Site icon simplymommynote

เด็กหลอดแก้ว (IVF) ทางเลือกของผู้ที่มีบุตรยาก

เด็กหลอดแก้ว (IVF) ทางเลือกของผู้ที่มีบุตรยาก

เด็กหลอดแก้ว (IVF)

คู่รักบางคู่ที่แต่งงานกันมารอคอยการมีบุตรมาหลายปี ลองกันมาหลายวิธีและสารพัดจะดูแลตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์เพิ่มสเปิร์มเสริมความแข็งแรงของไข่ นับวันไข่ตก หรือแม้แต่การเช็คความพร้อมร่างกายในการมีบุตรของทั้งคู่แล้วก็ตาม นั่นอาจเพราะมีโอกาสเสี่ยงเป็นภาวะผู้มีบุตรยากก็ได้ค่ะ ซึ่งมาจากหลายสาเหตุ เช่น ร่างกายไม่แข็งแรง อายุเยอะ หรือแม้แต่ตรวจแล้วไม่พบสาเหตุ การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้คู่รักสามารถมีบุตรได้ แต่การทำเด็กหลอดแก้วนั้นมีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง รวมไปถึงมีความเสี่ยงด้านใดหรือเปล่า วันนี้กิฟท์มีข้อมูลมาฝากค่ะ

เด็กหลอดแก้ว (In Vitro Fertilization) คืออะไร?

เด็กหลอดแก้ว (IVF) เป็นวิธีรักษาภาวะมีบุตรยากแบบปฏิสนธิภายนอกร่างกายอีกวิธีหนึ่ง ด้วยการนำไข่ของฝ่ายหญิงและอสุจิของฝ่ายชายไปผสมในภาชนะหรือหลอดทดลองในห้องปฏิบัติการ เมื่อเกิดการปฏิสนธิแล้ว แพทย์จึงนำตัวอ่อนที่ได้มาเพาะเลี้ยงต่อจนอายุ 3-5 วัน แล้วจึงใส่กลับเข้าไปเพื่อให้ฝังตัวภายในมดลูกของฝ่ายหญิงเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป

การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) เหมาะกับใครบ้าง?

เริ่มแรกคุณหมอต้องทำการตรวจร่างกาย และซักประวัติเกี่ยวกับการรักษาก่อนหน้าค่ะ ซึ่งคู่สมรสที่เข้าข่ายจะต้องเป็นคู่สมรสที่…

เด็กหลอดแก้ว (IVF) มีอัตราความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน?

การทำเด็กหลอดแก้วมีโอกาสตั้งครรภ์สำเร็จ คิดเป็นอัตราส่วนในกลุ่มผู้หญิงอายุ 34 ปีลงมา อยู่ที่ 30-40% ในการถ่ายฝากตัวอ่อนครั้งแรก และอัตราการเกิดลดต่ำลงมากในกลุ่มผู้หญิงที่อายุมากกว่า 35 ปี เพราะคุณภาพของไข่ฝ่ายหญิงจะเปลี่ยนแปลงตามอายุ และอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น มีมดลูกไม่แข็งแรงหรือมดลูกทำงานผิดปกติ หรือมีปัญหาสุขภาพร้ายแรงและเป็นอันตรายหากตั้งครรภ์

การเตรียมตัวก่อนทำ เด็กหลอดแก้ว (IVF)

ก่อนที่จะเข้ารับการรักษาด้วยวิธีเด็กหลอดแก้ว (IVF) คู่รักควรเตรียมตัว ดังนี้

การเตรียมตัวสำหรับฝ่ายหญิง

การเตรียมตัวสำหรับฝ่ายชาย

ความเสี่ยงในการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF)

การรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธีการทำเด็กหลอดแก้ว มีโอกาสที่จะไม่ประสบความสำเร็จในครั้งแรกที่ และยังมีความเสี่ยงอื่นๆ ด้วย เช่น

ความเครียด

การทำเด็กหลอดแก้วนั้นสามารถส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกาย สภาพจิตใจ และสภาวะทางการเงินของคู่สมรส จึงเป็นสาเหตุของความเครียดได้ ดังนั้นคู่สมรสควรได้รับกำลังใจจากครอบครัว บุคคลใกล้ชิด และสามารถเข้ารับการปรึกษาจากคุณหมอ ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักบำบัดได้เพื่อช่วยปรับสภาพจิตใจให้ไม่วิตกกังวลจนเกินไป

ผลข้างเคียง

จากการใช้ยาในระหว่างกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วและการถ่ายฝากตัวอ่อนส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ปวดหัว ร้อนวูบวาบ กระสับกระส่าย รู้สึกไม่ดี หงุดหงิด เป็นต้น

อาการรังไข่ตอบสนองต่อการกระตุ้นมากเกินไป

การได้รับฮอร์โมนกระตุ้นที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ (Human Chorionic Gonadotropin: HCG) มากเกินไป อาจทำให้รังไข่บวมและสร้างความเจ็บปวดได้ โดยจะมีอาการ เช่น ปวดท้อง ท้องอืด แน่นท้อง หายใจลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง เป็นต้น

ตั้งครรภ์ลูกแฝด

ในการทำเด็กหลอดแก้วบางรายมีการถ่ายฝากตัวอ่อนมากกว่า 1 ตัว จึงอาจเกิดการฝังตัวที่ผนังมดลูกและตั้งครรภ์ลูกแฝดได้ ส่งผลให้เด็กอาจคลอดก่อนกำหนดและน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย

คลอดก่อนกำหนดและน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย

มีความเสี่ยงที่เด็กที่เกิดจากการทำเด็กหลอดแก้วอาจคลอดก่อนกำหนดและมีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย

แท้งลูก

อัตราการแท้งลูกของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์เด็กหลอดแก้วอยู่ที่ 15-25% โดยอัตราจะแปรผันเพิ่มมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มมากขึ้นของผู้ที่ตั้งครรภ์

ภาวะแทรกซ้อนจากกระบวนการเก็บไข่

ในขั้นตอนการเก็บไข่ ทั้งการใช้ยาสลบ ยาชา หรือที่แพทย์ต้องใช้เข็มดูดเอาไข่ออกมาอาจทำให้เกิดแผล มีเลือดไหล เกิดการติดเชื้อ หรือสร้างความเสียหายต่อลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ และเส้นเลือดในบริเวณใกล้เคียงได้

ตั้งครรภ์นอกมดลูก

ตัวอ่อนที่ใส่กลับเข้าไปอาจเกิดการฝังตัวผิดตำแหน่งไปฝังตัวที่บริเวณท่อนำไข่แทนที่จะฝังตัวและเจริญเติบโตภายในมดลูก ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ เกิดภาวะการตั้งครรภ์หรือท้องนอกมดลูกได้ แต่มีอัตราความเสี่ยงที่จะเกิดการตั้งครรภ์ในลักษณะนี้เพียง 2-5% เท่านั้น

พิการแต่กำเนิด

เป็นผลที่เกิดจากความเสี่ยงที่ผู้เป็นแม่ตั้งครรภ์เมื่อมีอายุมาก แต่ยังไม่มีงานวิจัยสนับสนุนว่าการทำเด็กหลอดแก้วจะเพิ่มความเสี่ยงที่เด็กจะพิการแต่กำเนิดมากขึ้น

ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF)

ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้วอาจมีความแตกต่างกันในแต่ละคลินิกหรือสถานพยาบาล แต่มีวิธีการหลัก ๆ ดังนี้

ขั้นตอนของฝ่ายหญิง

ขั้นที่ 1 การควบคุมรอบเดือน และ กระตุ้นการตกไข่

คุณหมอจะให้ฮอร์โมนกระตุ้นการผลิตไข่ (Follicle-Stimulating Hormone: FSH) โดยที่ฝ่ายหญิงสามารถฉีดได้เองทุกวันที่บ้านเป็นเวลาประมาณ 10-12 วัน เพื่อเพิ่มการผลิตไข่ให้ได้จำนวนไข่มากขึ้น และเพิ่มโอกาสในการเลือกไข่ที่สมบูรณ์ที่สุดเมื่อผสมกับอสุจิของฝ่ายชาย และคุณหมออาจให้ฉีดยาป้องกันการตกไข่ก่อนเวลาอันควรร่วมด้วย เป็นการเพิ่มโอกาสในการเลือกไข่ที่สมบูรณ์ที่สุด

ขั้นที่ 2 ตรวจความคืบหน้า

คุณหมอจะตรวจความคืบหน้าหลังจากที่ฉีดฮอร์โมนกระตุ้นการผลิตไข่ ด้วยการตรวจอัลตราซาวด์เพื่อดูจำนวนและขนาดของไข่หรือตรวจเลือดเพื่อดูปริมาณฮอร์โมนในร่างกาย และจะฉีดฮอร์โมนเข็มสุดท้ายเมื่อไข่เจริญเติบโตเต็มที่เพื่อกระตุ้นให้ไข่ตก ประมาณ 34-38 ชั่วโมงก่อนการเก็บไข่

ขั้นที่ 3 เก็บไข่

คุณหมอจะนัดฝ่ายหญิงให้มาเก็บไข่ เป็นการผ่าตัดเล็กจะให้ยาชาหรือยาสลบก่อน แล้วจึงใช้เข็มดูดไข่ออกมาผ่านทางช่องคลอด โดยที่หมอจะดูภาพผ่านอัลตราซาวด์ และขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที

ขั้นที่ 4 ผสมไข่กับอสุจิ

ภายหลังการเก็บไข่ คุณหมอจะให้ยาฮอร์โมนแก่ฝ่ายหญิงเพื่อเตรียมผนังมดลูกให้พร้อมรับการตั้งครรภ์ อาจเป็นในรูปแบบสอดในช่องคลอด เจล หรือยาฉีด จากนั้นหมอจะนำไข่ที่เก็บจากฝ่ายหญิงกับสเปิร์มที่ได้จากฝ่ายชายไปผสมให้เกิดการปฏิสนธิในห้องปฏิบัติการ และตรวจผลว่ามีการปฏิสนธิหรือไม่หลังผ่านไป 16-20 ชั่วโมง หากมีการปฏิสนธิ ตัวอ่อนจะเติบโตในอุปกรณ์ของห้องปฏิบัติการ คุณหมอก็จะนัดให้คู่รักฝ่ายหญิงมาฉีดตัวอ่อนกลับเข้าไปให้ฝังตัวและเจริญเติบโตในมดลูกต่อไป

ขั้นที่ 5 ถ่ายฝากตัวอ่อน

ประมาณ 2-3 วันหลังการเก็บไข่ และการผสมไข่กับสเปิร์มจนปฏิสนธิจนกลายเป็นตัวอ่อนแล้ว คุณหมอจะเลือกตัวอ่อนที่แข็งแรงที่สุดแล้วฉีดกลับเข้าไปในมดลูกผ่านทางท่อที่สอดใส่ผ่านช่องคลอดไปถึงมดลูก ขั้นตอนนี้ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องได้รับยาชาหรือยาสลบแต่อย่างใด โดยปกติจะถ่ายฝากตัวอ่อนที่สมบูรณ์ที่สุดเพียงตัวเดียว แต่บางกรณีคุณหมออาจใส่ตัวอ่อนเพิ่ม แต่ไม่ควรเกิน 2 ตัวเพื่อลดโอกาสเกิดการตั้งครรภ์แฝด ทั้งนี้จำนวนตัวอ่อนที่ใส่เข้าไป คุณหมอและคู่รักควรจะทำการตัดสินใจร่วมกัน ภายหลังจากถ่ายฝากตัวอ่อนเสร็จเรียบร้อยสามารถกลับบ้านและใช้ชีวิตได้ตามปกติ ยกเว้นบางกรณีเท่านั้น

ขั้นตอนของฝ่ายชาย

ขั้นที่ 1 เก็บสเปิร์ม

ฝ่ายชายจะถูกเก็บสเปิร์มพร้อม ๆ กับช่วงที่เก็บไข่ของฝ่ายหญิง

ขั้นที่ 2 ล้างและปั่น

คุณหมอจะนำสเปิร์มที่ถูกเก็บแล้วมาล้างและปั่นเพื่อเลือกเสปิร์มที่สมบูรณ์และแข็งแรงที่สุด

แม่กิฟท์เองก็มีประสบการณ์การทำเด็กหลอดแก้วเช่นกันค่ะ ทำการถ่ายฝากตัวอ่อนถึง 2 ครั้งถึงประสบความสำเร็จ คิดว่าปัจจัยที่สำเร็จมาจาก ความสมบูรณ์ของตัวอ่อน การดูแลจิตใจตัวเองให้เบิกบาน เลือกทานอาหารที่ช่วยบำรุงตัวอ่อนอย่างโปรตีนไข่ขาว และพยายามไม่เคลื่อนไหวตัวเองมาก (ทั้งที่พยาบาลบอกว่าให้ทำตัวตามปกติ ) เน้นพักผ่อนเยอะๆ งดการเดินขึ้นลงบันไดบ่อยๆ เพราะคิดว่าไหนๆ ก็พยายามมาเยอะแล้วและเสียค่าใช้จ่ายมาเยอะด้วยเช่นกัน ครั้งนี้จึงพยายามดูแลตัวเองให้ดีที่สุดในทุกๆด้านจะได้ไม่เสียใจเพราะตัวเองได้ทำเต็มที่แล้วค่ะ

อ้างอิง pobpad.com, bumrungrad.com, vichaiyut.com

Exit mobile version