Critical Thinking Skill คืออะไร? พร้อมวิธีปลูกฝังให้ลูกน้อย

Critical Thinking Skill คืออะไร? พร้อมวิธีปลูกฝังให้ลูกน้อย
การเลี้ยงลูก

Critical Thinking” ไม่ใช่ศัพท์อุบัติใหม่ หากแต่เป็นคำที่มีการนำมาใช้กันอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน นับตั้งแต่สมัยกรีกโบราณมาจนถึงปัจจุบันเลยทีเดียว คำถามคือ…แล้ว Critical Thinking Skill คืออะไรกันล่ะ? เกี่ยวข้องกับเด็ก ๆ ลูก ๆ หลาน ๆ ของเราอย่างไร? มีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน? คุณพ่อ คุณแม่ มีกระบวนการ หรือวิธีการปลูกฝังให้เกิดขึ้นกับลูก ๆ อย่างไรบ้าง?

Critical Thinking Skill คืออะไร

Critical Thinking Skill คือ ความพยายาม หรือความตั้งใจ ที่จะคิดทบทวน พิจารณา วิเคราะห์ และหาคำตอบให้กับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อย่างมีเหตุผล ด้วยการไตร่ตรองจากข้อมูล ข้อเท็จจริง และหลักฐาน โดยปราศจากอคติ ความเชื่อดั้งเดิม และการใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง ในการหาคำตอบของสิ่งต่างๆ เป็นต้น

และสำหรับเด็ก ๆ การฝึกให้พวกเขามี Critical Thinking Skill ก็คือ การสอนให้เด็ก ๆ รู้จักคิด ทบทวน วิเคราะห์ แยกแยะ เพื่อที่พวกเขาจะได้คำตอบ จากการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล นั่นเอง

Critical Thinking Skill สำคัญอย่างไร

Critical thinking หรือกระบวนการเรียนรู้ และการคิดแบบมีวิจารณญาณ เพื่อให้ได้คำตอบที่ชัดเจน ตรงไปตรงมา โดยปราศจากอคติ มีคุณประโยชน์ และความสำคัญดังนี้ คือ

กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น

การคิดแบบ Critical Thinking Skill จะช่วยให้สมองเกิดการตื่นตัว มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง และเป็นระบบ สามารถคิดหาคำตอบของสิ่งที่สงสัยได้อย่างมีสติ หรือมีวิจารณญาณ นั่นเอง

ช่วยให้มีความคิดสร้างสรรค์

ผู้มีความคิดสร้างสรรค์จะมองเห็นสิ่งใหม่ ๆ โอกาสใหม่ ๆ ที่จะสามารถพัฒนาต่อยอดไปให้ไกลยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในโลกของการทำงานที่มีการแข่งขันสูง ผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ย่อมจะเป็นที่ต้องการของทุกองค์กร

สามารถคิดแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ

ผู้ที่มี Critical thinking มักจะเป็นคนที่กล้าคิด กล้าทำ กล้าที่จะตัดสินใจอย่างรอบคอบ มีความอดทนต่อสิ่งที่ท้าทาย มีความมุ่งมั่น พร้อมที่จะเผชิญหน้ากับทุกปัญหา และไม่เป็นคนหนีปัญหาอีกด้วย

มีอิสระทางความคิด

ในบางครั้งกฎเกณฑ์ก็กลายเป็นเรื่องรกสมอง และเป็นอุปสรรคกับความคิดสร้างสรรค์ได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ นักคิดวิเคราะห์ส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะฉีกกฎ ปล่อยความคิดให้เป็นอิสระ อยู่เหนือกฎเกณฑ์เก่า ๆ ไม่ยึดติดกับแบบแผน ตัวบุคคล และ ความรู้เดิมๆ ที่มีมาแต่อดีต ซึ่งอาจกลายเป็นอุปสรรค หรืออคติในใจ จนบดบังความจริงที่อยู่ตรงหน้าได้

ทว่า อย่างไรก็ดี ความคิดอิสระที่จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงได้นั้น ย่อมต้องอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล หลักฐาน และข้อเท็จจริงด้วยเช่นกัน

เป็นแบบฝึกทักษะในการดำเนินชีวิต

แน่นอนว่า แบบฝึกหัดเสริมทักษะที่ทำซ้ำกันบ่อยๆ ฝึกฝนอย่างต่อเนื่องจนเกิดความชำนาญ คล่องแคล่ว ย่อมก่อให้เกิดความผิดพลาดในการนำไปใช้ได้น้อย เมื่อเทียบกับแบบฝึกหัดที่ไม่เคยผ่านตา หรือเข้าถึงสมองของผู้เรียนเลยสักครั้ง ด้วยเหตุนี้ ยิ่งฝึกฝนในการพัฒนาทักษะทางความคิดมากเท่าใด ก็ย่อมจะมีทักษะในการดำเนินชีวิต ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น นั่นเอง

กระบวนการสร้าง Critical Thinking มีขั้นตอนอย่างไร

กระบวนการสร้าง Critical Thinking Skill เริ่มต้นจากองค์ประกอบหลัก ๆ โดยมีขั้นตอนสำคัญดังนี้ คือ

  1. การตั้งข้อสังเกต และทำความเข้าใจในเบื้องต้น
  2. การคิดวิเคราะห์ หรือความพยายามในการหาเหตุผล
  3. การอนุมาน หรือผลจากการวิเคราะห์ เพื่อให้เกิดการตัดสินใจ
  4. การสื่อสาร
  5. การคิดแก้ปัญหา

วิธีการที่พ่อแม่จะปลูกฝังลูก

ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่ สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางความคิด ให้ลูกมี Critical Thinking Skill  ตั้งแต่วัยเยาว์ ได้ด้วยวิธีการง่ายๆ ต่อไปนี้ คือ

ชวนลูกแลกเปลี่ยนความคิดเห็นบ่อยๆ

วิธีการนี้นอกจากจะทำให้ทุกคนในครอบครัวได้เชื่อมโยงความพันธ์ต่อกันโดยไม่ขาดช่วงตอนแล้ว ยังช่วยให้ลูกได้รู้จักคิด วิเคราะห์กับทุกสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว อย่างมีเหตุผลอีกด้วย

สอนให้ลูกรู้จักการวิเคราะห์ รู้จักเหตุ และผล

การตั้งคำถามต่อสิ่งที่พบเจอ เป็นการเริ่มต้นการเรียนรู้อย่างง่ายๆ และไม่น่าเบื่อสำหรับเด็กๆ ยิ่งได้พบเห็น และเรียนรู้ต่อสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ ฝึกที่จะคิด วิเคราะห์ หาเหตุและผลของสิ่งเหล่านั้นมากเท่าใด เด็กๆ ก็จะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีเหตุผลมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย นั่นเอง

สอนให้ลูกรู้จักหาคำตอบด้วยตนเอง

แทนที่จะเชื่อทันทีที่มีคนบอก โดยไม่เข้าใจถึงเหตุผลของสิ่งนั้นๆ อย่างที่เรียกว่า “คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น” นั่นเอง

แน่นอนว่าการเชื่อฟังเป็นการแสดงถึงความอ่อนน้อม ทำให้ได้รับคำชื่นชมยินดีจากผู้ใหญ่บางคนว่า เป็นเด็กว่านอนสอนง่าย เป็นเด็กดี เชื่อฟังผู้ใหญ่ แต่หากเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ โดยที่เด็กขาดการพัฒนาทักษะทางความคิด จนกลายเป็นเด็ก “คิดไม่เป็น” เมื่อเติบโตขึ้น ก็จะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่คิดไม่เป็น ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนรวม และประเทศชาติอย่างมากมายทีเดียว

สอนลูกให้เป็นผู้ฟังที่ดี และเปิดใจรับฟังเหตุผลของผู้อื่น

การเป็นผู้ฟังที่ดี และพร้อมจะเปิดใจรับฟังเหตุผลของผู้อื่น จะทำให้เด็กๆ มีความใจเย็น อดทน และเฝ้ารอได้อย่างสงบ และมีสติ ซึ่งจะทำให้ได้รับผล หรือคำตอบของการคิด วิเคราะห์อย่างชัดเจน และเป็นจริงที่สุด ซึ่งต่างจากการมีอคติในใจ ที่พร้อมจะโต้แย้ง เอาชนะ ความคิดและการกระทำที่เต็มไปด้วยอารมณ์เช่นนี้เอง จะทำให้เด็กๆ (หรือแม้แต่ผู้ใหญ่เองก็ตาม) ขาดวิจารณญาณ และความรอบคอบ ดังนั้นผลของคำตอบที่ได้รับจึงมักเป็นความผิดพลาดอยู่เสมอๆ

Critical Thinking Skill นับเป็นกระบวนการคิด ที่สามารถนำมาใช้ต่อยอดไปได้ในหลายๆ เรื่องราวของชีวิต จึงนับว่ามีความสำคัญกับทุกสังคม ทุกเพศ และทุกช่วงวัย โดยเฉพาะกับเด็ก ๆ ซึ่งหากพวกเขาได้เริ่มต้นเรียนรู้กระบวนการคิดแบบ Critical Thinking Skill เร็วเท่าไร โอกาสที่จะได้เติบโตขึ้นเป็นทรัพยากรบุคคล ที่เปี่ยมประสิทธิภาพ และทรงคุณค่าต่อสังคม ก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น และกระบวนการที่จะปลูกฝังให้เด็กๆ มี Critical Thinking Skill ได้ดีที่สุดก็คือ การฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ นั่นเอง


waayu

322,535 views

(นามปากกา : วายุ, วิสัชนา, อารีรัตน์) ชอบปลูกต้นไม้ อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ และวาดรูป เคยเป็นครูอนุบาล ครูประถม ครูมัธยมต้น ครูสอนจินตคณิต(สมาร์ทเบรน) มีงานเขียนพ็อกเก็ตบุ๊ค และ E-book ที่ mebmarket.com Facebook

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save