นับวันไข่ตก ง่าย ๆ มีลูกได้ ด้วยวิธีธรรมชาติ

นับวันไข่ตก ง่าย ๆ มีลูกได้ ด้วยวิธีธรรมชาติ
ครอบครัว

สำหรับคู่รักที่วางแผนจะมีลูก นอกจากต้องเตรียมความพร้อมของร่างกายด้วยการออกกำลังกาย รับประทานวิตามินเตรียมการตั้งครรภ์แล้ว ก็ยังมีวิธี นับวันไข่ตก ที่สามารถทำประกอบกันได้ เป็นการเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้สูงขึ้น เพราะการที่ผู้หญิงจะตั้งครรภ์นั้น กระบวนการที่จะทำให้เกิดการปฏิสนธิ ฝังตัวอ่อนจนเกิดเป็นทารกได้นั้น มีโอกาสเกิดแค่เดือนละ 1 ครั้งเท่านั้นค่ะ ถ้าทำการบ้านไม่ตรงกับวันที่เรียกว่า “วันไข่ตก” ก็จะไม่เกิดการตั้งครรภ์ ซึ่งวิธีนับวันไข่ตกเป็นวิธีธรรมชาติที่ทำได้ง่ายที่สุดแล้วค่ะ

วงจรไข่ตก เป็นอย่างไร

วงจรการตกไข่เป็นกลไกระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงที่เกิดขึ้นทุกเดือน โดยจะใช้เวลารอบละประมาณ 28-35 วัน โดยเริ่มนับวันแรกตั้งแต่วันที่มีประจำเดือนเป็นวันที่ 1 พอประมาณวันที่ 5 ของรอบเดือนรังไข่ของผู้หญิงจะมีฟองไข่ค่อย ๆ เจริญเติบโตพร้อมกัน ประมาณ 15 – 20 ฟอง จากนั้นจะมีการคัดเลือกโดยธรรมชาติให้ไข่ที่สมบูรณ์แค่ฟองเดียวเท่านั้นถูกเร่งให้ตกในช่วงประมาณวันที่ 14 ของรอบเดือน ในระหว่างที่ไข่ตก ถุงรังไข่ซึ่งอยู่ตรงผิวหน้าของไข่จะค่อย ๆ พองออกจนฉีกขาด แล้วจึงปล่อยให้ไข่หลุดออกมา ซึ่งเราจะเรียกขั้นตอนนี้ว่า “การตกไข่” (Ovulation)

ถ้าในช่วงนี้ไข่กับอสุจิได้ผสมกัน ไข่ก็จะไปฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูกกลายเป็นตัวอ่อนเกิดการตั้งครรภ์ขึ้น  แต่ถ้าไข่ไม่ถูกผสมหรือการผสมไม่สำเร็จ อีก 14 วันหลังจากนั้นก็จะถูกขับออกมากลายเป็นประจำเดือนนั่นเองค่ะ

วิธีนับวันไข่ตก

วิธีนับวันไข่ตกที่ง่ายที่สุด คือ “นับวันจากรอบประจำเดือน” แต่เราควรจะต้องรู้ประวัติย้อนหลังรอบเดือนอย่างน้อย 3-6 เดือนค่ะ เพื่อจะได้คำนวณให้ใกล้เคียงความจริงที่สุด เพราะช่วงเวลาที่ไข่พร้อมรอการผสมจะมีช่วงเวลาแค่ 12-24 ชั่วโมงเท่านั้นในแต่ละเดือน เรามาเริ่มกันทีละขั้นตอนเลยค่ะ

หาความยาวรอบเดือน

ทำได้ด้วยการนับวันที่เริ่มมีประจำเดือนออกไม่ว่าจะเป็นเลือดสด เลือดคล้ำ มูกเลือด วันแรกนับเป็นวันที่ 1 และนับต่อไปจนถึงก่อนวันแรกของรอบเดือนถัดไป 1 วัน จำนวนวันที่นับได้คือ ความยาวของ 1 รอบเดือน

วันไข่ตกสำหรับคนที่ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ

โดยทั่วไปรอบที่ปกติคือ 28-30 วัน ถ้าคนที่มีรอบเดือนสม่ำเสมอ ไข่จะตกวันที่ 14-16 ของรอบเดือนค่ะ  (ไม่ใช่วันที่ตามปฏิทินนะคะ)

วันไข่ตกสำหรับคนที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ

หากประจำเดือนคุณมาไม่สม่ำเสมอประวัติประจำเดือนย้อนหลังจึงสำคัญมากค่ะ ยิ่งจดบันทึกไว้นานเท่าไหร่ยิ่งดี อาจจะย้อนหลังไปสัก 12 เดือน แล้วนำมาคำนวณหารอบเดือนในแต่ละครั้ง เพื่อหารอบที่ยาวที่สุด และรอบที่สั้นที่สุด  รอบที่สั้นที่สุดนำมาลบด้วย 18 และรอบเดือนที่ยาวที่สุดนำมาลบด้วย 11 จากนั้นเราจะได้ ช่วงเวลาของไข่ตกค่ะ

ตัวอย่างเช่น
นางสาวดอกไม้  ได้จดบันทึกจำนวนวันในแต่ละรอบประจำเดือนไว้ 12 เดือน คือ 26, 24, 25, 28, 26, 27, 28, 27, 29, 30, 28, 26 จะเห็นได้ว่ารอบประจำเดือนที่สั้นที่สุดคือ 24 วัน และยาวสุดคือ 30 วัน เมื่อคำนวณออกมาจะได้
– วันแรกของระยะไม่ปลอดภัย = 24-18 = 6
– วันสุดท้ายของระยะไม่ปลอดภัย = 30-11 = 19
ดังนั้น ระยะที่ควรทำกิจกรรมทางเพศเพื่อให้มีเจ้าตัวเล็กในรอบเดือนถัดไป คือช่วงวันที่ 6 จนถึงวันที่ 19 ของรอบเดือนค่ะ

อาการไข่ตกสังเกตอย่างไร

ตกขาวเยอะกว่าเดิม

ช่วงไข่ตกผู้หญิงจะมีตกขาวมากกว่าปกติค่ะ ทางการแพทย์เรียกตกขาวนี้ว่า มูกที่ปากมดลูก (Cervical mucus) ซึ่งจะมีลักษณะใส และลื่นคล้ายไข่ขาวดิบค่ะ สามารถดึงยืดเป็นเส้นได้ยาวเกินกว่า 6 เซนติเมตร และคุณสามารถสอดนิ้วเข้าไปตรวจในช่องคลอดได้เองทุกวันค่ะ มูกนี้จะเป็นตัวที่ช่วยให้อสุจิเดินทางผ่านโพรงมดลูกเข้าไปผสมกับไข่ได้ง่ายขึ้น

มีอารมณ์ทางเพศมากขึ้น

ในช่วงไข่ตก ผู้หญิงจะมีอารมณ์ทางเพศสูงขึ้นค่ะ เนื่องจากเป็นช่วงที่ปากมดลูกเลื่อนขึ้นไปอยู่สูง อ่อนนุ่มขึ้น และสร้างของเหลวที่ช่วยในการหล่อลื่นมากเป็นพิเศษเพื่อการมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงยังมีเลือดมาหล่อเลี้ยงบริเวณช่องคลอดมากขึ้น  แต่สังเกตจากวิธีนี้ค่อนข้างทำได้ยาก เพราะหากมีความเครียดหรือปัจจัยอื่นมากระทบก็จะทำให้ความต้องการทางเพศลดลงได้

อุณหภูมิร่างกายที่เพิ่มขึ้น

ในการวัดอุณหภูมิของร่างกาย จะต้องวัดในเวลาเดิมทุกวันหลังจากตื่นนอน (ต้องนอนหลับพักผ่อนยาวอย่างน้อย 5 ชั่วโมง) และก่อนจะทำกิจกรรมอื่น ๆ เป็นเวลาประมาณ 3 เดือนเป็นอย่างน้อย เพื่อดูแนวโน้มวันไข่ตก ซึ่งอุณหภูมิในร่างกายจะลดลง 12-24 ชั่วโมงก่อนที่จะมีการตกไข่ หลังจากนั้นก็จะสูงขึ้นประมาณ 0.5 องศา เมื่อมีการตกไข่ ค่ะ

มีอาการเจ็บคัดเต้านม

ช่วงไข่ตกผู้หญิงบางคนอาจจะมีความรู้สึกคล้ายกับอาการก่อนมีประจำเดือน แต่มีความรุนแรงน้อยกว่า ซึ่งอาการเจ็บตึง คัดที่หน้าอก นั้นอาจจะเป็นอาการที่บอกว่า กำลังอยู่ในช่วงไข่ตกได้เช่นกันค่ะ  ที่เป็นเช่นนั้นเพราะฮอร์โมนมีปริมาณที่สูงขึ้นกว่าปกติ แต่วิธีการสังเกตนี้อาจจะไม่แม่นยำเสมอไป เพราะอาการเจ็บตึงเต้านมสามารถเกิดขึ้นได้หลายปัจจัย เช่น มะเร็งเต้านม เป็นต้น

ปวดท้องน้อยข้างเดียว

อาการปวดท้องน้อยจะสลับข้างกันไปในแต่ละเดือน เช่นเดือนนี้ปวดด้านขวา เดือนหน้าก็จะปวดด้านซ้าย อาการเหล่านี้เกิดจากร่างกายได้มีการเปลี่ยนแปลงของระบบเจริญพันธุ์ภายในให้เหมาะสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน ซึ่งอาการปวดจะหายได้เองภายใน 1 วัน หากคุณมีอาการปวดท้องน้อยช่วงกลางรอบเดือน นั่นแสดงว่าไข่ตกวันนั้นค่ะ

มีเพศสัมพันธ์วันไหนให้ตั้งครรภ์

เมื่อนับวันไข่ตกได้แล้ว คู่รักสามารถมีเพศสัมพันธ์ในช่วงก่อนวัน และหลังวันไข่ตกได้ประมาณ  2  วัน เช่น ถ้าวันไข่ตกคือวันที่ 14 ของรอบเดือน ก็สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตั้งแต่วันที่ 12 14 และ 16 ของรอบเดือน เพราะอสุจิจะมีชีวิตรอผสมไข่ได้ประมาณ 2 วันค่ะ และหลายคนเข้าใจผิดว่ามีเพศสัมพันธ์ทุกวันจะช่วยให้มีลูกง่ายขึ้น  แต่จริง ๆ แล้วการมีเพศสัมพันธ์ทุกวันไม่ได้ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ให้สูงขึ้น เพราะยิ่งมีเพศสัมพันธ์ทุกวันอสุจิก็ยิ่งมีน้อยลงไปด้วย แนะนำว่าให้มีเพศสัมพันธ์แบบวันเว้นวันจะดีกว่า อาจจะนับทุกวันคู่ หรือนับทุกวันคี่ก็ได้ค่ะ

แม่กิฟท์เองก็เคยผ่านประสบการณ์ทำทุกวิถีทางเพื่อพยายามจะมีลูกมาแล้วค่ะ ใช้ทุกวิธีไม่ว่าจะนับวันไข่ตกแบบธรรมชาติ การตรวจวัดอุณหภูมิพร๊อตกราฟหาวันไข่ตก หรือแม้แต่ใช้อุปกรณ์ตรวจหาวันไข่ตก ใช้ความพยายามอยู่ 3 ปี กว่าจะมีเจ้าตัวน้อยได้ค่ะ  แต่สิ่งหนึ่งที่คุณหมอ หรือคลินิคที่รักษาภาวะการมีบุตรยากพูดตรงกันก็คือ คู่รักควรผ่านการพยายามมีลูกแบบธรรมชาติอย่างน้อย 1 ปีก่อน หากยังไม่ประสบความสำเร็จ จึงค่อยเข้ารับการรักษาจากแพทย์ในลำดับถัดไปค่ะ

อ้างอิง chiiwiidoctor.com, medthai.com


Mommy Gift

154,055 views

แม่น้องสปิน คุณแม่ฟูลไทม์ ที่เชื่อเรื่องการเลี้ยงลูกแบบธรรมชาติอย่างสมดุลทั้งภายใน-ภายนอก และเชื่อว่าลูกคือครู จึงทําให้สนใจความเป็นไปของผู้คน จิตวิทยาความสัมพันธ์ในครอบครัว และความสัมพันธ์ของมนุษย์กับธรรม(ะ)ชาติ ชื่นชอบการทำอาหาร งาน Handmade อ่านหนังสือ ปลูกต้นไม้ Facebook : Gift Bfive IG : spin_ramil

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save