ลูกสมาธิสั้น หรือแค่ซน แยกได้อย่างไร?

การเลี้ยงลูก

Last Updated on 2021 09 09

ลูก ๆ วิ่งเล่นกันทั้งวัน ขนาดเหงื่อออกยังนั่งพักนิ่ง ๆ ได้ไม่ถึง 3 นาที กินข้าวก็ยังนั่งไม่นิ่งเลย เดี๋ยวก็ลุกเดินไปหยิบของเล่น แบบนี้คือเรียกว่า เด็กซนตามวัยปกติ หรือ สมาธิสั้น กันแน่คะ แยกไม่ออก แม่โน้ตเชื่อว่ามีคุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนสงสัยและเกิดความกังวลในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก วันนี้เราจะไปทำความรู้จักกกับ 2 สิ่งที่ว่านี้กันค่ะ

เด็กที่ซนปกติ

โดยทั่วไปแล้วเด็กในแต่ละช่วงวัยจะมีสมาธิที่สั้นและยาวไม่เท่ากัน ดังนี้

เด็กเล็กในช่วงอายุไม่เกิน 1 ขวบ

  • จะมีสมาธิได้ไม่เกิน 2-3 นาที

ช่วงอายุ 1-2 ขวบ

  • จะมีสมาธิได้ประมาณ 3-5 นาที

ช่วงวัยอนุบาล

  • จะมีสมาธิได้ประมาณ 5-15 นาที

ช่วงประถมตอนต้น

  • จะเริ่มนานขึ้นเป็น 15-30 นาทีขึ้นไป

           จากข้อมูลข้างต้น คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตเห็นได้อย่างหนึ่งค่ะว่า เด็กโตจะมีสมาธิที่ยาวนานมากกว่าเด็กเล็ก ดังนั้น ไม่ควรเอาเด็กโตมาเปรียบเทียบกับเด็กเล็ก เพราะนอกจากจะไม่ได้ประโยชน์แล้ว ยิ่งเป็นการทำให้ตัวคุณพ่อคุณแม่กังวลไปอีกด้วยนะคะ

โรคสมาธิสั้น อาการ

           โรคสมาธิสั้น หรือ attention-deficithyperactivitydisorder (ADHD) เรียกได้ว่าเป็นภาวะบกพร่องในการทำงานของสมอง ที่จะสามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมที่แสดงออก 2 รูปแบบ ได้แก่

ขาดสมาธิที่จดจ่อ (Inattention)

เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น โน้ตจะยกตัวอย่างดังนี้ค่ะ

  • ไม่ตั้งใจฟัง หรือขาดความสนใจกับคู่สนทนาหรือสิ่งที่คู่สนทนาพูดด้วย หรืออาจจะฟังเป็นช่วง ๆ แต่ก็ไม่สามารถจับใจความที่คู่สนทนาพูด
  • มักไม่ชอบทำอะไรตามขั้นตอน หรือต้องมีลำดับขั้นแป๊ะ ๆ แต่มักจะทำแบบรวบรัด
  • ไม่ชอบจดจ่อ หรืออยู่นิ่ง ๆ กับกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งนาน ๆ
  • ไม่ชอบการเรียนรู้ที่ต้องใช้เวลานาน ๆ เช่น การอ่านนิทานยาว ๆ อ่านหนังสือเรื่องยาว หรือการนั่งปั้นแป้งโดว์อยู่กับที่นาน ๆ 
  • ไม่สนใจในรายละเอียด ซึ่งรายละเอียดจะเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะทำให้เร่ืองนั้น ๆ สำเร็จ จึงทำให้เกิดความผิดพลาดแบบซ้ำ ๆ
  • มักลืมอุปกรณ์เครื่องใช้หรือของใช้ที่จำเป็น เช่น ลืมดินสอ ยางลบ หรือหนังสือ เมื่อไปถึงโรงเรียนแล้ว
  • บริหารเวลาไม่เป็น ทำให้เรียงลำดับความสำคัญก่อนและหลังไม่ได้
  • พยายามเลี่ยงและไม่ชอบงานที่ต้องใช้เวลาทำนาน ๆ เช่น การบ้านหรือการเขียนรายงาน
  • มักไม่ชอบที่จะอยู่ในกฎระเบียบหรือคำสั่ง เพราะจะรู้สึกอึดอัด เหมือนถูกตีกรอบ

อาการที่ไม่อยู่นิ่ง (Hyperactivity) และมีอาการหุนหันพลันแล่น (Impulsivity)

  • เด็กมัพูดไม่หยุด เห็นอะไรก็เอามาพูด เอามาเล่าได้ทุกเรื่อง
  • ไม่สามารถนั่งนิ่ง ๆ หรืออยู่กับที่นานๆ ได้ โดยเฉพาะเมื่อต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ เขาจะรู้สึกเบื่อ
  • มักเคลื่อนไหวเร็ว ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา เช่น วิ่งบ้าง เดินบ้าง
  • ไม่ชอบการรอคอย เมื่อไหร่ที่ต้องให้รอ จะรู้สึกขัดใจและอึดอัด บางรายอาจมีอาการหงุดหงิด และอารมณ์เสีย
  • มักจะลุกออกจากที่นั่งบ่อย ๆ เช่น ออกนอกห้องเรียน หรือเดินเล่นในครัว หรือไม่ก็ออกไปวิ่งเล่นนอกบ้าน เป็นต้น
  • กระสับกระส่าย จนสังเกตได้ว่ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อสถานการณ์ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่จะสังเกตเห็นได้ชัด
  • ไม่สามารถทำงานอดิเรกหรือทำกิจกรรมแบบเงียบ ๆ คนเดียวได้ จะรู้สึกอึดอัด หรือกระสับกระส่าย
  • พูดแทรกหรือมีพฤติกรรมที่รบกวนผู้อื่นในขณะที่กำลังทำกิจกรรมอยู่

อาการสมาธิสั้น รักษาอย่างไร?

หากคุณพ่อคุณแม่พาลูกไปปรึกษาคุณหมอแล้ว พบว่าลูกมีอาการของโรคสมาธิสั้น คุณหมอก็จะมีคำแนะนำที่คุณพ่อคุณแม่ควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ดังนี้ค่ะ

จัดตารางกิจกรรมประจำวัน

  • คุณพ่อคุณแม่สามารถจัดตารางกิจกรรมประจำวันของลูกได้ โดยให้เป็นตาราที่มีระเบียบแบบแผน เช่น เวลาไหนควรทำอะไร และควรให้เป็นไปตามนั้น
  • จัดบริเวณบ้านหรือจัดห้องให้สงบ

  • โดยที่คุณพ่อคุณแม่พยายามไม่ให้มีเสียงอื่น ๆ มารบกวนในเวลาที่ลูกต้องทำการบ้าน
  • แบ่งงานให้ลูกทำทีละน้อย

  • อาจเร่ิมจากงานบ้านง่าย ๆ ก่อนก็ได้ค่ะ แล้วคอยให้กำลังใจ ชื่นชมลูก
  • การสั่งงานลูก ควรดูจังหวะที่เหมาะสม

  • การที่จะมอบหมายงานอะไรให้ลูก คุณพ่อคุณแม่ควรดูว่าลูกพร้อมที่จะฟังหรือไม่ ควรเลือกเวลาให้เหมาะสมนะคะ เพื่อไม่ให้ลูกเกิดความรู้สึกว่าถูกกดดัน
  • ชื่นชมลูก เมื่อลูกทำงานได้สำเร็จ

  • แต่หากลูกนิ่ง ๆ เมินเฉยต่องาน ให้คุณพ่อคุณแม่ใจเย็น ๆ ก่อนนะคะ อย่าเพิ่งหัวร้อน ช่วยเค้าทำในบางช่วงสลับกับให้เค้าได้ลองเอง จนงานสำเร็จ
  • หากิจกรรมเบี่ยงเบนความสนใจเมื่อเห็นว่าลูกเริ่มอยู่ไม่นิ่ง

    เมื่อลูกเริ่มจะมีอาการอยู่ไม่นิ่ง ให้คุณพ่อคุณแม่เบี่ยงเบนความสนใจด้วยการหากิจกรรมอื่นทำแทน

    ใช้พลังการอยู่ไม่นิ่งของลูกให้เป็นประโยชน์

  • เช่น ทำงานบ้าน เริ่มจากง่ายๆ ก่อน เช่น กวาดบ้าน หรือรดน้ำต้นไม้ เป็นต้น
  • เป็นต้นแบบที่ดีให้ลูกดู

  • พ่อแม่เป็นต้นแบบที่ดีให้ลูกก่อน เช่น มีวินัย รู้จักการรอคอย ใจเย็น อดทน และการทำกิจกรรมที่ต้องอาศัยเวลานาน ๆ ลูกจะเห็นและทำตามได้ค่ะ
  • พูดคุยกับครูอยู่เสมอ

  • เพื่อช่วยกันปรับพฤติกรรมลูกเมื่อลูกอยู่ที่โรงเรียน ซึ่งทางบ้านและโรงเรียนควรจับมือช่วยกัน ไม่ยกให้เร่ืองนี้เป็นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ต้องแก่ไข
  • แต่ไม่ว่าลูกจะเป็นเด็กที่ซนปกติหรือจะเป็นโรคสมาธิสั้นก็ตาม สิ่งที่ลูกต้องการคือ “การมีคุณพ่อคุณแม่ที่เข้าใจ ให้กำลังใจ และคอยอยู่เคียงข้างเขาไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์” สิ่งนี้จะทำให้เค้าเติบโตมาเป็นเด็กดีและมีคุณภาพค่ะ


    Mommy Note

    3,127,045 views

    คุณแม่ลูกหนึ่ง ที่ใช้วิธีการเลี้ยงลูกแบบ "Tradigital" แบบดั้งเดิมผสมผสานกับความดิจิทัลในยุคปัจจุบัน เน้นเลี้ยงลูกให้เป็นคนธรรมดาที่มีสุข ติดต่องานได้ที่ e-mail : simplymommynote@gmail.com

    Profile

    Pickup posts

    Related posts

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

    Privacy Preferences

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    Allow All
    Manage Consent Preferences
    • คุกกี้ที่จำเป็น
      Always Active

      ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

    • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

      คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

    Save