• HOME
  • BLOG
  • วัย 6-10 ปี
  • โรคกลัวสังคมในเด็ก คืออะไร หรือลูกแค่ขี้อาย รับมืออย่างไรดี

โรคกลัวสังคมในเด็ก คืออะไร หรือลูกแค่ขี้อาย รับมืออย่างไรดี

โรคกลัวสังคมในเด็ก คืออะไร หรือลูกแค่ขี้อาย รับมืออย่างไรดี
วัย 6-10 ปี

Last Updated on 2023 03 24

พ่อแม่หลายคนอาจเป็นกังวล และไม่เข้าใจว่าทำไมลูกถึงไม่ค่อยกล้าแสดงออก ดูไม่มั่นใจ ไม่กล้าสบตาเวลาคุยกับคนอื่น ไม่แน่ใจว่าลูกแค่เป็นเด็กขี้อายเฉย ๆ รึเปล่า พ่อแม่ควรสังเกตอย่างใกล้ชิด เพราะถ้าลูกมีอาการมากขึ้น โรคกลัวสังคมนี้อาจกลายเป็นพฤติกรรมที่ติดตัวไปจนโต ส่งผลต่อบุคลิกภาพ และทักษะการเข้าสังคมของลูกในอนาคตอีกด้วยค่ะ

โรคกลัวสังคมในเด็ก คืออะไร?

โรคกลัวสังคมในเด็ก หรือ Social Phobia คือ เป็นโรคที่พบได้ในเด็ก และพบมากในช่วงวัยรุ่น หากเด็กต้องอยู่ในสถานการณ์ที่มีผู้คนจ้องมองที่ตนเองเป็นจำนวนมาก เด็กมีอาการดังต่อไปนี้

  • ประหม่า
  • รู้สึกไม่สบายใจ
  • อึดอัด
  • กังวลใจ
  • มือสั่น
  • ใจสั่น
  • เด็กบางคนอาจมีการแยกตนเองออกจากผู้อื่น
  • ชอบอยู่คนเดียว

และเมื่อถึงวัยเข้าโรงเรียน เด็กจะเกิดความกลัวจะถูกวิจารณ์ ตำหนิ ไม่ดี และกลัวการถูกปฏิเสธ ในสถานการณ์ เช่น การพูดคุยกับคนที่ไม่คุ้นเคย นำเสนองานหน้าชั้นเรียน เด็กบางคนไม่กล้าที่จะรับประทานอาหารในที่สาธารณะ ทำกิจกรรมในที่สาธารณะ เป็นต้น

โรคกลัวสังคม vs คนขี้อาย

พ่อแม่อาจคิดว่าจริง ๆ แล้วอาการของลูกเป็นเพียงแค่นิสัยของคนขี้อายมาก ๆ เท่านั้นเอง แต่โรคกลัวสังคม ในเด็ก มีความแตกต่างจากคนขี้อาย คือ

อาการคนขี้อาย

จะมีอาการประหม่า ตื่นเต้น อึดอัด ไม่สบายใจ ในบางครั้งและบางครั้งอาจไม่มีอาการ ไม่ได้มีอาการตลอดเวลา มักมีอาการในสถานการณ์สำคัญหรือในสถานการณ์ที่มีคนที่เขาแคร์มากอยู่ด้วย

อาการโรคกลัวสังคมในเด็ก

จะมีอาการตลอดเวลา ติดต่อกันยาวนานมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป สามารถพบได้ในเด็กเล็กแต่อาจยังสังเกตเห็นได้ไม่ชัดนัก หากปล่อยทิ้งไว้อาจส่งผลต่อลูกเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น และเป็นวัยที่พบโรคนี้ได้มากขึ้น เพราะเป็นช่วงวัยที่ให้ความสำคัญกับการประเมินของผู้อื่นต่อตนเองค่อนข้างมาก

พฤติกรรมที่เข้าข่ายโรคกลัวสังคมในเด็ก

เมื่อลูกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย หรือทำกิจกรรมในที่สาธารณะที่ต้องพบเจอกับคนแปลกหน้า มีอาการดังต่อไปนี้

  • มักใจสั่น มือสั่น เสียงสั่น เหงื่อออกมาก อันเกิดจากความตื่นเต้นและความกังวลที่เกิดขึ้นในจิตใจ
  • ก้มหน้าก้มตา ไม่ค่อยสบตา ตัวสั่น เสียงสั่น มักพูดเสียงพึมพำเบาๆ บางคนอาจร้องไห้
  • นั่งเงียบๆอยู่กับที่ ดูเหมือนรู้สึกไม่สบายใจ มีความวิตกกังวล ไม่ยอมคุยหรือลุกเดินไปเล่นกับใคร
  • แยกตัวออกจากกลุ่มเพื่อน หลบเลี่ยงที่จะพูดคุยกับคนอื่น ไม่พูดคุยกับใครเลยนอกจากคนในครอบครัว
  • ปฏิเสธการไปโรงเรียน
  • ในกรณีที่ลูกเป็นโรคกลัวสังคมอย่างรุนแรง ลูกอาจจะมีอาการวิตกกังวลมากจนมีอาการทางร่างกายร่วมด้วย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง ใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียน

พ่อแม่สามารถช่วยเหลือลูกได้

ความกังวลใจของพ่อแม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนกับอาการที่ลูกเป็น แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือพ่อแม่คือการรักษาที่ดีที่สุดโดยต้องทำความเข้าใจ ยอมรับ แล้วทำงานร่วมกันเป็นทีมเพื่อที่จะหนักแน่นให้มากพอ เพื่อช่วยประคองลูกให้ลุกขึ้นฝ่าฟันกับความกลัวที่เกิดจากความคิดของลูกไปให้ได้

ชวนลูกทำกิจกรรมพร้อมกล่าวชม

พ่อแม่ควรให้เวลาลูกในการปรับตัว เมื่อลูกเริ่มทำกิจกรรมด้วยตนเองได้ เช่น จ่ายเงินซื้อของในร้านสะดวกซื้อด้วยตัวเอง สั่งอาหารด้วยตัวเอง พูดคุยกับพนักงานในร้านค้าด้วยตัวเอง เมื่อลูกมีความมั่นใจขึ้น สามารถให้รางวัลและคำชมเพื่อเป็นกำลังใจสำคัญที่จะสามารถช่วยผลักดันให้ลูกมีความกล้า และลดอาการของโรคกลัวสังคมได้ เพราะการเลี้ยงดูลูกแบบช่วยเหลือและทำให้ทุกอย่าง มีแนวโน้มที่ลูกจะเป็นโรคกลัวสังคม ลูกจะไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง ขี้อาย ลังเล  ไม่กล้าตัดสินใจและไม่กล้าที่จะเผชิญหน้ากับคนหรือสังคมใหม่ ๆ

ให้ลูกเข้าสังคมเมื่อมีโอกาส

การที่พ่อแม่เลี้ยงลูกให้อยู่ในพื้นที่จำกัดในสิ่งแวดล้อมเดิม เพราะพ่อแม่ไม่ไว้ใจสังคม กลัวลูกออกไปข้างนอกแล้วเป็นอันตราย หรือกลัวมีใครจะมาทำร้าย ความวิตกกังวลตรงนี้ก็จะส่งผลมาที่ลูกเพราะจะทำให้ลูกเป็นคนหวาดกลัว อึดอัด วิตกกังวลและกลัวสังคมเช่นเดียวกัน และเมื่อมีเหตุที่ต้องออกไปอยู่ร่วมกับสังคมภายนอกลูกก็จะปรับตัวไม่ได้ ทำให้แปลกแยกกับผู้อื่น สังคมกลายเป็นสิ่งที่น่ากลัวของเขา พ่อแม่ควรหาโอกาสให้ลูกได้ลองเข้าสังคมที่หลากหลาย เช่น เล่นกับเพื่อนหลายๆ กลุ่ม พบปะกลุ่มคนใหม่ๆ เมื่อมีโอกาส หากิจกรรมที่ลูกชอบและต้องทำร่วมกับคนอื่น แต่ไม่ควรกดดันหรือเคี่ยวเข็ญให้ลูกทำกิจกรรมที่ต้องรับมือกับความคาดหวังและเคร่งเครียดมากเกินไป  เช่น การประกวดด้านการแสดงออก เพราะอาจทำให้ลูกเครียดที่ต้องเข้าร่วม และรู้สึกผิดหวังเมื่อทำได้ไม่ดี

แนวทางการรักษาโดยจิตแพทย์

ปรับพฤติกรรม

แพทย์จะสอบถามความกังวลใจของเด็กผ่านทาง พ่อแม่ เพื่อร่วมมือกันแก้ปัญหา เพื่อลดความกังวลใจของเด็กและสามารถฝึกทำเองได้ที่บ้าน และที่โรงเรียน

พฤติกรรมบำบัด

โดยให้เด็กได้เริ่มลองเผชิญกับสถานการณ์ที่กลัว และตื่นเต้น และคอยให้กำลังใจ เมื่อเด็กสามารถผ่าน เผชิญปัญหาไปได้ ก็เสริมแรงด้วยคำชม การปรบมือให้กำลังใจเป็น

การให้ยา

แพทย์จะให้ยาที่ลดความกังวลและความตื่นกลัวของเด็ก แต่ควรปรึกษาจิตแพทย์เด็กก่อนทุกครั้ง

โรคกลัวสังคมในเด็ก หากสังเกตเห็นได้ไว สามารถรักษาอาการต่างๆให้หายได้ผ่านการปรับเปลี่ยนมุมมองการเลี้ยงดูลูกของพ่อแม่ใหม่ อาจต้องใช้แรงกายแรงใจในการปรับทัศนคติของพ่อแม่เยอะในช่วงแรก ดังนั้น พ่อแม่จึงควรมีความเข้าใจกัน และทำงานร่วมกันเป็นทีมเพื่อเสริมแรงกันและกัน ช่วยลูกให้ก้าวผ่านความกลัวในจิตใจของเขาไปได้ค่ะ


Mommy Gift

157,076 views

แม่น้องสปิน คุณแม่ฟูลไทม์ ที่เชื่อเรื่องการเลี้ยงลูกแบบธรรมชาติอย่างสมดุลทั้งภายใน-ภายนอก และเชื่อว่าลูกคือครู จึงทําให้สนใจความเป็นไปของผู้คน จิตวิทยาความสัมพันธ์ในครอบครัว และความสัมพันธ์ของมนุษย์กับธรรม(ะ)ชาติ ชื่นชอบการทำอาหาร งาน Handmade อ่านหนังสือ ปลูกต้นไม้ Facebook : Gift Bfive IG : spin_ramil

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save