียมสามารถกระตุ้นน้ำย่อยที่มีส่วนช่วยในกระบวนการเผาผลาญให้ทำงานได้ดีขึ้น

ส่งเสริมการดูดซึม

ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแร่ธาตุต่างๆได้ดีขึ้น

ช่วยในการควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อให้ทำงานปกติ

ซึ่งสำคัญต่อการส่งสัญญาณประสาท

รักษาสมดุลระดับน้ำตาลในเลือด

โดยเพิ่มประสิทธิภาพในการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานได้ดี

แมกนีเซียมสำคัญต่อคนท้องอย่างไร

แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายไม่สามารถผลิตขึ้นเองได้จำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานอาหารหรืออาหารเสริมเท่านั้น นอกจากมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของเซลล์ต่างๆและ ส่งเสริมความแข็งแรงของกระดูกและฟันแล้ว แมกนีเซียมยังสำคัญกับคนท้อง ดังนี้

  • ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ
  • รักษาระดับคลอเลสเตอรอลและอัตราการเต้นของหัวใจให้คงที่
  • ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์
  • ลดปัญหาครรภ์เป็นพิษและอาการแท้งบุตร รวมไปถึงการคลอดก่อนกำหนด
  • ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • ช่วยควบคุมอาการชักในรายที่เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ (preeclampsia) รุนแรง
  • ช่วยป้องกันระบบประสาทของทารกในครรภ์ (fetal neuroprotection) ในรายที่มีการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด (preterm labor)
  • รักษาภาวะมดลูกหดเกร็ง (uterine tetany)

ปริมาณแมกนีเซียมที่ควรได้รับ

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าแมกนีเซียมมีความสำคัญและจำเป็นต่อร่างกายโดยเฉพาะคุณแม่ตั้งครรภ์และอยู่ระหว่างให้นมบุตร อย่างไรก็ตามปริมาณแมกนีเซียมที่ควรได้รับของคุณแม่ในแต่ละช่วงอายุแตกต่างกัน มาดูกันว่าปริมาณแมกนีเซียมที่ควรได้รับระหว่างตั้งครรภ์และแม่ให้นมแต่ละช่วงอายุควรได้รับในปริมาณเท่าใด

ปริมาณแมกนีเซียม: แม่ตั้งครรภ์

  • คุณแม่ตั้งครรภ์อายุไม่เกิน 18 ปี: ควรได้รับแมกนีเซียม 400 มิลลิกรัม/วัน
  • คุณแม่ตั้งครรภ์อายุไม่เกิน 19-30 ปี: ควรได้รับแมกนีเซียม 350 มิลลิกรัม/วัน
  • คุณแม่ตั้งครรภ์อายุไม่เกิน 31 ปีขึ้นไป: ควรได้รับแมกนีเซียม 360 มิลลิกรัม/วัน

ปริมาณแมกนีเซียม: แม่ให้นมบุตร

  • คุณแม่ให้นมบุตรอายุไม่เกิน 18 ปี: ควรได้รับแมกนีเซียม 360 มิลลิกรัม/วัน
  • คุณแม่ให้นมบุตรอายุไม่เกิน 19-30 ปี: ควรได้รับแมกนีเซียม 310 มิลลิกรัม/วัน
  • คุณแม่ให้นมบุตรอายุไม่เกิน 31 ปีขึ้นไป: ควรได้รับแมกนีเซียม 320 มิลลิกรัม/วัน

แมกนีเซียมจำเป็นต่อทารกในครรภ์อย่างไร

แมกนีเซียมนอกจากมีความสำคัญทั้งกับคุณแม่ตั้งครรภ์และคุณแม่ให้นมบุตรแล้ว แมกนีเซียมยังสำคัญกับทารกน้อยอีกด้วย เพราะแมกนีเซียมช่วยเพิ่มน้ำหนักแรกเกิด ช่วยลดการเกิดภาวะทารกขาดอาหารหรือเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (fetal growth restriction; FGR) เสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกาย ช่วยให้ทารกนอนหลับพักผ่อนได้อย่างสบาย อีกทั้งยังช่วยลดภาวะสมองพิการในทารกได้อีกด้วย

อาการคนท้องรับแมกนีเซียมมากไป

แม้แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นและสำคัญในคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร อย่างไรก็ตามการได้รับแมกนีเซียมในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดผลเสียต่อกระดูกของทารกแรกเกิดเช่น ภาวะกระดูกบาง (osteopenia) หรือกระดูกมีความผิดปกติ โดยอาจไม่ปลอดภัยกับผู้ใช้ยาบางชนิดเช่น ยารักษาโรคหัวใจ ยาขับปัสสาวะ  และยาปฏิชีวนะบางชนิด เป็นต้น ซึ่งการได้รับแมกนีเซียมมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เช่น

  • คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
  • ร่างกายขาดน้ำ
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ความดันโลหิตต่ำผิดปกติ
  • เกิดภาวะซึม
  • หายใจลำบาก จนนำไปสู่การเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น

แมกนีเซียม (Magnesium) เป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกายซึ่งร่างกายเราไม่สามารถสร้างแมกนีเซียมได้เองจำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานอาหาร และอาหารเสริม แมกนีเซียมจำเป็นต่อกระบวนการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายทั้งในคนทั่วไป, ทารก, คุณแม่ตั้งครรภ์ รวมถึงคุณแม่ในระยะให้นมบุตร อย่างไรก็ตามแม้แมกนีเซียมจะมีความสำคัญต่อร่างกายควรได้รับในปริมาณที่เหมาะสมหากได้รับมากเกินไปอาจนำไปสู่การเกิดอันตรายต่อร่างกายได้


Crazy Secret

62,196 views

นักเขียนหลากหลายแนวหลงไหลงานเขียน ไลฟ์สไตล์ ซีรีย์ รีวิว สัตว์เลี้ยง สุขภาพ ความงาม "Writer enjoy and hope will be reader happy" FB: The write เขียน ไป เรื่อย

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save