คาร์ซีท สำคัญแค่ไหน? มีวิธีการเลือกซื้ออย่างไร?

คาร์ซีท สำคัญแค่ไหน? มีวิธีการเลือกซื้ออย่างไร?
ไลฟ์สไตล์

Last Updated on 2023 03 24

ว่าด้วยเรื่องคาร์ซีท คุณพ่อ คุณแม่รู้หรือไม่ว่าการพาลูกน้อยออกจากบ้านทุกครั้งโดยการนั่งรถยนต์จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ลูกนั่งบนคาร์ซีท เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง เช่นเดียวผู้ใหญ่ที่นั่งบนเบาะแล้วต้องคาดเข็มขัดนิรภัย แต่เชื่อว่าผู้ปกครองหลาย ๆ ท่านอาจจะยังไม่รู้จักเจ้าคาร์ซีทสักเท่าไหร่ คาร์ซีท คืออะไร มีประโยชน์หรือใช้งานอย่างไร ไม่เพียงคุณพ่อ คุณแม่ที่ต้องทำความรู้จักกับคาร์ซีท แต่เป็นผู้ปกครองที่ดูแลเด็กทุกท่านควรทำความเข้าใจว่าคืออะไร และจำเป็นแค่ไหนสำหรับลูกหลานของเรา วันนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับคาร์ซีทกันค่ะ

คาร์ซีท คืออะไร?

คาร์ซีท (Car Seat) หรือ เบาะนั่งในรถยนต์สำหรับเด็ก คือเบาะนั่งบนรถยนต์สำหรับเด็กทำหน้าที่เสมือนเข็มขัดนิรภัยป้องกันแรงกระแทก การกระเด็นจากเบาะที่นั่งกรณีรถออกตัวกระชากหรือเกิดการเบรกอย่างรุนแรง และยังช่วยลดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุได้ โดยคาร์ซีทเป็นเบาะคล้ายกับเบาะนั่งบนรถยนต์ทั่วไป มีเข็มขัดนิรภัยติดกับตัวเบาะ ซึ่งการใช้งานคาร์ซีทจะต้องทำการติดตั้งเพื่อยึดกับเบาะรถยนต์ปกติอีกทีก่อนการใช้งาน

เทคนิคฝึกลูกนั่งคาร์ซีท

ลูกน้อยของคุณพ่อ คุณแม่หลายท่านอาจไม่คุ้นชินกับการนั่งคาร์ซีท อาจด้วยหลากหลายปัจจัย อย่างที่กล่าวไปว่าคาร์ซีทมีความสำคัญต่อลูกน้อยมาก ดังนั้นผู้ปกครองควรฝึกให้เด็กรู้จักการนั่งคาร์ซีทจนเกิดความเคยชิน วันนี้เราเทคนิคดีๆในการฝึกเด็กๆให้นั่งคาร์ซีทมาฝากทุกท่าน

  • จัดเตรียมคาร์ซีทไว้ตั้งแต่ลูกคลอด และฝึกให้นั่งเร็วที่สุดเท่าที่ทำได้
  • เลือกคาร์ซีทที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและความสบายเวลานั่ง
  • ฝึกให้ลูกๆนั่งคาร์ซีทเป็นเวลาสั้นๆก่อน แม้ไม่มีการเดินทางก็สามารถพาเด็กๆไปลองนั่งได้
  • ฝึกให้ลูกนั่งคาร์ซีทในช่วงที่ลูกอารมณ์ดี ร่าเริง
  • หากลูกน้อยร้องไห้ให้คุณพ่อคุณแม่อดทนฟังเสียงลูกร้องก่อนโดยที่ยังไม่ยกลูกจากที่นั่ง
  • มีของเล่นให้เขาได้มองได้เล่น เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ
  • พยายามชวนลูกพูดคุยเบี่ยงเบนความสนใจ เพื่อไม่ให้โฟกัสกับการนั่งคาร์ซีท
  • จัดท่านั่งให้ถูกต้อง นั่งสบาย เพื่อป้องกันการปวดหลัง
  • อธิบายความสำคัญของการนั่งคาร์ซีท ว่าช่วยลดความรุนแรงหากเกิดอุบัติเหตุได้อย่างไร
  • ให้ลูกได้เลือกคาร์ซีทเอง
  • ทำเป็นกิจวัตรต่อเนื่องให้เกิดความคุ้นเคย

คาร์ซีท ประกาศราชกิจจาฯ ล่าสุด

ทำเอาพ่อแม่หลายท่านฮือฮากันทีเดียวกับ ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2565 จำนวน 18 หน้า กล่าวว่า

นอกเหนือการกำหนดให้เด็กอายุไม่เกิน 6 ปี มีความสูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งคาร์ซีตตลอดเวลาขณะโดยสารบนรถด้วย ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท มีผลบังคับใช้ในอีก 120 วัน หรือวันที่ 5 กันยายน 2565

บ้างก็บอกว่าจำเป็นอย่างยิ่งควรมีประกาศออกมานานแล้วเพราะต่างประเทศมีประกาศข้อบังคับเรื่องคาร์ซีทนานแล้ว แต่อีกมุมก็มองไปถึงเรื่องของความเป็นอยู่ปากท้อง ลำพังค่าครองชีพแต่ละวันแต่ละเดือนก็ไม่เพียงพอ หากครอบไหนมีรถยนต์และมีลูกน้อยการมีคาร์ซีทก็อาจจะกลายเป็นเรื่องเกินกำลังทรัพย์ แต่หากมองถึงความปลอดภัยของลูกน้อยการมีคาร์ซีทก็และตัวช่วยในการเพิ่มความปลอดภัยได้ดีทีเดียว

วิธีการเลือกซื้อคาร์ซีท

ผู้ปกครองหลายท่านอาจกำลังกังวลเรื่องการเลือกคาร์ซีทสำหรับลูก เลือกแบบไหน ยี่ห้อเท่าไหร่ ความเหมาะสมกับการใช้งาน วันนี้เราจะมีแนะนำวิธีการเลือกคาร์ซีทที่ดีให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดควรคำนึงถึง

ความหนาแน่นของตัวล็อก

ความหนาแน่นปลอดภัยของตัวล็อกหรือเข็มขัดนิรภัย คาร์ซีทที่ดีควรเป็นเข็มขัดนิรภัยแบบ 5 จุดสามารถยึดไหล่ 2 ข้าง สะโพก 2 ข้าง และจุดรวมอยู่ที่ระหว่างขาได้อย่างแน่นหนา

เลือกให้เหมาะกับช่วงวัย

เลือกคาร์ซีทให้เหมาะสมกับช่วงวัย น้ำหนัก และสรีระรูปร่างของลูกให้นั่งสบายไม่อึดอัดหรือหลวมจนเกินไป

เลือกที่ป้องกันการกระแทกได้

เลือกคาร์ซีทที่สามารถป้องกันการกระแทกด้านข้างได้ดี เพราะการเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่มาจากแรงกระแทกด้านข้าง

เลือกที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน

เลือกคาร์ซีทที่ผ่านมาตรฐานการรับรองความปลอดภัยเรื่องการป้องป้องจากแรงกระแทก

เลือกที่เหมาะกับรถ

เลือกให้เหมาะกับรถยนต์ที่เราใช้งาน เพราะคาร์ซีทมีทั้งแบบยึดติดกับ Seat belt หรือติดกับ ISOfix ที่มีในรถ

ระบบ Isofix คืออะไร?

การติดตั้งคาร์ซีทในรถยนต์มีทั้งแบบยึดติดกับ Seat belt หรือติดกับ ISOfix แต่รู้หรือไม่ว่า ISOfix มันคืออะไร ISOfix หรือ International Standards Organization Fix คือ ระบบการติดตั้งคาร์ซีทได้รับมาตรฐานการรับรองจากสากล นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในเอเชียและยุโรป เป็นระบบการติดตั้งคาร์ซีทแบบใหม่ที่สามารถช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้ลูกน้อยได้ดีโดยไม่ต้องคาดเข็มขัดนิรภัย

ข้อควรระวังในการใช้คาร์ซีท

นอกจากการเลือกคาร์ซีทที่เหมาะสมกับลูกน้อยและผ่านมาตรฐานการรับรองความปลอดภัยแล้ว ในการใช้คาร์ซีทก็มีข้อควรระมัดระวังที่พ่อแม่ ผู้ปกครองทุกท่านต้องรู้ได้แก่

  • ปฏิบัติตามคู่มือการใช้งานคาร์ซีทให้ถูกวิธี พร้อมติดตั้งให้ถูกวิธีและปลอดภัย
  • เช็คความสมบูรณ์ของคาร์ซีทก่อนซื้อว่ามีความแข็งแรงอุปกรณ์ครบ ไม่ควรใช้คาร์ซีทมือสองสภาพเก่าเพราะอาจเป็นอันตรายเนื่องจากอุปกรณ์บางส่วนชำรุดเสียหาย
  • หลีกเลี่ยงการวางสิ่งของที่มีน้ำหนักเยอะบนที่นั่งเพราะอาจเกิดการชำรุด
  • ระวังของเล่น เศษเหรียญ เศษอาหารไปติดในคาร์ซีทเพราะอาจทำให้กลไกการใช้งานเกิดความติดขัดหรือเสียหาย
  • หากต้องเคลื่อนย้ายคาร์ซีทต้องยกอย่างระมัดระมัดเลี่ยงการชนหรือกระแทกกับวัตถุอื่น

เป็นอย่างไรกันบ้างกับข้อมูลดี ๆ เรื่องคาร์ซีทที่เราได้นำมาฝากกันวันนี้ประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อคาร์ซีทดี ๆ ได้มาตรฐานสักชิ้นให้ลูกน้อย นอกจากเรื่องข้อบังคับทางกฎหมายแล้วการให้เด็กนั่งคาร์ซีทเป็นการเพิ่มความปลอดภัยและลดการสูญเสียต่อตัวเด็กได้ดีทีเดียว อย่างไรก็ตามการเลือกซื้อคาร์ซีทควรคำนึงถึงความเหมาะสมต่อช่วงวัย รูปร่างของลูกน้อย ความปลอดภัยและราคาที่เราพอจ่ายไหวไม่เดือดร้อนนะคะ


Crazy Secret

70,673 views

นักเขียนหลากหลายแนวหลงไหลงานเขียน ไลฟ์สไตล์ ซีรีย์ รีวิว สัตว์เลี้ยง สุขภาพ ความงาม "Writer enjoy and hope will be reader happy" FB: The write เขียน ไป เรื่อย

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save