คนท้องขาบวม อาจไม่ใช่เรื่องปกติ มีโอกาสเสี่ยงแท้งลูก

ท้องขาบวม
ตั้งครรภ์

Last Updated on 2022 03 10

หลายคนคงเคยได้ยินได้เห็นมาบ้างใช่มั้ยคะว่าคนท้องมักขาบวม ยิ่งอายุครรภ์มากขึ้นเท่าขาก็ยิ่งจะบวมมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนอาจมองว่าเป็นเรื่องปกติ แต่…วันนี้ผู้เขียนมีข้อมูลอีกด้านหนึ่งมาฝากค่ะ เพราะอาการขาบวมอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการแท้งลูกได้ รายละเอียดจะเป็นอย่างไร ไปดูกันค่ะ

คนท้องขาบวม

อาการขาบวมสำหรับคนท้องบางคนนั้น อาจเป็นโรค Antiphospholipid syndrome (APS) หรือ โรคลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อลูกในท้องค่ะ

โรค APS คืออะไร?

ภูมิคุ้มกันในร่างกายมีความผิดปกติ โดยได้ทำลายตนเองเพื่อไปกำจัดสารที่เรียกว่า ฟอสโฟลิพิด สารตัวนี้เป็นสารจำพวกไขมันซึ่งประกอบอยู่ในทุกส่วนของร่างกาย แต่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตรวจพบว่า สารฟอสโฟลิพิดในร่างกายเป็นสารแปลกปลอม จึงส่งแอนติบอดี้ไปทำลายและกำจัดทิ้ง ซึ่งการทำลายนี้ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นการแข็งตัวของหลอดเลือด ทำให้เกิดลิ่มเลือด ซึ่งจะไปขัดขวางและอุดตันเส้นเลือดได้

สำหรับบางคนที่เป็นโรคนี้ กลับไม่มีปัญหาเรื่องการแข็งตัวของเลือด แต่พอตั้งครรภ์กลับมีอาการที่รุนแรงจนอาจส่งผลกระทบต่อเด็กในท้อง

สาเหตุของโรค APS?

ต้องบอกก่อนค่ะว่าโรคนี้เกิดกับใครก็ได้ ช่วงอายุเท่าไหร่ก็ได้ ซึ่งจากประชากรทั้งหมดพบผู้ที่เป็นโรคนี้ 0.5% และในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดนั้นพบเป็นหญิงในวัยเจริญพันธุ์อยู่ถึง 70%

ในขณะที่สาเหตุยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าเป็นเพราะอะไร แต่สันนิษฐานว่าอาจเป็นผลของAntiphospholipid Antibody ต่อเยื่อบุชั้นในของเกล็ดเลือด หรือส่วนประกอบการแข็งตัวของเลือด ทำให้ผนังด้านในของหลอดเลือดเกิดความผิดปกติ และความผิดปกตินี้มักเกิดขึ้นหลังร่างกายมีการติดเชื้อ

เป็นโรค APS ระหว่างตั้งครรภ์ เสี่ยงแท้ง!

โรคนี้สามารถพบได้ในทุกไตรมาสของการตั้งครรภ์ โดยจะส่งผลให้การตั้งครรภ์มีความผิดปกติ เกิดอันตรายต่อทั้งเด็กในท้องและทั้งตัวคุณแม่เอง ดังนี้ค่ะ

พบกับปัญหาการแท้งบุตรซ้ำซากและทารกตายในครรภ์

ส่วนใหญ่อาการเหล่านี้จะรุนแรงและชัดมากสุดจนพบได้ในสัปดาห์ที่ 10 ของการตั้งครรภ์เป็นต้นไป

คนท้องอยู่ในภาวะ “ครรภ์เป็นพิษ”

อาการครรภ์เป็นพิษ คือ คนท้องที่มีความดันโลหิตสูง ไตทำงานผิดปกติ และมีอาการบวมน้ำ ภาวะนี้จะเป็นอันตรายต่อตัวคุณแม่เอง และหากคุณแม่เผชิญกับภาวะนี้ตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ในไตมาสแรก อาจส่งผลให้ทารกเสียชีวิตได้ โดย 11-17% ของผู้ป่วยในภาวะครรภ์เป็นพิษตรวจพบสารภูมิต้านทานต้านฟอสโฟลิพิด

“ภาวะการคลอดก่อนกำหนด”

จะพบภาวะนี้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์

ภาวะทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า

รวมถึงภาวะทารกน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่ากำหนด

คนท้องขาบวมเพราะโรค APS

จริงอยู่คนท้องมักขาบวม แต่…สำหรับผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีขาที่บวมมากกว่าปกติ อาจบวมข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ ซึ่งอาการบวมนี้อาจเป็นการอุดตันของเส้นเลือด นอกจากอาการขาบวมแล้ว ยังพบว่ามีอาการปวดขามากร่วมด้วย ปวดจนเดินไม่ไหว ลองกดที่ขาก็มีอาการปวด โดยเฉพาะถ้ากดบริเวณที่บวมแดงจะปวดมาก

หากมีลิ่มเลือดเกิดขึ้น แล้วลิ่มเลือกนี้หลุดไปอุดตันบริเวณเส้นเลือดใหญ่ในร่างกาย เช่น อุดตันที่หลอดเลือดปอด โดยพบได้ประมาณ 15-25% หากเป็นเช่นนี้จะส่งผลให้ปอดขาดออกซิเจน และเสียชีวิตอย่างฉับพลันได้

แนวทางการรักษา

เมื่อคุณแม่ท้องพบว่าตัวเองมีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้นหรือไม่แน่ใจว่าเป็นโรคนี้หรือไม่ สามารถไปปรึกษาคุณหมอได้นะคะ แต่สำหรับผู้ที่เป็นโรคนี้ขณะตั้งครรภ์ คุณหมอจะให้ยาละลายลิ่มเลือดมาซึ่งมี 2 แบบ คือ

ยากิน

หากเป็นยากินคุณแม่ท้องต้องระวังนิดนึงนะคะ เพราะตัวยาจะผ่านน้ำนม ผ่านรก ซึ่งคุณหมอจะไม่ให้กินยานี้ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เพราะยาละลายลิ่มเลือดบางชนิดหากกินขณะตั้งครรภ์อาจทำให้ลูกพิการได้

ยาฉีด

คุณหมอจะเป็นผู้ที่สั่งยาและฉีดยาให้เท่านั้น ข้อดีคือ ยานี้ไม่ผ่านน้ำนม ไม่ผ่านรก เพราะฉะนั้นปลอดภัยต่อลูกในท้องค่ะ

บทความนี้ที่ผู้เขียนเอามาแชร์กันมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คุณแม่ท้องต้องใส่ใจดูแลตัวเองและลูกน้อย หากมีอะไรที่ผิดปกติ ไม่แน่ใจ หรือไม่รู้ แนะนำควรปรึกษาคุณหมอจะดีที่สุดค่ะ เพราะขณะท้องคุณแม่ควรทำใจให้เบิกบานมีความสุข รอต้อนรับสมาชิกตัวน้อยที่กำลังจะเกิดมานะคะ

เป็นโรค APS ระหว่างตั้งครรภ์ เสี่ยงแท้ง!

โรคนี้สามารถพบได้ในทุกไตรมาสของการตั้งครรภ์ โดยจะส่งผลให้การตั้งครรภ์มีความผิดปกติ เกิดอันตรายต่อทั้งเด็กในท้องและทั้งตัวคุณแม่เอง ดังนี้ค่ะ

พบกับปัญหาการแท้งบุตรซ้ำซากและทารกตายในครรภ์

ส่วนใหญ่อาการเหล่านี้จะรุนแรงและชัดมากสุดจนพบได้ในสัปดาห์ที่ 10 ของการตั้งครรภ์เป็นต้นไป

คนท้องอยู่ในภาวะ “ครรภ์เป็นพิษ”

อาการครรภ์เป็นพิษ คือ คนท้องที่มีความดันโลหิตสูง ไตทำงานผิดปกติ และมีอาการบวมน้ำ ภาวะนี้จะเป็นอันตรายต่อตัวคุณแม่เอง และหากคุณแม่เผชิญกับภาวะนี้ตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ในไตมาสแรก อาจส่งผลให้ทารกเสียชีวิตได้ โดย 11-17% ของผู้ป่วยในภาวะครรภ์เป็นพิษตรวจพบสารภูมิต้านทานต้านฟอสโฟลิพิด

“ภาวะการคลอดก่อนกำหนด”

จะพบภาวะนี้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์

ภาวะทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า

รวมถึงภาวะทารกน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่ากำหนด

คนท้องขาบวมเพราะโรค APS

จริงอยู่คนท้องมักขาบวม แต่…สำหรับผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีขาที่บวมมากกว่าปกติ อาจบวมข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ ซึ่งอาการบวมนี้อาจเป็นการอุดตันของเส้นเลือด นอกจากอาการขาบวมแล้ว ยังพบว่ามีอาการปวดขามากร่วมด้วย ปวดจนเดินไม่ไหว ลองกดที่ขาก็มีอาการปวด โดยเฉพาะถ้ากดบริเวณที่บวมแดงจะปวดมาก

หากมีลิ่มเลือดเกิดขึ้น แล้วลิ่มเลือกนี้หลุดไปอุดตันบริเวณเส้นเลือดใหญ่ในร่างกาย เช่น อุดตันที่หลอดเลือดปอด โดยพบได้ประมาณ 15-25% หากเป็นเช่นนี้จะส่งผลให้ปอดขาดออกซิเจน และเสียชีวิตอย่างฉับพลันได้

แนวทางการรักษา

เมื่อคุณแม่ท้องพบว่าตัวเองมีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้นหรือไม่แน่ใจว่าเป็นโรคนี้หรือไม่ สามารถไปปรึกษาคุณหมอได้นะคะ แต่สำหรับผู้ที่เป็นโรคนี้ขณะตั้งครรภ์ คุณหมอจะให้ยาละลายลิ่มเลือดมาซึ่งมี 2 แบบ คือ

ยากิน

หากเป็นยากินคุณแม่ท้องต้องระวังนิดนึงนะคะ เพราะตัวยาจะผ่านน้ำนม ผ่านรก ซึ่งคุณหมอจะไม่ให้กินยานี้ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เพราะยาละลายลิ่มเลือดบางชนิดหากกินขณะตั้งครรภ์อาจทำให้ลูกพิการได้

ยาฉีด

คุณหมอจะเป็นผู้ที่สั่งยาและฉีดยาให้เท่านั้น ข้อดีคือ ยานี้ไม่ผ่านน้ำนม ไม่ผ่านรก เพราะฉะนั้นปลอดภัยต่อลูกในท้องค่ะ

บทความนี้ที่ผู้เขียนเอามาแชร์กันมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คุณแม่ท้องต้องใส่ใจดูแลตัวเองและลูกน้อย หากมีอะไรที่ผิดปกติ ไม่แน่ใจ หรือไม่รู้ แนะนำควรปรึกษาคุณหมอจะดีที่สุดค่ะ เพราะขณะท้องคุณแม่ควรทำใจให้เบิกบานมีความสุข รอต้อนรับสมาชิกตัวน้อยที่กำลังจะเกิดมานะคะ


Mommy Note

3,061,743 views

คุณแม่ลูกหนึ่ง ที่ใช้วิธีการเลี้ยงลูกแบบ "Tradigital" แบบดั้งเดิมผสมผสานกับความดิจิทัลในยุคปัจจุบัน เน้นเลี้ยงลูกให้เป็นคนธรรมดาที่มีสุข ติดต่องานได้ที่ e-mail : simplymommynote@gmail.com

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save