• HOME
  • BLOG
  • โรค
  • กลากน้ำนม เกิดจากนมแม่จริงหรือไม่ และป้องกันได้ไหม?

กลากน้ำนม เกิดจากนมแม่จริงหรือไม่ และป้องกันได้ไหม?

กลากน้ำนม เกิดจากนมแม่จริงหรือไม่ และป้องกันได้ไหม
โรค

“กลากน้ำนม” สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่บางคนอาจจะยังไม่เคยได้ยินชื่อนี้มาก่อน โน้ตก็เพิ่งรู้จักเมื่อตอนมีลูกนี่แหละค่ะ กลากน้ำนมมีอันตรายหรือไม่ แล้วอาการเป็นอย่างไร สาเหตุเกิดจากอะไร การรักษายุ่งยากหรือต้องใช้เวลานานแค่ไหน รวมไปถึงสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่อยากรู้คือ กลากน้ำนมมีวิธีป้องกันหรือไม่ ไปติดตามกันเลยค่ะ

กลากน้ำนม (Pityriasis Alba) คืออะไร?

กลากน้ำนม (Pityriasis Alba) หรือจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เกลื้อนน้ำนม” ก็ได้ค่ะ เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผิวหนังที่มีการลดจำนวนของเม็ดสีที่ผิวหนังโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ จึงทำให้เราเห็นสีผิวบริเวณที่เกิดกลากน้ำนมนั้นเป็นสีจาง ๆ เป็นวงด่าง แต่ในระยะแรกที่เราเห็นจะเป็นสีชมพูอ่อน แห้ง และเป็นสะเก็ด ถ้ามองเผิน ๆ จะคล้ายอาการของโรคผิวหนังอักเสบ (Eczema) ซึ่งสามารถพบได้ทั่วไปในทุกเพศ ทุกวัย แต่ส่วนใหญ่มักเกิดกับเด็กเล็ก และวัยรุ่นมากกว่าวัยอื่น ๆ

อาการของกลากน้ำนม

อาการของกลากน้ำนมจะมีลักษณะ ดังนี้ค่ะ

มีผื่นแดงขึ้นตามผิวหนัง

อาการเริ่มแรกของกลากน้ำนมหรือเกลื้อนน้ำนมคือ จะมีผื่นแดงขึ้นตามผิวหนัง

เริ่มขยายเป็นวง

จากนั้นจะเริ่มมีการขยายออกเป็นวง เป็นดวง อาจมีสีแดง หรือสีชมพูจาง ๆ ซึ่งจะมีขนาดตั้งแต่ 0.5 – 4 เซนติเมตร มีขุยบาง ๆ ปกคลุม

สีของกลากน้ำนมจางลง

ระยะถัดมา สีของกลากน้ำนมจะจางลงเป็นสีขาว

ไม่ค่อยมีอาการคัน

กลากน้ำนมหรือเกลื่อนน้ำนม จะไม่ค่อยพบว่ามีอาการคัน หรือถ้ามีคือ ค่อนข้างน้อยมาก

จุดที่สามารถเกิดกลากน้ำนมที่พบได้บ่อย จะอยู่ที่แก้ม รอบปาก แต่ในบางรายอาจเกิดขึ้นได้ตามร่างกาย เช่น คอ แขน ไหล่ ลำตัว หน้าอก หลัง และส่วนขา ผู้ที่เป็นกลากน้ำนมส่วนใหญ่แล้วจะสามารถหายได้เองภายในไม่กี่เดือน แต่ก็มีบางรายที่อาจมีอาการกลากน้ำนมเป็นปี

สาเหตุที่ทำให้เกิดกลากน้ำนม

ปัจจุบันก็ยังไม่สามารถหาสาเหตุได้ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่เท่าที่พอจะสันนิษฐานได้ก็จะมีดังนี้

  • อากาศที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น อากาศเย็น อากาศร้อน การตากแดด รวมไปถึงการตากลม เป็นต้น
  • เม็ดสีหรือเซลล์ผิวหนังมีความผิดปกติ
  • ผิวหนังมีความไวต่อแสงแดด หรือไวต่อรังสีอัลตร้าไวโอเลต ทำให้เกิดอาการแพ้ และเกิดกลากน้ำนมได้ง่าย
  • ร่างกายอยู่ในภาวะที่ขาดสารทองแดง หรือเชื้อรา (Malassezia Yeasts) ที่อาจไปกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ในการสร้างเม็ดสี จนส่งผลให้ผิวหนังมีการผลิตเม็ดสีน้อยลงจนทำให้เราเห็นเป็นรอยด่าง
  • กลุ่มที่เสี่ยงจะเป็นกลากน้ำนมได้ง่าย

  • กลุ่มเด็กและวัยรุ่นที่มีอายุในช่วง 6-12 ปี ซึ่งสามารถพบการเกิดโรคได้ 2-5% โดยประมาณ และจะพบมากในเด็กที่เคยมีประวัติการเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังและเคยมีการอักเสบของผิวหนังที่มีอาการคันร่วมด้วย
  • เด็ก ๆ ที่อาบน้ำอุ่นบ่อย ๆ
  • ผู้ที่ต้องสัมผัสกับแดดเป็นประจำ แต่ไม่ได้มีการทาครีมกันแดด
  • กลากน้ำนม เกิดจากน้ำนมแม่จริงหรือไม่

    กลากน้ำนม หรือเกลื้อนน้ำนม ไม่ได้เกิดจากการกินนมแม่แต่อย่างใดนะคะ เป็นโรคที่ไม่อันตราย ไม่ร้ายแรงค่ะ แต่จะมีความสัมพันธ์กับโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง สามารถหายได้เองเช่นกัน แต่อาจจะใช้เวลาค่อนข้างนานสักหน่อย ทั้งนี้ หากผิวได้รับการดูแลที่ดี ใส่เสื้อผ้ามิดชิด (หากอาการร้อนให้ใส่แขนยาวแตะผ้าบางก็ได้ค่ะ) และสวมหมวกให้ลูก เพื่อเป็นการป้องกันผิวลูกจากรังสีอัลตราไวโอเลต พร้อมทั้งเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนและเหมาะสมกับผิวของลูก ก็จะทำให้อาการกลากน้ำนมหายได้เร็วขึ้น

    การรักษากลากน้ำนม

    หากคุณแม่ยังคงเป็นกังวลเกี่ยวกับกลากน้ำนมของลูก สามารถใช้การรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้ค่ะ

    ทาครีมหรือมอยส์เจอไรเซอร์

    ให้คุณแม่ทาครีมหรือทามอยส์เจอไรเซอร์ในบริเวณที่ผิวเป็นกลากน้ำนม เพื่อเป็นการช่วยให้ผิวลูกมีความชุ่มชื้นมากขึ้น ผิวก็จะไม่แห้ง และลดการเกิดขุยบาง ๆ ที่ผิวลูกได้ค่ะ

    ใช้ยาทาผิว

    สำหรับบางรายที่มีอาการรุนแรง คุณแม่อาจต้องเลือกยาทาผิวซึ่งก็จะมีทั้งแบบที่มีส่วนผสมของเสตียรอยด์อ่อน ๆ และแบบที่ไม่มีเสตียรอยด์ผสมเลยก็ได้ค่ะ ลองปรึกษาเภสัชกรก่อนซื้อนะคะ

    ทาครีมกันแดด

    ก่อนออกจากบ้านให้ทาครีมกันแดดทุกครั้ง และเพื่อไม่ให้ผิวเกิดอาการแพ้ซ้ำ ให้เลือกชนิดที่เหมาะกับผิวแพ้ง่ายนะคะ

    ไม่อาบน้ำอุ่นบ่อยเกินไป

    การอาบน้ำอาจจะสลับกันไประหว่างน้ำในอุณหภูมิห้องหรือน้ำอุ่น แต่ไม่ควรอาบน้ำอุ่นทุกวัน รวมถึงควรใช้สบู่ที่มีความอ่อนโยนต่อผิว

    การป้องกันการเกิดกลากน้ำนม

    สำหรับการป้องกันไม่ให้เกิดกลากน้ำนมนั้น เราไม่สามารถป้องกันได้ 100% ค่ะ เนื่องจากมีปัจจัยในการเกิดกลากน้ำนมนั้นมีหลายปัจจัย แต่เราสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดได้ ด้วยการดูแลผิวให้ชุ่มชื้นด้วยการทาครีมอยู่เสมอ เลี่ยงการออกแดด หรือถ้าเลี่ยงไม่ได้ควรทาครีมกันแดดทุกครั้ง รวมไปถึงควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เหมาะสำหรับเด็ก เพราะมีความอ่อนโยนต่อผิวของลูกได้มากกว่าค่ะ

    กลากน้ำนมไม่ใช่โรคร้ายแรงอะไร และเราก็ไม่สามารถป้องกันการเกิดได้ 100% ดังนั้น มีเพียงทางเดียวก็คือ ถ้าลูกน้อยของคุณแม่เป็นกลากน้ำนมแล้ว ให้รักษาหรือดูแลตามอาการไป พร้อมกับลองนำแนวทางในการรักษาไปปรับใช้กันดูนะคะ


    Mommy Note

    3,110,250 views

    คุณแม่ลูกหนึ่ง ที่ใช้วิธีการเลี้ยงลูกแบบ "Tradigital" แบบดั้งเดิมผสมผสานกับความดิจิทัลในยุคปัจจุบัน เน้นเลี้ยงลูกให้เป็นคนธรรมดาที่มีสุข ติดต่องานได้ที่ e-mail : simplymommynote@gmail.com

    Profile

    Pickup posts

    Related posts

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

    Privacy Preferences

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    Allow All
    Manage Consent Preferences
    • คุกกี้ที่จำเป็น
      Always Active

      ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

    • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

      คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

    Save