Site icon simplymommynote

ลูกหายใจครืดคราด เกิดจากอะไร รักษาหรือแก้ไขอย่างไร

ลูกหายใจครืดคราด เกิดจากอะไร แก้ไขอย่างไร

ลูกนอนหลับได้คุณพ่อคุณแม่ก็สบายใจ แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามหากคุณพ่อคุณแม่ได้ยินเสียงลูกน้อยหายใจครืดคราด เอาละสิ…เกิดความกังวลซะแล้ว ลูกเป็นอะไร ลูกจะหลับสนิทไหม จะช่วยลูกได้อย่างไรดี และอีกคำถามร้อยแปดที่เข้ามาในหัว เอาเป็นว่าวันนี้แม่โน้ตมีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับสาเหตุที่ลูกหายครืดคราด พร้อมแนวทางการแก้ไขเบื้องต้นมาฝากค่ะ

ลูกหายใจครืดคราด เกิดจากอะไร แก้ไขอย่างไร

ดื่มนมมากเกินไป (Overfeeding)

ข้อนี้จะเกิดขึ้นได้บ่อยโดยเฉพาะในทารกแรกเกิด-3 เดือน เพราะลูกเพิ่งลืมตาออกมาดูโลก ยังต้องอาศัยเวลาในการปรับตัว ลูกอาจร้องไห้บ่อย จึงทำให้คุณแม่บางคนเข้าใจว่าทุกครั้งที่ลูกร้องไห้นั้น แปลว่าลูกหิว เมื่อเอานมเข้าปากลูกก็ดูดทุกครั้ง ซึ่งต้องบอกว่าเด็กทารกนั้น เมื่อเอาอะไรเข้าปากเขาจะเกิดปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติต่อสิ่งเร้าทุกครั้งค่ะ หรือที่เรียกว่า “ปฏิกิริยาสะท้อนกลับของทารก (Reflex)” นั่นเองค่ะ

ดังนั้น เมื่อลูกร้องแล้วให้นมลูกทุกครั้ง จึงส่งผลให้ลูกมีน้ำหนักมากขึ้นอย่างรวดเร็ว บางครั้งก็ส่งผลให้น้ำนมจากกระเพาะล้นมาอยู่ที่คอหอย ส่งผลให้ลูกหายใจครืดคราดนั่นเอง

วิธีแก้ไข ลูกดื่มนมมากเกินไป

เมื่อลูกร้องไห้ไม่ได้หมายความว่าลูกจะหิวเสมอไป คุณแม่สามารถพิจารณาได้จากช่วงเวลาปละปริมาณในการกินของลูกแต่ละครั้งก็ได้ค่ะ ถ้ารอบที่แล้วลูกกินเยอะ ผ่านไปอีกครึ่งชั่วโมง ลูกร้องอีก แบบนี้ไม่น่าจะใช้ร้องเพราะหิวแล้วค่ะ อาจต้องพิจารณาเหตุปัจจัยอื่น เช่น อากาศหนาวไปหรือเปล่า หรือเพราะลูกขับถ่าย เป็นต้น

อากาศแห้ง หรืออากาศเย็นเกินไป

แม้ว่าบางครอบครัวจะบอกว่าปกติเวลาที่นอนหลับก็เปิดแอร์อยู่แล้วทุกวัน แต่ในบางฤดูหรือบางวันที่มีฝนตกก็ทำให้อากาศเย็นลงได้ ลูกอาจหายใจครืดคราด หรือมีอาการฟึดฟัดได้ ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากความที่อากาศแห้งและเย็นจะเป็นตัวกระตุ้นเยื่อบุโพรงจมูก ส่งผลให้เกิดอาการบวม และด้วยปฏิกิริยาของร่างกายก็จะผลิตน้ำมูกออกมาเพื่อรักษาความชื้นในโพรงจมูกไว้ ซึ่งขณะที่ลูกนอน น้ำมูกก็จะไหลลงคอ ทำให้ลูกมีเสมหะได้

วิธีแก้ไข ไม่ให้อากาศแห้งหรือเย็นเกินไป

สิ่งแปลกปลอมติดในโพรงจมูก

เรื่องนี้เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่คงเคยได้ยินข่าวกันมาบ้างที่เด็กเล็กมักชอบเอาของเล่นยัดใส่จมูกแล้วติดอยู่ข้างใน เอาไม่ออก การเลือกของเล่นให้เด็กเล็กไม่ควรเป็นของเล่นที่ลูกสามารถกำได้มิด หรือของเล่นชิ้นส่วนเล็ก ๆ เพราะเมื่อของเล่นเข้าไปติดในโพรงจมูกแล้ว อาจทำให้ลูกหายใจครืดคราดได้ ให้คุณแม่สังเกตอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีน้ำมูกไหลมาข้างเดียว เดี๋ยวเป็น เดี๋ยวหาย น้ำมูกมีกลิ่น เพราะเริ่มมีหนองปนออกมา เสมหะไหลลงคอ ไอบ่อย ปวดจมูก ถอนหายใจบ่อย หรือหายใจทางปากตลอดเวลา

วิธีการป้องกัน และรักษา ไม่ให้สิ่งแปลกปลอมติดในโพรงจมูก

(ติดตามเพิ่มเติม >> ของเล่น ที่เป็นอันตรายต่อเด็กวัยอนุบาล”)

เกิดจากการแพ้อาหาร

แพ้อาหารก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกหายใจครืดคราดได้ อาการแพ้อาหารมีหลายอย่างค่ะ เช่น หายใจครืดคราด ตาบวม ปากบวม เป็นลมพิษ ผื่นภูมิแพ้ผวิหนัง ถ่ายเป็นเลือด ถ่ายเหลวรุนแรงหลายครั้ง และมีอาการคัดจมูก เป็นต้น

วิธีการรักษาอาการแพ้อาหาร

เกิดจากโรคหลอดลมอ่อนตัว (Laryngomalacia)

เป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด เนื่องจากกระดูกอ่อนของหลอดลมไม่แข็งแรง โดยปกติแล้วเมื่อเวลาที่เราหายใจเข้าออก กระดูกส่วนหลอดลมจะแข็ง จะไม่แฟ่บไปตามแรงหายใจเข้าออก แต่เด็กที่เป็นโรคนี้ คือ กระดูกอ่อนของหลอดลมมีการพัฒนากที่ช้ากว่าปกติ จึงทำให้เกิดเสียงครืดคราดได้

วิธีการรักษา โรคหลอดลมอ่อนตัว

เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

หากลูกหายใจครืดคราด พร้อมกับมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ซึ่งอาจเกิดจากเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย ส่งผลทำให้มีไข้ มีเสมหะ และคออักเสบ เมื่อหายจากอาการหวัดแล้ว ลูกอาจมีการหายใจครืดคราดอยู่บ้าง เนื่องจากเป็นการระบายเอาเสมหะออกมาซึ่งมักจะหายได้เองภายในประมาณ 2 สัปดาห์

วิธีการรักษา การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

เกิดภาวะกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease หรือ GERD)

ภาวะนี้เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดในหลอดอาหารที่อ่อนแรงกว่าปกติ ส่งผลให้น้ำนมหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาทางหลอดอาหาร ซึ่งอาจมาถึงช่วงคอ จึงทำให้ลูกมีเสียงครืดคราดเวลาหายใจ ซึ่งจะชัดมากเวลาที่ลูกดูดนม ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่วัยทารก วัยเด็ก และวัยผู้ใหญ่

แต่สำหรับภาวะกรดไหลย้อนในทารก ทารกมักจะมีอาการแหวะนม หงุดหงิด ร้องไห้ งอแง ไม่สบายตัว กลืนลำบาก หายใจลำบาก

วิธีการรักษา ภาวะกรดไหลย้อน

ด้วยสาเหตุที่ลูกหายใจครืดคราดนั้นเกิดได้จากหลายปัจจัย ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการของลูกน้อย ไม่ว่าจะหลังจากที่กินนม กินอาหาร หรือแม้แต่ขณะเล่นของเล่น หากเกิดเหตุการณ์อะไรที่ไม่แน่ใจหรือนอกเหนือจากสาเหตุที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แนะนำปรึกษาแพทย์ทันทีค่ะ

ข้อมูลอ้างอิง pobpad.com, พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ, paolohospital.com

Exit mobile version