ลูกน้อยขี้หงุดหงิด โมโหร้าย ขี้วีน จัดการอย่างไรดี

ลูกน้อยขี้หงุดหงิด โมโหร้าย ขี้วีน จัดการอย่างไรดี
การเลี้ยงลูก

คุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครองเคยสังเกตพฤติกรรมลูก ๆ หลาน ๆ หรือไม่ว่ามีอารมณ์วีน เหวี่ยง โมโหร้าย เกรี้ยวกราดบ่อยๆหรือไม่ พฤติกรรมเหล่านี้หากเกิดขึ้นบ่อยจนเป็นนิสัยอาจนำไปสู่ปัญหาต่างๆตามมา ดังนั้นผู้ปกครองควรสังเกตพฤติกรรมลูกหลานว่ามีอารมณ์เหล่านี้หรือไม่ หรือหากครอบครัวไหนที่กำลังประสบกับปัญหาลูกมีอารมณ์เกรี้ยวกราดแต่ไม่รู้จะรับมืออย่างไรดี วันนี้เรามีวิธีจัดการพร้อมการเรียนรู้พฤติกรรมเหล่านี้ของเด็กๆมาฝากทุกท่าน เพื่อเราจะเข้าใจและจัดการรับมือพฤติกรรมเหล่านี้ได้อย่างถูกวิธีโดยไม่กระทบต่อความรักความสัมพันธ์ในครอบครัว

ทำความเข้าใจพัฒนาการด้านอารมณ์แต่ละช่วงวัย

พัฒนาการด้านอารมณ์ คือ กระบวนการพัฒนาของจิตให้สามารถรับผิดชอบควบคุม แสดงออก ขัดเกลาของอารมณ์ให้เหมาะสมกับเวลา สถานที่ บุคคลเป็นต้น ซึ่งเด็กในแต่ละช่วงวัยมีพัฒนาการและการแสดงออกด้านอารมณ์ต่างกันไปด้วยปัจจัยหลายอย่างเช่น สิ่งแวดล้อม ลักษณะนิสัย การเลี้ยงดู การอบรมสั่งสอน เป็นต้น มาดูกันว่าพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของเด็กแต่ละช่วงวัยเป็นอย่างไรบ้าง

พัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กวัย 1 ปี

เด็ก ๆ วัยนี้จะเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง รับรู้การสื่อสารบางอย่างและการตอบโต้ตอบเช่นการพยักหน้า ชี้นิ้ว ปรบมือ เป็นต้นและเด็กวัยนี้เริ่มมีความกลัวบางอย่างเช่นเดียวกัน

พัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กวัย 2 ปี

เด็กวัยนี้เริ่มมีพัฒนาการด้านอารมณ์การรับรู้สิ่งต่างๆรอบตัวมากขึ้น สามารถแสดงอารมณ์ต่างๆเมื่อเจอเหตุการณ์บางอย่างเช่นดีใจ เสียใจ ร้องไห้ เรียกร้องความสนใจ เดาอารมณ์ยากเป็นช่วงวัยที่ไม่ค่อยมีเหตุผล ผู้ปกครองควรดูแลอย่างใกล้ชิดพร้อมตักเตือนอย่างมีเหตุผลเมื่อลูกมีพฤติกรรมก้าวร้าว

พัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กวัย 3 ปี

เป็นวัยที่มีการแสดงออกทางอารมณ์มากขึ้น ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ไม่มีเหตุผลต่อการกระทำและการแสดงออกทางความรู้สึก เป็นช่วงวัยแห่งการต่อต้านไม่ชอบการถูกบังคับ

พัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กวัย 4 ปี

เป็นวัยที่ชอบความท้าทาย ต้องการเป็นจุดเด่นเป็นที่สนใจ จึงมักแสดงอาการ อารมณ์บางอย่างเพื่อเรียกร้องความสนใจต่อการกระทำของตน หากมีพฤติกรรมก้าวร้าวจะแสดงออกว่าติอต้านไม่เชื่อฟังอย่างชัดเจน

พัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กวัย 5-6 ปี

เด็ก ๆ วัยนี้เริ่มมีเหตุผลมากขึ้นมีการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ลดความเอาแต่ใจยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางน้อยลงผู้อื่น ดังนั้นพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กวัยแรกเกิดจนถึง 6 ปีแรกสำคัญมาก เนื่องจากเขาจะจดจำ เลียนแบบพฤติกรรมด้านอารมณ์จากคนใกล้ตัว ผู้ปกครองต้องเป็นแบบอย่างที่ดีดูแลอย่างใกล้ชิด พร้อมแนะนำตักเตือนอย่างมีเหตุผล

พัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กวัย 6–12 ปี

เด็กในวัยนี้จะเริ่มมีความหลากหลายทางด้านอารมณ์ เริ่มมีพัฒนาการด้านอารมณ์คล้ายผู้ใหญ่ เช่นมีความโกรธ โลภ อิจฉา ก้าวร้าว ดีใจ เสียใจ กังวล สับสน เป็นต้น ดังนั้นเด็กในช่วงวัยนี้ผู้ปกครองต้องแนะนำการแสดงออกทางอารมณ์ต่างๆเมื่อต้องอยู่ในสังคมภายนอก หรือรู้จักการควบคุมอารมณ์ พฤติกรรมบางอย่างที่อาจส่งผลเสียต่อสังคม

พัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กวัยรุ่น 12–18 ปี

เด็กวัยนี้มักมีอารมณ์แปรปรวน อารมณ์ขึ้นลงได้ง่าย ปัจจัยมาจากหลายสาเหตุเช่น ฮอร์โมน สังคม สิ่งแวดล้อม เป็นต้น เป็นช่วงวัยที่ค่อนข้างเอาใจยากมีความอ่อนไหวทางอารมณ์ง่าย ต้องการความเข้าใจ  ใส่ใจเป็นพิเศษ ผู้ปกครองต้องพยายามพูดคุย ทำความเข้าใจ ให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด พร้อมรับฟังความต้องการ เหตุผลของเด็ก ๆ มากขึ้น ไม่ปิดกั้น และต่อต้านการแสดงความคิดเห็น

สาเหตุทำให้เด็กโมโหร้าย

เด็ก ๆ ที่แสดงอารมณ์ขี้หงุดหงิด วีน เหวี่ยง ก้าวร้าว ไม่มีเหตุผลสามารถเกิดได้หลากหลายปัจจัย ซึ่งส่งผลต่อการแสดงออกด้านรมณ์ของเด็ก มาดูกันว่ามีปัจจัยใดบ้างที่ทำให้เด็ก ๆ แสดงออกทางอารมณ์เช่นนี้

อาการเจ็บป่วย

เป็นอาการที่อาจส่งผลต่อร่างกายทำให้เกิดความเจ็บปวดบางอย่างรวมถึงอาการป่วยทางจิตอาทิ ออทิสติก ไบโพลาร์ สมาธิสั้น เป็นต้น หรือแม้แต่ความไม่สมดุลของโครงสร้างทางสมองและระบบประสาท จึงส่งผลให้เด็ก ๆ ขี้หงุดหงิด ซึมเศร้าได้ง่าย

สภาพจิตใจ

เกิดจากลักษณะนิสัย พฤติกรรมโดยพื้นฐานของตัวเด็กเป็นคนขาดความอดทน มีอารมณ์โกรธง่าย เจ้าอารมณ์ เป็นต้น

สภาพแวดล้อมการเลี้ยงดู

ครอบครัวเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญต่อการแสดงออกทางอารมณ์ของเด็ก เนื่องจากเด็กมักจดจำ เลียนแบบพฤติกรรมจากคนใกล้ชิดรอบตัว พื้นฐานการเลี้ยงดูของครอบครัวที่ใช้ความรุนแรง ผู้ปกครองเจ้าอารมณ์ โมโหร้าย ส่งผลต่อการพัฒนาด้านอารมณ์ของเด็กทั้งสิ้น

วิธีรับมือกับลูกโมโหร้าย

สำหรับผู้ปกครองท่านไหนที่กำลังประสบปัญหาลูกๆมีอารมณ์เหวี่ยง ขี้หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าว โมโหร้าย อย่างไม่มีเหตุผลมีดูวิธีรับมือกับพฤติกรรมเหล่านี้กับเด็ก ๆ กันค่ะว่าเราสามารถจัดการและรับมืออย่างไรเมื่อเจอสถานการณ์เหล่านี้

เตือนสติลูก

ทำให้ลูกรู้ตัวว่าตอนนี้ตัวเองกำลังโกรธ โมโหร้าย แสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีอยู่ โดยไม่ตวาด ตะโกนใส่ลูก และอาจใช้ภาษากายอย่างการกอดร่วมด้วย

ปล่อยเขาหยุดเอง

หากลูกแสดงอารมณ์โมโหขั้นรุนแรง กรีดร้องส่งเสียงดัง หรือนอนกับพื้นชักดิ้นชักงอ เพื่อเรียกร้องความสนใจ ให้ผู้ปกครองพูดเพื่อเตือนสติลูกด้วยน้ำเสียงหนักแน่นว่าไม่ควรแสดงพฤติกรรมเช่นนี้พร้อมให้หยุดพฤติกรรมนั้น ๆ จากนั้นมองเขาอยู่ห่าง ๆ และปล่อยให้ลูกหยุดการกระทำหรือพฤติกรรมนั้นเองเมื่อเขารับรู้ว่าไม่สามารถเรียกร้องความสนใจด้วยการแสดงพฤติกรรมเช่นนี้ได้เขาจะหยุดเอง

พูดคุยเมื่ออารมณ์สงบ

เมื่อลูกอารมณ์สงบลง ผู้ปกครองต้องพูดคุยถึงพฤติกรรมของลูกว่าไม่ควรทำแบบนี้เพราะอะไร พร้อมให้เหตุผลและผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำดังกล่าว

ลองใช้วิธีต่าง ๆ จัดการความโกรธ

สอนให้ลูกรู้จักอารมณ์ของตัวเองและจัดการควบคุมอารมณ์เมื่อรู้สึกโกรธ โมโห เช่นฝึกให้นับเลข การหายใจเป็นต้น

พฤติกรรมการแสดงออกทางอารมณ์ของเด็กในแต่ละช่วงวัยแตกต่างกัน ผู้ปกครองควรเป็นแบบอย่างที่ดี ให้การดูแลพร้อมคำแนะนำอย่างใกล้ชิด รวมถึงการพูดคุย แสดงความเข้าใจ ใส่ใจรับฟังความคิดเห็นของลูก และตักเตือนอย่างมีเหตุผลเมื่อลูกแสดงอารมณ์หรือพฤติกรรมก้าวร้าว เลี่ยงการใช้ความรุนแรงการลงโทษที่อาจทำให้เด็กเจ็บตัว อับอายเพราะอาจจะทำให้เกิดการต่อต้านและไม่เชื่อฟัง


Crazy Secret

71,619 views

นักเขียนหลากหลายแนวหลงไหลงานเขียน ไลฟ์สไตล์ ซีรีย์ รีวิว สัตว์เลี้ยง สุขภาพ ความงาม "Writer enjoy and hope will be reader happy" FB: The write เขียน ไป เรื่อย

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save