ลูก 2 ขวบเอาแต่ใจ ร้องไห้ ใช่วัยทองไหม? วิธีรับมือ?

สำหรับพ่อแม่มือใหม่ การเลี้ยงลูกเรียกได้ว่าเป็นอะไรที่ท้าทายมาก ไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ไม่ยากเกินไป หากพ่อแม่จะทำความเข้าใจเค้า เพราะในแต่ละช่วงวัยก็จะมีพฤติกรรมที่ต่างกัน ซึ่งวันนี้โน้ตจะพูดถึง “การเลี้ยงลูกวัย 2 ขวบ” บางคนอาจเรียก Terrible Twos หรืออาจจะเป็น “วัยทอง 2 ขวบ” ก็แล้วแต่ แต่ความหมายโดยรวมของวัยทอง 2 ขวบก็คือการที่เด็กมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปมากจากที่เคยเรียบร้อย เชื่อฟัง น่ารัก กลับกลายเป็นเด็กรั้น เอาแต่ใจไปซะอย่างนั้น
สำหรับเรื่องนี้มีที่มาที่ไปและมีวิธีที่คุณพ่อคุณแม่จะนำไปปรับใช้เพื่อรับมือกันอีกด้วยค่ะพฤติกรรมลูก 2 ขวบ เอาแต่ใจ(Terrible Twos)
สำหรับพฤติกรรมของเด็กวัยนี้ที่บอกว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปนั้น หลักมาจาก 2 ปัจจัยด้วยกันค่ะ คือ พัฒนาการของเด็กวัย 2 – 5 ขวบ ด้วยพื้นฐานแล้วเด็กวัยนี้เค้าก็จะเริ่มเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น อยากคิดเอง อยากทำอะไรด้วยตัวเอง และอีกสาเหตุนึงก็คือ เพราะเด็กต้องเจอการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นทางกาย เช่น การยืดตัว การที่ยังเดินไม่ได้ดังใจ และการที่เด็กต้องเจอกับสังคมใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ หลายอย่าง ทำให้ปรับตัวทันบ้าง ไม่ทันบ้าง ทำให้เด็กแสดงออกดังนี้- มีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น อยากทำโน่น นี่ นั่นเอง
- ไม่ชอบให้ใครมาบังคับ ถ้าบอกให้เค้าทำอะไรแล้วไม่ทำ ข้อนี้นี่เองค่ะที่เรียกว่า “เด็กดื้อ”
- แสดงอาการต่อต้านหรือขัดขืน เมื่อถูกออกคำสั่งหรือได้รับการปฏิเสธ
- รู้จักการต่อรอง และหวังว่าจะได้ยินคำว่า “Say yes” อย่างเดียว
- โวยวายหรือร้องกรี๊ด เมื่อไม่ได้ดังใจ บางคนรุนแรงจนถึงขึ้นทำร้ายตัวเอง ตีหรือขัดแขนพ่อแม่
- ระบายอารมณ์ด้วยการขว้างปาสิ่งของ
- หวงของเล่นมาก แม้ตัวเองไม่เล่นแต่ก็ไม่ให้คนอื่นเล่น
สาเหตุของพฤติกรรมลูก 2 ขวบ เอาแต่ใจ
ไม่ว่าจะเป็นเด็กผู้หญิงหรือเด็กผู้ชาย สมองที่ทำหน้าที่ในการควบคุมอารมณ์และความรู้สึกของเด็กที่มีอายุในช่วง 2-4 ขวบนั้น จะเติบโตได้เร็วกว่า สมองส่วนที่ควบคุมในเรื่องของเหตุผลวิธีรับมือลูก 2 ขวบเอาแต่ใจ ที่พ่อแม่ควรรู้
- ทำความเข้าใจกับเด็กวัย 2 ขวบ
เพื่อการแก้ปัญหาได้ถูกจุด คุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจถึงพฤติกรรมของเด็กวัยนี้ก่อน เพราะเมื่อเราเข้าใจแล้วเราจะได้ใช้เหตุผลกับเค้าได้ถูกเรื่อง การปรับพฤติกรรมก็จะง่ายขึ้นค่ะ
- คุณพ่อคุณแม่ต้องใจเย็นๆค่ะ
เวลาที่เค้างอแงหรือเอาแต่ใจ เราต้องไม่เดินหนีเค้านะคะ ไม่อย่างนั้นจะยิ่งไปกันใหญ่ พยายามอดทนและใจเย็นเข้าไว้ ระหว่างนั้นอาจจะคิดอย่างนี้ก็ได้ค่ะว่า “เรารักลูก อยากให้ลูกเป็นเด็กดี เราต้องใจเย็นๆ ค่อยๆ สอนเค้า” แบบนี้ก็จะช่วยให้เราไม่ต้องไปโฟกัสที่เสียงร้องของลูกมากนัก ป้องกันไม่ให้คุณแม่ตบะแตกซะก่อน
- เบี่ยงเบนความสนใจ
- ยื่นข้อเสนอ
- ใช้อารมณ์ขันเป็นตัวช่วย
- สร้างตารางเวลาให้ลูก
- ห้ามดุหรือตีลูก
- หากิจกรรมที่ลูกได้ปล่อยพลัง
ข้อดีของการเป็นวัยทอง 2 ขวบ
- ทำให้พ่อแม่รู้ได้ชัดเจนว่าลูกต้องการอะไร
- ลูกจะมีการตั้งคำถาม สมมติฐาน และวิธีการหาคำตอบด้วยตัวเอง
- รู้จักการวางแผน ว่าควรทำอะไรก่อน-หลัง