Site icon simplymommynote

วิธีเคาะปอดลูกน้อย ลดไอ ระบายเสมหะ พ่อแม่ทำได้เองที่บ้าน

เคาะปอด

สวัสดีปีใหม่ 2562 ค่ะ แม่โน้ตหายไปนานนิดส์ เพราะว่ามีงานเขียนงานคิดคอนเทนต์เยอะ บวกกับใกล้ปีใหม่ เลยหาโอกาสไปเที่ยวเพื่อชาร์ตแบตเตอรี่กันซักหน่อย

จะบอกว่าช่วงมกราคมนี้ อากาศยังเย็น ยังแปรปรวนอยู่พอสมควรนะคะ เด็กๆ ไม่สบายกันเยอะเลย มีไข้ ไอ จาม ไปตามๆ กัน

“อาการไอ” เป็นอะไรที่หายช้าสุด บางรายไอแห้ง บางรายไอแบบมีเสมหะ แต่หากลูกไอแบบมีเสมหะนานๆ คงไม่ดีแน่ แล้วคุณพ่อคุณแม่จะช่วยอะไรลูกได้บ้าง?

“การเคาะปอด” เพื่อช่วยระบายเสมหะให้ลูกนั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ที่บ้านนะคะ ผู้เขียนก็ใช้วิธีนี้เหมือนกัน พบว่าตอนกลางคืนจากที่เคยไอแบบนอนไม่ได้กันทั้งบ้าน พอหลังจากเคาะปอดให้ลูก ลูกหลับยาวขึ้นและไอน้อยลง วันนี้แม่โน้ตมีวิธีการและรายละเอียดมาฝากค่ะ

สาเหตุ“การไอ”

การไอเกิดจากการที่มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในระบบทางเดินหายใจ ร่างกายก็จะพยายามกำจัดออกด้วยการไอ แต่เนื่องจากเด็กเล็กยังไม่สามารถบ้วนเสมหะออกมาเองได้ ดังนั้น การเคาะปอดร่วมกับการจัดท่าเคาะปอดให้ถูกต้องก็จะเป็นกันช่วยลูกระบายเสมหะที่ติดออกมาได้

อาการไหนที่แสดงว่าต้องเคาะปอด

ท่าทางและวิธีการเคาะปอดลูก

ท่าระบายเสมหะพร้อมกับการเคาะปอด ท่าที่ 1

    • อุ้มลูกโดยให้ลูกหันหน้าเข้าหาอกของคุณพ่อคุณแม่ หัวพาดบ่าคุณพ่อคุณแม่ แล้วใช้มือโดยต้องทำมือให้เป็นอุ้ง นูนขึ้นมาเล็กน้อย (เหมือนเวลาเราจะถูกดีดมะกอก^^) ไม่ใช้มือแบนะคะ เคาะไปบริเวณด้านหลังเหนือกระดูกสะบักขึ้นไป
    • เลี่ยงการเคาะบริเวณกระดูกสะบัก

ท่าระบายเสมหะพร้อมกับการเคาะปอด ท่าที่ 2

    • ให้ลูกนอนหงาย ศีรษะหนุนหมอน ใช้ผ้าบางรองตรงส่วนหน้าอก ทำมือนูนเล็กน้อย เคาะระดับไหปลาร้าถึงไต้ราวนม
    • เลี่ยงการเคาะบริเวณกระดูกหน้าอก

ท่าระบายเสมหะพร้อมกับการเคาะปอด ท่าที่ 3

    • ให้ลูกนอนตะแคง ให้แขนลูกวางไปทางด้านหน้าเล็กน้อย เคาะบริเวณชายโครงด้านข้าง หรือต่ำจากรักแร้เล็กน้อย
    • และเคาะบริเวณด้านหลังต่ำจากกระดูกสะบักจนถึงชายโครงซี่สุดท้าย ให้เคาะทั้งน่านอนตะแคงซ้ายและขวา

หยุดเคาะทันที หากลูกมีอาการดังนี้

ข้อห้ามสำหรับการเคาะปอด

    • เคยมีประวัติกระดูกหักบริเวณทรวงอก
    • มีประวัติป่วยเป็นโรคมะเร็ง วัณโรคปอด
    • มีอาการหอบเหนื่อย ตัวเขียว
    • มีแผลเปิด หรือมีแผลหลังผ่าตัดที่ยังไม่หายดี
    • มีภาวะกระดูกผุ
    • มีภาวะเสี่ยงต่อการที่เลือดจะออกง่าย โดยสังเกตได้จากสีผิวที่เปลี่ยนไป สีปากคล้ำ หน้าซีด สัญญาณชีพผิดปกติ เช่น ไข้ขึ้นสูง หายใจเร็ว และมีความดันโลหิตสูง

ความถี่ในการเคาะปอด

เคาะปอด ช่วงเช้า

เพราะเป็นช่วงที่เสมหะคั่งค้างมาตลอดคืน เมื่อลกตื่นมาตอนเช้า จึงทำให้ลูกไอมาก การเคาะในช่วงเช้าจะเป็นการช่วยระบายเสมหะให้ลูกได้

เคาะปอด ก่อนเข้านอน

เพื่อให้ลูกได้หลับยาวขึ้น หายใจโล่งขึ้น หรือหากคุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้อีกครั้งในช่วงบ่ายก่อนลูกหลับกลางวันก็จะดีค่ะ จะช่วยให้เค้าไม่หายใจครืดคราด จะได้พักผ่อนอย่างเต็มที่

จะรู้ได้อย่างไรว่าเคาะได้อย่างถูกต้อง

สังเกตได้ง่ายมากค่ะ หลังจากที่คุณพ่อคุณแม่เคาะปอดให้ลูกน้อยแล้ว หากมาถูกทาง ลูกน้อยจะหลับได้นานขึ้น ไอน้อยลง อย่างของแม่โน้ตเห็นได้ชัดเลย จากที่คืนก่อนไอแบบแทบจะไม่ได้นอน แต่พอลองมาเคาะปอดดู เค้าหลับได้นานขึ้น ไอน้อยลง คุณพ่อคุณแม่ก็ได้พักมากขึ้นอีกด้วยค่ะ

Exit mobile version