Site icon simplymommynote

คิดนอกกรอบ จะสอนลูกอย่างไรให้คิดอย่างมีแบบแผน

การเรียนรู้วิชาใหม่ๆ นอกห้องเป็นสิ่งสำคัยสำหรับเด็กทุกคน แต่จะให้ดีพ่อแม่ควรทบทวนลูกๆ ด้วยเมื่ออยู่บ้าน เมื่อก่อนโน้ตชวนน้องมินมาอ่านพยัญชนะไทยให้ฟัง ซึ่งต้องบอกว่าไม่ว่าจะรุ่นไหน ๆ ก็ถูกสอนกันมาว่า ผ.ผึ้ง ม.ม้า พอเรามาสอนลูก เค้าก็อ่าน ผ.ผา ม.มิน บอกตรงๆ ว่าแว่บแรก เราคิดว่า…

“อ้าว…ทำไมไม่ ผ.ผึ้ง ทำไมไม่ ม.ม้า แต่พอมาคิดอีกที ก็ไม่มีอะไรผิดนะ เพียงแต่เค้าไม่อ่านกัน” สิ่งนี้เองที่ทำให้เราสะดุดคิดว่า “บางครั้งการที่ได้คิดได้ทำอะไรนอกกรอบก็ดีเหมือนกันนะ” แต่การจะคิดนอกกรอบได้ จะเป็นต้องเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ก่อนค่ะ มีอะไรบ้างไปติดตามกัน

ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) คืออะไร

ความคิดสร้างสรรค์ หรือ Creative Thinking คือ กระบวนการทำงานของสมองซีกขวา ซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการแสดงความรู้สึกต่างๆ ไม่ว่าดีใจ เศร้า เสียใจ รวมถึงความการมีความคิดสร้างสรรค์ คิดค้นไอเดียใหม่ ๆ หรือเราเรียกอีกอย่างว่า “การคิดนอกกรอบ” อย่างไรก็ตามความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับประสบการณ์ สภาพแวดล้อม การเรียนรู้ สังคมวัฒนธรรม รวมไปถึงลักษณะการเลี้ยงดูในแต่ละครอบครัวอีกด้วย การมีความคิดสร้างสรรค์หรือการคิดนอกกรอบนี้เองทำให้เราเกิดจินตนาการนำไปสู่การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆเพื่อตอบสนองความต้องการ และการแก้ไขปัญหาต่างๆ

สิ่งที่ควรรู้ก่อนคิดนอกกรอบ

แบบแผน กฎ กติกา และระเบียบที่ถูกต้อง

เราจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้กฎ กติกาและระเบียบที่ถูกต้องก่อน เพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งหมดว่ามีทางไหนที่จะทำให้เราคิดแตกต่างอย่างสร้างสรรค์และทำได้จริง แค่นี้เองค่ะ เทคนิคการสอนลูกให้คิดนอกกรอบอย่างมีแบบแผน เพียงแต่เรา “รู้สึก” ว่ากว่าเราจะคิดอะไรนอกกรอบได้ (เพื่อการทำได้จริงนั้น) เราต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ หรือจะเรียกอีกอย่างว่า “ไม่ทันใจ” 555 แต่เชื่อเถอะค่ะ อดเปรี้ยวไว้กินหวานดีกว่า

เทคนิคการสอนลูกให้คิดนอกกรอบ

กระบวนการคิดนอกสามารถฝึกฝนได้ตั้งแต่ยังเด็ก ที่สำคัญพ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกเพราะเด็กสามารถจนจำและเลียนแบบพฤติกรรมจากผู้ใหญ่ได้ หากต้องการฝึกให้ลูกเป็นคนมีความคิดนอกกรอบควรเริ่มที่คุณพ่อคุณแม่และนอกจากนี้ยังสามารถสอนลูกให้คิอนอกกรอบด้วยเทคนิคดังต่อไปนี้

ฝึกให้ลูกเป็นคนช่างคิด

ช่างสังเกตุ คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มต้นฝึกลูกได้ง่ายๆด้วยการลองตั้งคำถามกับลูกฝึกให้เค้าได้มีโอกาสลองตอบคำถาม หรือสังเกตุสิ่งต่างๆหรือชวนให้เด็กเกิดความอยากรู้อยากเห็นเพราะเมื่อเค้าอยากรู้อยากเห็นเด็กจะเริ่มคิด สงสัย และเกิดการตั้งคำถามตามมา

เปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้สิ่งใหม่

ทั้งสิ่งที่เค้าชอบทำและสิ่งที่เค้าคิดว่าอาจจะไม่ชอบ หรือไม่อยากทำเพื่อให้เค้าเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้มีโอกาสทำหลายๆอย่าง

ชวนลูกทำกิจกรรม

หากิจกรรมที่สามารถทำร่วมกับลูกๆได้เช่น การออกไปเที่ยว ทำอาหาร อ่านหนังสือ ฟังเพลง เป็นต้น นอกจากเป็นกิจกรรมกระชับความสัมพันธ์แล้ว ยังฝึกให้ลูกลองเรียนรู้สิ่งต่างๆจากของจริง และยังเป็นการฝึกให้ลูกๆปรับตัวเข้าสังคมอีกด้วย

ฝึกให้ลูกมีความรอบด้าน

นอกจากเสริมทักษะการเรียนรู้ให้ลูกแล้วยังช่วยให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งใหม่หลากหลายแนวนอกเหนือจากการเรียนรู้ทักษะด้านวิชาการ เช่นให้ลูกได้ลองทักษะด้าน ดนตรี กีฬา ศิลปะรวมถึงด้านอื่นๆ เป็นต้นเพื่อให้ลูกได้ลองสนุกกับสิ่งใหม่ๆในทุกวัน

รับฟังความเห็นของลูกอย่างเข้าใจ

พ่อแม่หลายคนอาจคิดว่าความคิดของลูกไม่สำคัญเพราะเป็นความคิดของเด็กๆ ทำให้เด็กๆไม่มีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นหรือไม่กล้าแสดงความคิดเห็นใดเพราะกลัวว่าเป็นสิ่งที่ผิดหรือไม่ควร ซึ่งเป็นการปิดกั้นโอกาสทางความคิดที่เป็นอิสระของลูกๆ

ประโยชน์ของการคิดนอกกรอบ

กระบวนการความคิดนอกกรอบ หรือการคิดแบบยืดหยุ่นนอกจากทำให้เรามีอิสระทางความคิดเกิดไอเดียใหม่ในการแก้ไข พัฒนาสิ่งต่างๆแล้ว รู้หรือไม่ว่าการคิดนอกกรอบมีประโยชน์กับพัฒนาการของเด็กๆ ไปดูกันเลยว่าประโยชน์ของการคิดนอกกรอบมีอะไรบ้าง

    • เกิดกระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆ ในการนําความคิดสร้างสรรค์มาพัฒนา
    • ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของสมอง ช่วยให้มีสติปัญญา ปฏิภาณไหวพริบเฉียบแหลมขึ้น
    • มีความสามารถและมีความพร้อมในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลง
    • มี Growth Mindset ในการเรียนรู้ที่เปิดกว้างและเป็นกลางมากยิ่งขึ้น
    • มีความกระบวนการทางความคิดกว้างขึ้นสามารถมองเหตุการณ์ต่างๆได้หลายแง่มุม
    • เกิดความสนุกสนานในการคิดค้น ทดลอง ประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆได้อยู่เสมอ
    • เสริมสร้างความเชื่อมัน ความมั่นใจ ความประทับใจ ให้กับตัวเอง
    • เป็นฉลาดคิด มีคสามารถในการเรียนรู้แก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างรอบคอบ

แล้ววันนั้น วันที่ลูกเราคิดนอกกรอบและทำได้สำเร็จ ลูกจะรักตัวเอง และเคารพตัวเองขึ้นมาอีกโขทีเดียว^^

Exit mobile version