ลูกไม่ยอมกินข้าว ชวนทำความเข้าใจ พร้อมวิธีรับมือ

ลูกไม่ยอมกินข้าว-ชวนทำความเข้าใจ-พร้อมวิธีรับมือ
การเลี้ยงลูก

Last Updated on 2021 09 09

อาการลูกน้อยเบื่อข้าว ลูกไม่ยอมกินข้าว เชื่อว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่หลาย ๆ ครอบครัวกำลังเผชิญอยู่ แม้คุณแม่จะขู่ จะปลอบเท่าไหร่ลูกน้อยก็ไม่ยอมกินเสียที วันนี้แม่โน้ตจะชวนคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจถึงสาเหตุกันสักหน่อยก่อน ก่อนจะไปสู่เรื่องของการแก้ไขปัญหา เพื่อที่คุณพ่อคุณแม่จะได้แก้ไขปัญหากันได้อย่างตรงจุดค่ะ

สาเหตุที่ลูกไม่ยอมกินข้าว

ลูกไม่ยอมกินข้าว-ลูกเบื่ออาหาร

ลูกไม่ยอมกินข้าว สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายสาเหตุ ดังนี้

ลูกเลือกกิน

เนื่องจากอาจไม่ชอบเนื้อสัมผัสหรือกลิ่นของอาหารจานนั้น ๆ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตพฤติกรรมการกินของลูกว่าลูกกินหรือไม่กินอาหารอะไรบ้าง โดยมากแล้วเด็กที่เลือกกินหรือกินอาหารยากนั้น มักเกิดจากการที่ลูกไม่ได้ลองกินอาหารใหม่ ๆ ตั้งแต่เล็ก ๆ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเด็กบางคนจะเป็นเด็กที่เลือกกินแต่น้ำหนักตัวก็ยังคงเป็นไปตามเกณฑ์ หรือแม้แต่สารอาหารก็ยังคงได้รับอย่างครบถ้วน

ไม่ชอบลองอาหารใหม่

เด็กเล็กมักจะไม่ค่อยชอบลองอาหารใหม่ ๆ เพราะกลัวในเรื่องของรสชาติ และเนื้อสัมผัสที่ตัวเองไม่ชอบ ยกตัวอย่าง ถ้าลูกชอบกินผัดผักกะหล่ำปลีมาก แต่คุณแม่อยากให้ลองผักอื่น ๆ บ้าง คุณแม่อาจผัดผักกาดขาวแทน โดยที่มีส่วนผสมที่เหมือนกับผัดผักกะหล่ำปลีดู เริ่มจากอาหารที่มีลักษณะคล้ายกับจานเดิมที่ลูกชอบ แต่ให้เริ่มในปริมาณที่น้อย ๆ ก่อนก็ได้ค่ะ ประมาณ 3 ครั้ง/มื้อ ลูกน้อยก็จะเริ่มคุ้นเคยมากขึ้น

อาการแพ้อาหาร

เด็กเล็กมักจะเกิดอาการแพ้อาหารโดยร้อยละ 8 ที่มักมีอาการทันที ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นอาหารในกลุ่มนม ถั่วเหลือง ข้าวสาลี ไข่ ถั่วต่าง ๆ และอาหารทะเล เด็กที่แพ้จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ผื่นขึ้น รวมถึงมีอาการปวดท้อง เด็กเล็กจึงมักมีภาวะที่ร่างกายแพ้อาหาร รับบางอย่างไม่ได้ (Food Intolerance) ซึ่งจะต่างจากการแพ้อาหารทั่วไป ไม่ได้เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย เด็กที่แพ้อาหารแบบ Food Intolerance นี้มักจะแพ้แลคโตส ข้าวโพด หรือกลูเตน     ซึ่งจะมีอาการกรดในกระเพาะอาหาร ท้องร่วง และปวดท้อง อาการจะแสดงออกช้า และอาจมีการป่วยนานหลายชั่วโมงหรือหลายวัน
ข้อมูลอ้างอิง pobpad.com

โรคกลัวอาหาร

หรือ โฟเบีย (Phobias) คือ อาการที่เด็กหวาดกลัวต่ออาหาร กลัวว่าอาหารจะไม่ปลอดภัยต่อตัวเอง กลัวว่าอาหารจะทำให้ตัวเองป่วย กลัวว่าอาหารจะติดคอและสำลัก ซึ่งอาจเกิดขึ้นมาเองหรือมีความเกี่ยวเนื่องกับปัญหาความวิตกกังวลทั่วไปก็ได้

มีปัญหาด้านสุขภาพและจิตใจ

ให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตอย่างนี้นะคะว่าถ้าลูกใช้เวลาการกินข้าวนานกว่าปกติ ปฏิเสธอาหารบางประเภทที่กินง่าย เช่น นม ดูลูกมีความเครียดมากเมื่อถึงเวลาอาหาร สำลักอาหาร กลืนแล้วเจ็บคอ กลืนไม่ลง ท้องเสีย อาเจียน มีพัฒนาการที่ล้าช้า เหนื่อยหอบขณะกินอาหาร หากลูกมีปัญหาดังที่กล่าวมาข้อใดข้อหนึ่งหรือมากกว่านั้น ควรพาลูกไปปรึกษาแพทย์นะคะ เพราะลูกอาจมีการเจ็บป่วยทางร่างกายและจิตใจแล้วล่ะค่ะ

เกิดจากความเข้าใจผิดของคุณพ่อคุณแม่เอง

…ว่า ลูกกินน้อยจัง ทั้งที่ปริมาณอาหารก็เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายแล้ว สารอาหารก็ได้อย่างครบถ้วน เด็กกลุ่มนี้จะสังเกตได้จากน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์หรือมากกว่าเกณฑ์ ความสูงก็เป็นไปตามวัย

สาเหตุอื่น ๆ

  • ไม่ชอบเนื้อสัมผัสของช้อน เมื่อเข้าปากและแตะลิ้น
  • ไม่ชอบอาหารที่บดละเอียดเกินไป
  • รู้สึกอิ่ม หรือพะอืดพะอมเมื่อเห็นปริมาณอาหารในจานที่มากเกินไป
  • มีสิ่งเร้าอื่น ๆ รอบตัวเด็ก เช่น เสียงโทรทัศน์ หรือมีเด็กเล่นกันเสียงดังที่หน้าบ้าน เป็นต้น
  • ลูกไม่ชอบกลิ่นของอาหาร หรือกลิ่นของวัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหาร

แก้ไขปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าว

หลังจากที่คุณพ่อคุณแม่ได้รับรู้มาแล้วว่า มีสาเหตุอะไรบ้างที่ลูกน่าจะเป็น คราวนี้เราจะมาดูวิธีแก้ไขปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าวกันค่ะ

กินเป็นมื้อเป็นคราว

ถ้าลูกกินทั้งวันแบบนี้ลูกก็คงไม่หิวข้าวแน่นอน ดังนั้น หากลูกอยู่ในชั้นก่อนประถมศึกษา อาจจัดเวลาสำหรับของว่าง 2 รอบ เช่น 10:00 น. กับ 14:00 น. แต่ควรเป็นอาหารว่างที่มีประโยชน์ เลี่ยงขนมกรุบกรอบ

กำหนดเวลาการกินอาหารไม่เกิน 30 นาที

การกำหนดเวลากินนับเป็นการฝึกวินัยให้ลูก ถ้าเห็นลูกเล่นเพลินระหว่างกิน ให้คุณแม่เตือนลูกก่อน “ข้าวไม่ลดเลย แสดงว่าลูกไม่หิว ไม่งั้นแม่จะเก็บนะคะ แล้วค่อยกินข้าวกันอีกทีในมื้อถัดไปนะ” แต่ถ้าระหว่างนี้ลูกหิว ก็จัดของว่างตามเวลาที่กำหนดได้ แต่ถ้ายังไม่ถึงเวลา ให้คุณแม่หากิจกรรมอื่นทำ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจลูก

เลี่ยงอาหารหวาน

ลูกไม่ยอมกินข้าว-เลี่ยงอาหารหวาน

โดยเฉพาะก่อนมื้ออาหาร 1 ชั่วโมง ไม่อย่างนั้นลูกจะไม่หิวข้าว

ให้ลูกทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย

เด็กในวัยอนุบาลหรือวัยก่อนหน้า ควรมีกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย เช่น ได้วิ่งอย่างอิสระอย่างน้อยวันละ 60 นาทีขึ้นไป ยิ่งนานยิ่งดี เพราะจะทำให้ลูกหิวมากขึ้นค่ะ

ลูกอายุ 6 เดือน – 1 ปี ควรเริ่มอาหารตามวัย

อาหารเสริมลูกสามารถนำมาผสมกับนมแม่ได้ ไม่จำเป็นต้องปรุงรสชาติเพิ่ม เพื่อไม่ให้เด็กติดรสชาติเมื่อโต ซึ่งจะทำให้กินอาหารอื่น ๆ ได้ยากมาก

ให้ลูกได้กินอาหารด้วยตัวเอง

หากลูกสามารถหยิบอาหารเข้าปากได้เอง ควรให้ลูกกินเอง ไม่ต้องกลัวว่าจะเลอะค่ะ เพราะเลอะแน่นอน 555 แต่ลูกจะได้เรียนรู้ ได้ฝึกพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก (มือ) และสายตาให้ทำงานประสานกันอีกด้วยค่ะ ถ้าคุณแม่กลัวลูกไม่อิ่มให้เตรียมอาหารไว้ 2 จาน จานแรกให้ลูกกินเอง จานสอง ป้อนจริง

จัดจานอาหารให้มีสีสัน น่ากิน

เลือกวัตถุดิบที่ลูกชอบ ที่มีสีสันจากธรรมชาติที่น่ากิน แล้วสอดแทรกอาหารใหม่ ๆ ที่มีสีสันน่ากินไว้ด้วย เพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจและเพิ่มความอยากอาหารได้มากขึ้น อาจมีการจัดจานด้วยแครอทนึ่ง ฟักทอง หรือผักโขมนึ่งนิ่ม ๆ ก็ได้ค่ะ

จัดอาหารทดแทนให้ลูก

ถ้าลูกเบื่อข้าว ให้คุณแม่ลองคิดเมนูทดแทนที่เป็นคาร์โบไฮเดรตแทน เช่น ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง หรือขนมจีน ก็ได้ค่ะ

จัดสรรเวลาให้ชัดเจน

หมายถึงเวลากินก็กิน เวลาเล่นก็เล่น ไม่ทำกิจกรรมอื่นระหว่างการกินข้าว

คุณพ่อคุณแม่จะแก้ไขปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าวได้ จำเป็นต้องรู้ถึงสาเหตุเสียก่อนว่าเพราะอะไร สิ่งที่ตามมาคือการแก้ไข แบบนี้ก็จะไม่ยากแล้วค่ะ แม่โน้ตก็ใช้วิธีทำอาหารอื่นทดแทน ได้ผลดีเลยค่ะ เป็นกำลังใจให้คุณแม่ทุกคนนะคะ


Mommy Note

3,139,233 views

คุณแม่ลูกหนึ่ง ที่ใช้วิธีการเลี้ยงลูกแบบ "Tradigital" แบบดั้งเดิมผสมผสานกับความดิจิทัลในยุคปัจจุบัน เน้นเลี้ยงลูกให้เป็นคนธรรมดาที่มีสุข ติดต่องานได้ที่ e-mail : simplymommynote@gmail.com

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save