• HOME
  • BLOG
  • โรค
  • ออทิสติก (Autistic) สังเกตอาการได้อย่างไร พร้อมวิธีรับมือ

ออทิสติก (Autistic) สังเกตอาการได้อย่างไร พร้อมวิธีรับมือ

“ออทิสติก” จะรู้ได้อย่างไร พร้อมการรับมือ
โรค

Last Updated on 2023 07 12

โรคออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิซึมสเปกตรัม (autism spectrum disorder) เป็นโรคที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของสมอง ซึ่งจะทำให้เด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้มีพัฒนาการทางสมอง และมีพฤติกรรมที่ต่างไปจากเด็กปกติในวัยเดียวกัน เช่น ไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า หรืออาจมีการตอบสนองที่มากหรือน้อยจนเกินไป อีกทั้งพฤติกรรมนั้นยังเปลี่ยนแปลงได้ยาก อาจมีพฤติกรรมทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งซ้ำๆ กันเป็นเวลานาน เช่น พูดคำเดิมซ้ำๆ พูดติดๆ ปรบมือ สะบัดมือ ทุบโต๊ะ เหม่อลอย เป็นต้น

สัญญาณเตือน อาการออทิสติก

สัญญาณเตือน และข้อบ่งชี้ ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ เกี่ยวกับอาการออทิสติกในเบื้องต้น ได้แก่

อายุ 6 เดือน หลังคลอด

ทารกน้อยไม่ยิ้ม ไม่แสดงอารมณ์ใดๆ เมื่อถูกกระตุ้นจากพ่อแม่และคนรอบข้าง

อายุ 9 เดือนหลังคลอด

ทารกไม่ส่งเสียงร้องไห้ หรือหัวเราะ ยิ้ม หรือแสดงสีหน้าตอบโต้ต่อสิ่งเร้ารอบกาย

อายุ 12 – 18 เดือน

เด็กไม่เล่นน้ำลาย ไม่หันตามเสียงเรียกชื่อของตนเอง ไม่มีการใช้ภาษาพูดร่วมกับการแสดงภาษาท่าทาง หรือภาษากาย ใช้ภาษาพูดที่ฟังไม่เข้าใจ หรือไม่สามารถพูดคำที่มีความหมายได้เลย ไม่มีการเล่นสมมุติอย่างง่ายๆ เหมือนเด็กคนอื่นๆ ทั่วไป เป็นต้น

อายุ 24 เดือน

ยังไม่สามารถพูดคำ 2 พยางค์ที่มีความหมายได้เลย มีความถดถอยในการใช้ภาษาพูด และพัฒนาการทางสังคม

***เด็กที่มีลักษณะอาการเหล่านี้เข้าข่ายเสี่ยงเป็นออทิสติก ซึ่งการจะรู้แน่ชัดว่าเด็กเป็นออทิสติกหรือแค่มีพฤติกรรมคล้ายออทิสติกควรเข้ารับการตรวจกับแพทย์ผู้ชำนาญการด้านพัฒนาการเด็ก***

อ้างอิง: โรงพยาบาลกรุงเทพ

อาการออทิกติกอื่นๆ

นอกจากพฤติกรรมตามวัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว เด็กที่ป่วยเป็นออทิสติกยังอาจมีอาการ ดังนี้

  • เหม่อลอย
  • ไม่ชอบสบตาผู้คน
  • ไม่สามารถทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้ (ไม่รับรู้คำสั่ง หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง)
  • ไม่แสดงท่าทาง หรือปฏิกิริยาตอบรับ
  • ไม่ส่งเสียงเรียก
  • ไม่ชี้นิ้ว หรือไม่สามารถบอกถึงความต้องการของตนเองได้
  • ไม่สนใจการทักทาย หรือมีกิริยาแสดงออกต่อการทักทายอย่างไม่เหมาะสม
  • สนใจเฉพาะบางเรื่อง หมกมุ่นกับบางสิ่งบางอย่างมากจนเกินไป
  • มีพฤติกรรมทำอะไรซ้ำๆ เดิมๆ เช่น พูดคำเดิมซ้ำๆ ชอบกินอาหารเดิมๆ เล่นแบบเดิมๆ
  • ไม่สนใจเพื่อน
  • ไม่สนใจการเล่นแบบอื่นเมื่อถูกชักชวน
  • ชอบอยู่คนเดียว ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามลำพัง เป็นเวลานานๆ

ทั้งนี้ การที่คุณพ่อ คุณแม่จะทราบได้ว่าลูกของตนป่วยเป็นออทิสติกหรือไม่ ให้สังเกตจากพฤติกรรม และพัฒนาการตามวัยของเด็กเป็นสำคัญ ยิ่งหากพบความผิดปกติเร็วขึ้นเท่าไร การรักษาก็จะเป็นไปได้รวดเร็วมากขึ้นเท่านั้น

การรับมือ เมื่อพบว่าลูกเป็นออทิสติก

หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตพัฒนาการตามวัยของลูกน้อย แล้วพบความผิดปกติ ควรรีบพามาพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย รับคำปรึกษา และทำการรักษาอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะในช่วงวัยเด็กเล็ก ก่อน 3 – 5 ขวบ ซึ่งจะทำให้การรักษาอาการออทิสติกทำได้ง่าย และมีประสิทธิภาพมากกว่าช่วงระยะเวลาที่เด็กเริ่มโตขึ้น หรือเข้าสู่ช่วงวัยประถม ซึ่งจะมีพฤติกรรมที่รุนแรงและชัดเจนยิ่งขึ้น จนยากแก่การรักษา

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัจจุบันจะยังไม่มียา หรือกระบวนการทางการแพทย์ที่จะทำการรักษาโรคออทิสติกให้หายขาดได้ แต่กระนั้นในขั้นตอนของการรักษาโดยกุมารแพทย์ด้านออทิสติกโดยเฉพาะ นักจิตวิทยาเด็ก นักแก้ไขการพูด ครูสอนเด็กพิเศษ นักกิจกรรมบำบัด และที่จะขาดเสียมิได้ก็คือความร่วมมือร่วมใจของคุณพ่อคุณแม่ นั่นเอง

ในขั้นตอนของการรักษา แพทย์จะแนะนำให้มีการกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้งห้าของเด็กที่ป่วยเป็นออทิสติก โดยคุณพ่อคุณแม่ควรปฏิบัติกับลูกน้อยดังนี้

  1. เล่นกับลูก เช่น เล่นจั๊กจี้ เล่นปูไต่ เล่นจ๊ะเอ๋ ฯลฯ
  2. อุ้ม และกอด สัมผัสเหล่านี้จะช่วยสร้างความอบอุ่น ความไว้วางใจ และทำให้ลูกรู้สึกว่าปลอดภัย
  3. เรียกชื่อลูกเบาๆ บางครั้งอาจเป็นเสียงกระซิบที่ข้างหู หรือเรียกเพื่อกระตุ้นการรับรู้ของลูกในการทำกิจกรรมต่างๆ
  4. สอนให้ลูกรู้จักกลิ่น สี และรสของอาหาร โดยเริ่มจากอาหารที่ลูกชอบกิน สอนให้ลูกเรียกชื่ออาหารที่ตนเองชอบ แล้วค่อยๆ ขยับไปสู่อาหารชนิดอื่นๆ ให้ลูกได้ทดลองชิม ดู และดมกลิ่นต่างๆ ด้วยตนเอง
  5. สอนให้ลูกรู้จักการแยกแยะความแตกต่างของสิ่งของ ด้วยการจับมือของลูกไปสัมผัสกับสิ่งต่างๆ เหล่านั้น
  6. สอนให้ลูกรุ้จักกับตัวเอง บุคคลในครอบครัว สอนให้เขาเรียกชื่อของตนเอง และบุคคลในครอบครัว ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นมากขึ้น และไม่กลัวที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น
  7. สอนให้ลูกรู้จักชี้บอกความต้องการของตนเอง ให้เขาได้เรียนรู้ที่จะร้องขอ หรือปฏิเสธสิ่งที่ตนต้องการ และไม่ต้องการ รวมถึงสามารถทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้

การสัมผัสและเรียนรู้เหล่านี้นอกจากจะช่วนกระตุ้นประสาทสัมผัสของเด็กแล้ว ยังเป็นการถ่ายทอดความรัก ความอบอุ่นจากพ่อแม่สู่ลูกอีกทางหนึ่งด้วย ดังนั้นคุณพ่อคุณม่ควรจะทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นประจำทุกวัน เพื่อให้เด็กได้ซึมซับความอบอุ่น และสายใยแห่งความผูกพัน  โดยมีคุณพ่อคุณแม่คอยช่วยอยู่ข้างๆ เป็นต้น

ปัจจุบัน มีการสำรวจพบว่าเด็กเล็กในวัยอนุบาล หรือช่วงปฐมวัยมีอาการป่วย “คล้ายออทิสติก” หรือที่เรียกกันว่า “ออทิสติกเทียม” กันมากขึ้น ซึ่งอาการดังกล่าวจะคล้ายคลึงกับโรคออทิสติก แต่จะแตกต่างกันก็ตรงที่อาการออทิสติกเทียมนั้นมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการเลี้ยงดู การเอาใจใส่ของพ่อแม่เป็นสำคัญ เช่น การที่พ่อแม่ไม่เล่นกับลูก ไม่มีเวลาพูดคุย หรือทำกิจกรรมร่วมกับลูก แต่ปล่อยให้ลูกอยู่ตามลำพังกับเครื่องมือสื่อสารทางเดียว เช่น ทีวี โทรศัพท์มือถือ (สมาร์ทโฟน) เป็นต้น

ดังนั้นอาการออทิสติกเทียมจึงสามารถรักษาให้หายขาดได้ ในระยะเวลาอันสั้น หากเด็กๆ ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างถูกต้อง และถูกวิธี  ในขณะที่อาการออทิสติกแท้นั้น มีสาเหตุสำคัญมาจากความผิดปกติของสมอง หรือสมองทำงานผิดปกติมาแต่กำเนิด การรักษาจึงเป็นไปได้ค่อนข้างยาก และต้องใช้ระยะเวลานานกว่าจะเห็นผล ซึ่งพ่อแม่และผู้ปกครองจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ความรัก ความอดทน รวมถึงการให้ความสนใจ และใส่ใจกับพัฒนาการแต่ละขั้นตอนของบุตรหลาน ที่ป่วยเป็นโรคนี้เป็นพิเศษด้วย นั่นเอง


waayu

322,537 views

(นามปากกา : วายุ, วิสัชนา, อารีรัตน์) ชอบปลูกต้นไม้ อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ และวาดรูป เคยเป็นครูอนุบาล ครูประถม ครูมัธยมต้น ครูสอนจินตคณิต(สมาร์ทเบรน) มีงานเขียนพ็อกเก็ตบุ๊ค และ E-book ที่ mebmarket.com Facebook

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save