ความกดดัน พ่อแม่กดดันลูก คาดหวังลูกมากเกินไป ลูกอาจป่วยจิตเวชได้

ความกดดัน พ่อแม่กดดันลูก คาดหวังลูกมากเกินไป ลูกอาจป่วยจิตเวชได้
การเลี้ยงลูก

Last Updated on 2021 11 04

ด้วย “ความรักและความหวังดีของคุณพ่อคุณแม่…ที่อาจจะมากเกินไป” สามารถทำให้ลูกป่วยจิตเวชได้ แม่โน้ตในฐานะที่ก็เป็นทั้งลูกและเป็นทั้งแม่ อยากชวนคุณพ่อคุณแม่มาเบรกตัวเองกันซักนิดก่อน แล้วทบทวนตัวเองกันว่าที่ผ่านมาเราหวังดีกับลูก (จนกลายเป็นความกดดัน) มากไปหรือเปล่า

“จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกถูกกดดันมากเกิน?”

พ.ญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ รอง ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กล่าวว่า “ปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นโรคจิตเวชเด็กและวัยรุ่นเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่ไม่เข้าใจและไม่ได้รับการรักษา มีเพียงแค่ 10% เท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมาก”

ข้อมูลอ้างอิง kaosod.co.th

ความกดดันลูก สาเหตุลูกป่วยจิตเวช

โรคทางจิตเวชเด็กและวัยรุ่นมีสาเหตุที่แตกต่างกัน สามารถเกิดได้ในทุกช่วงวัย ส่วนใหญ่มักพบในเด็กที่สมาธิสั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก “ไฮเปอร์กับสมาธิสั้นแยกได้อย่างไร” (Another article)

อาการของเด็กสมาธิสั้น

  • ไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรม
  • วอกแวกมองสิ่งเร้านอกห้องได้ง่าย
  • มักทำของหายอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะที่โรงเรียน
  • อยู่ไม่นิ่ง
  • ชอบพูด พูดไม่หยุด
  • ไม่ชอบการเข้าคิว หรือการรอคอย
  • การคาดหวังในตัวลูกไม่ใช่เรื่องผิด แต่คุณพ่อคุณแม่อาจมีเผลอบ้าง ลืมไปบ้างว่าชีวิตของลูก ลูกควรเป็นผู้กำหนดเอง และเผลอกดดันลูกมากเกินไปโดยไม่รู้ตัว ที่สำคัญ กดดันตัวเอง เลี้ยงลูกไม่มีความสุขอีกค่ะ

    วิธีสังเกตว่าลูกป่วยจิตเวชหรือไม่ ที่พ่อแม่ควรรู้

    เข้าใจผิดและประสาทหลอน

    อาทิ หูแว่ว มักได้ยินเสียงแปลก ๆ ได้ยินในสิ่งที่คนทั่วไปไม่ได้ยิน บางรายคิดว่าจะมีคนมาทำร้าย เห็นภายอะไรแปลก ๆ และไม่มีอยู่จริง เช่น เห็นว่าจะมีคนกำลังจะตามฆ่า

    บุคลิกเปลี่ยนไปในทางลบ

    จากเดิมเป็นเด็กร่าเริงแต่กลายมาเป็นคนซึมเศร้า เคยเป็นเด็กสะอาดแต่กลับกลายเป็นเด็กสกปรก เคยเป็นเด็กสุภาพเรียบร้อยแต่กลายมาเป็นเด็กที่หยาบคาย

    สัญญาณบ่งบอกว่าลูกถูกกดดันมากเกินไป

    อาการที่บ่งบอกว่าลูกถูกกดดันมากเกินไป อาจเริ่มสังเกตได้จากการที่แสดงออกโดยที่คุณพ่อคุณแม่เรียกลูกว่า “ดื้อ” จนมาสู่พฤติกรรม “ต่อต้าน” ต่อคุณพ่อคุณแม่

    จริง ๆ แล้วแม่โน้ตมองว่า “การดื้อ” ไม่ใช่เรื่องลบนะคะ เพราะเด็กดื้อ แสดงว่าเขารู้ตัวเองว่าอะไรคือสิ่งที่เขาต้องการ และอะไรที่ไม่ต้องการ เขาจะรักการเรียนรู้และทดลองทำอะไรต่าง ๆ ด้วยตัวเอง เพียงแต่คำว่า “ดื้อ” มาจากการนิยามของคุณพ่อคุณแม่เองต่างหาก

    ทีนี้เรามาดูกันค่ะว่า พฤติกรรมอะไรที่บอกว่าลูกถูกกดดันมากเกินไป

    อาการทางพฤติกรรม

  • โมโหร้าย ระงับอารมณ์ไม่ค่อยได้
  • เถียงผู้ใหญ่แบบที่ต้องเอาชนะให้ได้
  • ชอบยั่วโมโห
  • ทะเลาะกับคนอื่นเป็นประจำ
  • จงใจไม่เชื่อฟัง คุณพ่อคุณแม่บอกซ้าย แต่หนูจะไปขวาทั้ง ๆ ที่รู้ว่าซ้ายดีกว่า
  • เพิกเฉยต่อคำสั่ง
  • ไม่รู้จักประนีประนอม
  • อาการทางความคิด ความอ่าน

  • ไม่มีสมาธิ
  • ไม่ค่อยคิดก่อนพูด
  • อาการทางจิตสังคม

  • เป็นคนเข้าถึงยาก ไม่ค่อยผูกมิตรกับคนอื่น
  • ดูถูกตัวเอง เป็นคน Low Self-esteem (ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง)
  • มองโลกในแง่ร้ายตลอด
  • พ่อแม่เลิกกดดันลูกมากไป ลูกหายป่วยได้

  • เลิกตะคอกลูก
  • เลี้ยงลูกเชิงบวก โดยมองโลกในแง่ดีเข้าไว้
  • คุยกับลูกด้วยเหตุผลที่ถูกต้อง ด้วยท่าทีที่อ่อนโยน
  • ชื่นชมลูกตามสมควร
  • “ความรักและหวังดี ก็เหมือนเข็มขัด ถ้ารัดมากไปลูกก็อึดอัดค่ะ”


    Mommy Note

    3,060,625 views

    คุณแม่ลูกหนึ่ง ที่ใช้วิธีการเลี้ยงลูกแบบ "Tradigital" แบบดั้งเดิมผสมผสานกับความดิจิทัลในยุคปัจจุบัน เน้นเลี้ยงลูกให้เป็นคนธรรมดาที่มีสุข ติดต่องานได้ที่ e-mail : simplymommynote@gmail.com

    Profile

    Pickup posts

    Related posts

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

    Privacy Preferences

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    Allow All
    Manage Consent Preferences
    • คุกกี้ที่จำเป็น
      Always Active

      ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

    • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

      คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

    Save