Site icon simplymommynote

มดลูกเข้าอู่กี่วัน อาการผิดปกติของมดลูกเป็นอย่างไร?

มดลูกเข้าอู่กี่วัน อาการผิดปกติของมดลูกเป็นอย่างไร

“มดลูกเข้าอู่คืออะไร? มดลูกเข้าอู่กี่วัน? อาการผิดปกติของมดลูกเป็นอย่างไร?”

หลากหลายคำถามที่ถาโถมเข้าใส่คุณแม่หลังคลอด จนบางครั้งพาให้เครียด และวิตกกังวล จนกลายเป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ดังนั้นหากมีการเตรียมพร้อมสำหรับการรับมือกับสถานการณ์หลังคลอดไว้แต่เนิ่นๆ ก็น่าจะช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลายความเครียด สามารถดูแลตนเอง และสังเกตอาการผิดปกติของมดลูกได้ โดยไม่ต้องวิตกกังวลอีกต่อไป…

ระยะหลังคลอด (Postpartum period) คือช่วงไหน?

ระยะหลังคลอด (Postpartum period) คือช่วงเวลานับตั้งแต่ที่คุณแม่คลอดบุตร ไปจนถึง 6 สัปดาห์ (ส่วนใหญ่ถือเอาระยะ 4 – 6 สัปดาห์ เป็นเกณฑ์) โดยช่วงนี้จะเป็นเวลาที่อวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายของคุณแม่เกิดการเปลี่ยนแปลง กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ก่อนจะมีการตั้งครรภ์ ซึ่งคุณแม่แต่ละท่านอาจจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกาย และจิตใจของคุณแม่แต่ละท่านเป็นสำคัญ โดยคุณหมอจะนัดให้มีการตรวจสุขภาพภายหลังการคลอดบุตรไปแล้ว 6 สัปดาห์ และถือว่าการตรวจนี้ เป็นจุดสิ้นสุดระยะหลังคลอดด้วยเช่นกัน

ภาวะปกติของคุณแม่หลังคลอดเป็นอย่างไร

ภาวะปกติของคุณแม่หลังคลอด เป็นสิ่งสำคัญที่จะบ่งบอกถึงสุขภาพ ความแข็งแรงของร่างกายคุณแม่ ที่พร้อมจะให้นมบุตร ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว สามารถสรุปภาวะปกติของคุณแม่หลังคลอดได้ดังนี้ คือ

ไม่ควรมีอาการปวดท้อง

แม้จะทดลองกดที่บริเวณหน้าท้อง ก็จะไม่รู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างใด

จะต้องไม่มีอาการปวดแผล

หรืออาการปวดหน่วงบริเวณทวารหนัก

น้ำคาวปลาที่ไม่มีเลือดออกมากจนผิดปกติ

และต้องไม่มีลักษณะเป็นก้อนเลือดอีกด้วย

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ >> น้ำคาวปลากี่วันหมด แบบไหนถึงเรียกว่าผิดปกติ ต้องพบแพทย์

จะมีอัตราการเต้นของหัวใจที่ปกติ

รวมไปถึงอุณหภูมิ ความดันโลหิต และชีพจรก็ควรอยู่ในเกณฑ์ปกติด้วยเช่นกัน

ไม่ควรมีอาการอักเสบของบาดแผล

ทั้งแผลฝีเย็บ และแผลผ่าคลอด ซึ่งจะต้องไม่มีอาการปวด หรือบวมร่วมด้วย

ไม่ควรมีก้อนแข็งที่หน้าท้อง

เมื่อคุณแม่ทดลองคลำดูจะไม่พบก้อนแข็งที่หน้าท้อง

มดลูกควรอยู่ในตำแหน่งปกติ

นั่นคือลักษณะของมดลูกจะหดตัวแข็ง ยอดมดลูกจะอยู่ต่ำกว่าสะดือ

มดลูกหลังคลอด

มดลูกที่อยู่ในร่างกายของผู้หญิงทุกคน นับเป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะสามารถยืดขยาย และรองรับน้ำหนักตัวของทารกไว้ได้อย่างเหนียวแน่นและมั่นคงแล้ว มดลูกยังทำหน้าที่ปกป้อง และให้ความอบอุ่นแก่ทารกน้อยในครรภ์อีกด้วย ซึ่งตามปกติแล้วในระยะ 9 เดือนของการตั้งครรภ์ ก่อนคลอด มดลูกจะสามารถรองรับน้ำหนักของทารกได้ถึง 1,000 กรัม ต่อเมื่อมีการคลอดบุตรเกิดขึ้น มดลูกก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงกลับสู่ภาวะปกติอีกครั้ง โดยจะเริ่มหดตัวลงอย่างช้าๆ ตั้งแต่ 2 วันแรกหลังการคลอดบุตร จากนั้นมดลูกก็จะค่อยๆ หดตัวลงเรื่อยๆ ประมาณวันละ 1 เซ็นติเมตร และเมื่อถึงระยะ 6 สัปดาห์หลังตลอด มดลูกที่เข้าอู่ดีแล้ว ก็จะมีน้ำหนักลดลงเหลือเพียงประมาณ 50 กรัมท่านั้น หรืออาจเทียบเท่ากับมดลูก ในช่วงเวลาก่อนที่คุณแม่จะต้องครรภ์ นั่นเอง

มดลูกเข้าอู่ช้า (อาการที่สังเกตได้)

โดยปกติแล้วภายหลังคุณแม่คลอดบุตร มดลูกจะเข้าอู่ในระยะเวลาประมาณ 6 สัปดาห์หลังคลอด แต่ในคุณแม่บางราย มดลูกอาจเข้าอู่ช้ากว่ากำหนด ซึ่งสามารถสังเกตอาการที่ทำให้มดลูกเข้าอู่ช้าได้ดังนี้ คือ มีอาการไข้ มีอาการปวดท้อง มีน้ำคาวปลาออกมามากผิดปกติ แผลฝีเย็บ หรือแผลผ่าตัดมีอาการบวม อักเสบ

เช็คได้อย่างไรว่ามดลูกเข้าอู่แล้ว

วิธีเช็คว่ามดลูกเข้าอู่แล้วหรือยัง สามารถตรวจสอบได้โดยการตรวจภายในโดยสูตินรีแพทย์ ซึ่งตามปกติแล้วมดลูกจะเข้าอู่ในระยะเวลาประมาณ 6 สัปดาห์นับจากวันคลอด โดยคุณแม่สามารถสังเกตอาการที่บ่งบอกถึงภาวะมดลูกเข้าอู่ได้ด้วยตนเองดังนี้

แต่หากเลยระยะ 2 สัปดาห์ไปแล้ว คุณแม่ยังคลำพบก้อนแข็งที่หน้าท้องอยู่อีก นั่นแสดงว่ามดลูกเข้าอู่ช้า ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากมีเศษรก หรือเยื่อหุ้มทารกติดค้างอยู่ในมดลูก หรืออาจมีก้อนเนื้องอกอยู่ในมดลูก การตึงตัวของมดลูกไม่ดี เช่น มีการยืดขยายมากเกินไป ทำให้การหดตัวของมดลูกไม่ดี (เช่น การที่คุณแม่ตั้งครรภ์ลูกแฝด เป็นต้น)

วิธีที่ทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว

วิธีทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

ให้ลูกเข้าเต้า เมื่อเขาต้องการ

วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายอีกวิธีหนึ่งค่ะในการที่จะทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว คือ การให้ลูกเข้าเต้าทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง เพราะขณะที่ลูกเข้าเต้าหรือดูดนมนั้น มดลูกจะมีการบีบตัวไปด้วย ก็จะส่งผลให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็วขึ้น

การอยู่ไฟ

ความร้อนจากการอยู่ไฟจะเป็นการช่วยขับของเสียออกมา อาทิ น้ำคาวปลา ทำให้แผลฝีเย็บแห้งไว ที่สำคัญ ความร้อนจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดได้ดี ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส ลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้อีกด้วย

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง >> อยู่ไฟหลังคลอด จำเป็นไหม? ควรระวังอะไรบ้าง

การนวดประคบสมุนไพร

โดยทั่วไปแล้วการนวดประคบสมุนไพร มักจะทำหลังจากที่นวดเสร็จแล้ว เนื่องจากรูขุมขนเปิดกว้างทำให้ได้รับสมุนไพรจากลูกระคบได้ดี ความร้อนจะช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ เอ็น รวมถึงข้อต่อขณะที่คุณแม่คลอดลูกได้ การประคบสมุนไพรยังช่วยขับน้ำคาวปลาได้อีกด้วยนะคะ

การนั่งอิฐ นั่งถ่าน

เริ่มจากการนำอิฐ นำถ่านไปเผาไฟให้ร้อน จากนั้นโรยด้วยสมุนไพร เมื่อตัวยาโดนความร้อนก็จะกลิ่นที่พวยพุ่งขึ้นมา สัมผัสกับแผลผ่าคลอดและช่องคลอด ก็จะทำให้แผลนั้นหายเร็วยิ่งขึ้น

ดื่มน้ำอุ่นให้มาก

ระหว่างวันให้คุณแม่พยายามทำร่างกายให้อบอุ่น ด้วยการดื่มน้ำอุ่นค่อนข้างมากสักหน่อย เพราะการดื่มน้ำอุ่นสามารถทำให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็ว และทำให้น้ำนมคุณแม่ไหลได้สะดวกอีกด้วยค่ะ

มีเพศสัมพันธ์

เนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์ทำให้ฮอร์โมนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมดลูกมีการบีบรัดตัวทำให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็วค่ะ

การที่ผู้หญิงคนหนึ่งจะเป็นแม่ของลูกได้นั้น ต้องอาศัยทั้งพลังกาย และพลังใจเป็นอันมาก อีกทั้งยังต้องประกอบไปด้วยความกล้าหาญ และอดทนอย่างเยี่ยมยอด เพราะตลอดระยะเวลาตั้งแต่การอุ้มท้อง 9 เดือน จนกระทั่งถึงระยะหลังคลอด ในอีก 6 สัปดาห์ต่อมา คุณแม่จะต้องทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจ เพื่อที่จะทำทุกๆ วิถีทางให้ลูกน้อยของตนเองสมบูรณ์แข็งแรงที่สุด ต่อเมื่อการคลอดบุตรสิ้นสุดลง คุณแม่ก็ยังไม่หมดภาระหน้าที่ ที่จะต้องดูแลตนเองหลังคลอด ไปพร้อมๆ กับการดูแลลูกน้อยด้วยเช่นกัน จึงอาจเรียกได้ว่า คุณแม่คือวีรสตรีที่กล้าหาญที่สุดคนหนึ่งก็ว่าได้!

Exit mobile version