• HOME
  • BLOG
  • โรค
  • ลูกนอนกรน อันตรายไหม แบบไหนควรพบแพทย์

ลูกนอนกรน อันตรายไหม แบบไหนควรพบแพทย์

ลูกนอนกรน อันตรายไหม แบบไหนควรพบแพทย์
โรค

Last Updated on 2023 03 24

พ่อแม่เคยสังเกตอาการเหล่านี้ในขณะลูกหลับไหมคะ ลูกนอนกรน ลูกนอนหายใจติดขัด หรือลูกนอนหายใจเสียงดัง เพราะอาจเป็นสัญญาณแรกของ ภาวะการนอนกรนในเด็ก และหากพบว่าลูกมีอาการมากกว่า 3 คืนต่อสัปดาห์ มีเสียงเงียบและหยุดหายใจตามมา แล้วยังปัสสาวะรดที่นอนด้วย นั่นอาจแสดงว่ามี ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ร่วมด้วย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างมาก พ่อแม่จึงจำเป็นต้องรู้วิธีการสังเกต เพื่อจะได้พาลูกไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงทีค่ะ

สารบัญ

ลูกนอนกรน ที่ควรได้รับการรักษา

อาการที่ลูกนอนกรนเป็นปัญหาที่พ่อแม่หลายคนมองข้าม และมักจะพบไม่บ่อยในเด็กเล็ก แต่ความจริงแล้วเป็นปัญหาที่อันตรายต่อสุขภาพของลูกถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

ภาวะนอนกรนจะพบในเด็กที่มีอายุระหว่าง 2 – 6 ปี เพราะเด็กวัยนี้จะมีต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ที่ทำให้เกิดการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจจนเกิดเสียงกรนที่เป็นภาวะอันตราย หรืออาจเป็นอาการนอนกรนที่เกิดจากโรคภูมิแพ้ ทำให้ต้องหายใจผ่านทางปาก จึงทำให้เกิดเสียงกรนเล็ก ๆ และเด็กก็จะมีอาการดีขึ้นเองเมื่อตื่น หากเป็นลักษณะนี้จะไม่ส่งผลที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของเด็กค่ะ

การนอนกรนในเด็ก

การนอนกรนในเด็กคล้ายกับการนอนกรนในผู้ใหญ่คือ เกิดจากการสั่นสะเทือนของโครงสร้าง ระบบทางเดินหายใจ เช่น ลิ้นไก่และเพดานอ่อนที่ตีบแคบทำให้เกิดเสียงกรน โดยหลัก ๆ แล้วการนอนกรนในเด็กนั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1.ภาวะการหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้น

(Pediatric Obstructive Sleep Apnea; OSA) ภาวะการหยุดหายใจนั้นจะทำให้ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดคั่งส่งผลให้ประสิทธิภาพการนอนลดลง จึงทำให้มีความผิดปกติทางพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกายและสติปัญญา เช่น ทำให้เติบโตช้า มีพฤติกรรมก้าวร้าว ซุกซนมากผิดปกติ (Hyperactive) บางรายอาจปัสสาวะรดที่นอน และส่งผลให้การเรียนแย่ลง หรือมีปัญหาการเข้าสังคมตามมาได้

2.การตีบของทางเดินหายใจส่วนต้น

เช่น จมูก ช่องคอ โคนลิ้น กล่องเสียง ซึ่งมักเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ ในขณะนอนหลับ จึงส่งผลให้ขาดออกซิเจนขณะหลับ และเกิดการทำงานอย่างหนักของระบบหัวใจและหลอดเลือด

สาเหตุ ลูกนอนกรน

สาเหตุที่ลูกนอนกรน อาจมาจากปัจจัยเหล่านี้

โรคอ้วนในเด็ก

แป้งและไขมันที่รับประทานเข้าไปจะไปสะสมบริเวณหลอดทางเดินหายใจ

ต่อมในร่างกายโต

จะพบต่อมทอนซิลหรือต่อมอะดีนอยด์โต โดยเฉพาะในเด็กที่เป็นหวัดบ่อย

จมูกอักเสบเรื้อรัง

ภาวะจมูกอักเสบเรื้อรังจากภูมิแพ้ เยื่อบุภายในบวมทำให้อุดตันทางเดินหายใจ

เกิดจากโรคบางชนิด

โรคทางสมองและกล้ามเนื้อทำงานไม่ดีมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ

มีความผิดปกติเกี่ยวกับโครงหน้า

โครงหน้าผิดปกติ เช่น คางสั้น หน้าแคบ

ลูกนอนกรน ผลข้างเคียง

หากพ่อแม่ได้ยินเสียง กรน เฮือก ๆ ฟี้ หรือหายใจแรงของลูกในขณะหลับอย่านิ่งนอนใจ เพราะอาจส่งผลข้างเคียงต่อร่างกาย พัฒนาการ และรวมไปถึงด้านอารมณ์ของลูกได้

เสี่ยงต่อพัฒนาการที่ผิดปกติ

ภาวะนอนกรนของลูก อาจส่งผลให้มีความผิดปกติทางพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกายและสติปัญญา

เสี่ยงต่อการเป็นเด็กสมาธิสั้น

อยู่นิ่งไม่ค่อยได้ เรียนรู้ช้า ผลการเรียนแย่ลง ส่งผลในระยะยาวทำให้ลูกไม่อยากไปโรงเรียน ไม่อยากเข้าสังคม

เติบโตช้า

ภาวะนอนกรนจากระบบทางเดินหายใจถูกปิดกั้น อาจส่งผลให้ลูกเติบโตช้า มีพฤติกรรมก้าวร้าวและซุกซนมากผิดปกติ

มีพฤติกรรมหลับในห้องเรียน

ภาวะนอนกรน สามารถส่งผลให้ลูกมีพฤติกรรมหลับในห้องเรียน เพราะนอนหลับไม่สนิทในช่วงกลางคืน ทำให้เกิดอารมณ์หงุดหงิด และมีปัญหาเข้ากับเพื่อนๆไม่ได้ เป็นเด็กมีโลกส่วนตัวสูง

เสี่ยงต่ออาการหัวใจโต

อาการกรนที่รุนแรงอาจทำให้มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เมื่อหยุดหายใจ ออกซิเจนในเลือดก็จะลดลง หากไม่ได้รับการดูแลรักษาและปล่อยไว้ในระยะยาว ส่งผลให้ลูกมีอาการหัวใจโต และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

มักปัสสาวะรดที่นอนกลางดึก

เด็กที่มีภาวะนอนกรนบางคนอาจจะมีอาการปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน หรืออาจปัสสาวะรดที่นอนเป็นประจำ

ลูกนอนกรน วิธีสังเกต และควรพบแพทย์

หากพ่อแม่สงสัยหรือไม่แน่ใจว่าลูกมีอาการนอนกรนหรือไม่ เขาจะมีพฤติกรรมที่แสดงออกมา ให้พ่อแม่สังเกตดูนะคะว่าลูกมีพฤติกรรมเหล่านี้หรือไม่ หากมีอาการเหล่านี้ควรพาลูกไปพบแพทย์ค่ะ

มีเหงื่อออกง่าย

หายใจเหนื่อยหอบตอนหลับ หน้าอกบุ๋ม คอบุ๋ม และท้องโป่ง เป็นอาการที่บ่งบอกถึงความผิดปกติของทางเดินหายใจ

ลูกปัสสาวะรดที่นอนบ่อย ๆ

และในช่วงกลางวันลูกหงุดหงิด เอาแต่ใจ หรือไม่เชื่อฟังพ่อแม่มากผิดปกติ อาจเป็นผลมาจากการที่ลูกมีอาการง่วงนอนเพราะหลับไม่สนิทให้ช่วงกลางคืนจึงพักผ่อนได้ไม่เพียงพอ

ฟังเสียงขณะที่ลูกหลับ

เช่น นอนกรนเสียงดัง และเสียงกรนดังเฮือก เหมือนคนขาดอากาศหายใจ และมีอาการสะดุ้งตื่นหลังได้ยินเสียงกรนของตัวเอง

สังเกตเสียงของลูกที่นอนกรน

ว่ามีเสียงกรนแบบขาด ๆ หาย ๆ หรือมีการหยุดหายใจไปชั่วขณะหรือไม่

ลูกนอนกรน รักษาอย่างไร

เมื่อสังเกตความผิดปกติของลูกในขณะหลับ หากเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าลูกมีภาวะนอนกรน พ่อแม่สามารถพาลูกไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการเบื้องต้นได้ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะใช้แบบสอบถามในการประเมินความรุนแรงของอาการ ถ่ายภาพรังสีเพื่อดูขนาดของต่อมอะดีนอยด์ว่ามีการโตหรือไม่ ตรวจดูโครงสร้างของกะโหลกศีรษะ ตรวจค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนขณะหลับ หรือตรวจการนอนหลับแบบเต็มรูปแบบ เพื่อนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้องในลำดับต่อไปค่ะ

ดังนั้น เรื่องลูกนอนกรนจึงไม่ใช่เรื่องที่ควรปล่อยผ่าน เพราะอาจมีความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งแอบแฝงมากับสัญญาณเหล่านี้ พ่อแม่จึงต้องหมั่นสังเกตอาการของลูก ทางที่ดีหากไม่แน่ใจควรเข้ารับการตรวจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้แพทย์วินิจฉัยและประเมินอาการดังกล่าวค่ะ


Mommy Gift

152,357 views

แม่น้องสปิน คุณแม่ฟูลไทม์ ที่เชื่อเรื่องการเลี้ยงลูกแบบธรรมชาติอย่างสมดุลทั้งภายใน-ภายนอก และเชื่อว่าลูกคือครู จึงทําให้สนใจความเป็นไปของผู้คน จิตวิทยาความสัมพันธ์ในครอบครัว และความสัมพันธ์ของมนุษย์กับธรรม(ะ)ชาติ ชื่นชอบการทำอาหาร งาน Handmade อ่านหนังสือ ปลูกต้นไม้ Facebook : Gift Bfive IG : spin_ramil

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save