• HOME
  • BLOG
  • วัย 3-6 ปี
  • เพื่อนในจินตนาการ คืออะไร ทำไมลูกต้องมีเพื่อนแสนดีที่มองไม่เห็น

เพื่อนในจินตนาการ คืออะไร ทำไมลูกต้องมีเพื่อนแสนดีที่มองไม่เห็น

เพื่อนในจินตนาการ คืออะไร ทำไมลูกต้อมีเพื่อนแสนดีที่มองไม่เห็น
วัย 3-6 ปี

Last Updated on 2023 04 27

พ่อแม่หลายคนคงเคยเห็นลูกนั่งเล่นคนเดียวได้นานอย่างสนุกสนาน หรือบางครั้งก็พูดโต้ตอบคนเดียวราวกับว่ามีใครเล่นอยู่ด้วย หรือบางครั้งมีการกวาดสายตามองหา และพูดคุยกับใครสักคนที่พ่อแม่มองไม่เห็น ลักษณะแบบนี้ก็อาจทำให้พ่อแม่เริ่มกลัว และเป็นกังวล สิ่งนี้เป็นเรื่องปกติของเด็กเล็กนะคะ มันคือการที่ลูกมีเพื่อนในจินตนาการแล้วสาเหตุอะไรที่ลูกต้องมีเพื่อนในจินตนาการและพ่อแม่ควรต้องกังวลไหม วันนี้มีข้อมูลมาฝากค่ะ

เพื่อนในจินตนาการ คืออะไร?

เพื่อนในจินตนาการ (Imaginary Friends) คือ เพื่อนที่ลูกสมมติขึ้นมาจากจินตนาการ สามารถมีได้หลายรูปลักษณ์หรือขนาดตัวเท่าไหร่ก็ได้ อาจจะมีความเชื่อมโยงจากบุคคลที่ลูกรู้จัก จากตัวละครในนิทานที่ลูกเคยฟัง จากของเล่นที่ลูกชื่นชอบ หรืออาจจะมาจากจินตนาการล้วน ๆ โดยเพื่อนในจินตนาการอาจปรากฎตัวอยู่ข้างๆ ลูกตลอดเวลา อาจมา ๆหาย ๆ หรืออาจจะมาแค่จุดใดจุดหนึ่งภายในบ้าน เช่น แถวผ้าม่าน หรือที่โต๊ะทานข้าว ซึ่งไม่สามารถบอกถึงข้อจำกัดของพวกเขาได้เลย

สาเหตุที่เด็กสร้าง เพื่อนในจินตนาการ

จินตนาการของเด็ก เริ่มพัฒนาขึ้นในช่วงอายุประมาณ 2.5 ถึง 3 ขวบ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเล่นบทบาทสมมติ และในเด็กร้อยละ 65 นั้นมาพร้อมกับการมีเพื่อนในจินตนาการด้วย หรือรวมทั้งสองอย่าง เหตุผลที่ต้องมีเพื่อนในจินตนาการ เพราะ…

  • ลูกต้องการเพื่อนที่รับฟังและให้การสนับสนุนเขา
  • ลูกต้องการเพื่อนเล่นเวลาที่ไม่มีใคร
  • เพื่อนในจินตนาการมักทำในสิ่งที่ลูกทำไม่ได้
  • ลูกสามารถควบคุมได้ว่า เพื่อนในจินตนาการเป็นสิ่งพิเศษและเป็นของเขาคนเดียว
  • เพื่อนในจินตนาการไม่ตัดสินหรือจับผิด

ข้อดีของเพื่อนในจินตนาการ

การวิจัยส่วนใหญ่แสดงให้เห็นว่าการมีเพื่อนในจินตนาการเป็นรูปแบบการเล่นที่ดีในวัยเด็กและอาจมีประโยชน์บางอย่างสำหรับพัฒนาการของเด็ก ดังนี้

  • เป็นการส่งเสริมทักษะทางสังคมที่ดี
  • ช่วยส่งเสริมความมั่นใจให้กับลูก
  • การที่ลูกได้ใช้จินตนาการอย่างเต็มที่นำไปสู่การมีความคิดสร้างสรรค์
  • ช่วยส่งเสริมให้ลูกมีวิธีการแก้ไขปัญหา และทักษะการเผชิญปัญหาที่ดี
  • ช่วยส่งเสริมให้ลูกเข้าใจอารมณ์ของตัวเองได้เป็นอย่างดี
  • และเพื่อนในจินตนาการอาจมอบมิตรภาพ การสนับสนุน ความบันเทิง และอื่น ๆ ให้กับลูกได้

ควรกังวลกับเพื่อนในจินตนาการของลูกไหม?

มีการศึกษาพบว่าในเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 7 ขวบ ร้อยละ 65 จะมีเพื่อนในจินตนาการ โดยเขยิบจินตนาการจากของเล่นบทบาทสมมติทั่วไปเป็นเพื่อนในจินตนาการที่ไม่มีตัวตนจริง นั่นเป็นเพราะพลังแห่งจินตนาการ

พ่อแม่จึงไม่จำเป็นต้องกลัวหรือกังวล เพราะเด็กที่มีเพื่อนในจินตนาการ ส่วนใหญ่จะ “ รู้ ” ว่าเพื่อนคนนี้ไม่มีตัวตน เป็นสิ่งสมมติ ส่วนน้อยมากที่จะตอบว่าเพื่อนในจินตนาการมีตัวตน “จริง ๆ” ซึ่งหากไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันก็ถือว่าไม่เป็นไร

และในบางครั้งพ่อแม่อาจจะต้องเล่นตามน้ำไปกับลูกด้วย แต่หากพ่อแม่คิดว่าเด็กที่มีเพื่อนในจินตนาการเป็น “เด็กขี้เหงา” ไม่มีคนเล่นด้วย หรือเป็นเด็กมีปัญหา นั้นอาจเป็นเรื่องที่คิดผิดค่ะ เพราะจากการศึกษาพบว่าเด็กที่มีปัญหาในการเข้าสังคม หรือเข้ากับเพื่อนไม่ได้ มักเป็นเด็กที่ไม่มีเพื่อนในจินตนาการมากกว่า อาจเพราะสมองส่วนจินตนาการ และการเรียนรู้ถูกปิดกั้นไปแล้ว

ดังนั้นเด็กที่มีเพื่อนในจินตนาการมักมีแนวโน้มที่จะกล้าแสดงออก มีความสุขต่อการเล่น ต่อการใช้ชีวิต และมีทักษะที่ดีกว่าในการแก้ปัญหาค่ะ  นอกจากนั้นยังพบว่าเด็กที่ไม่เคยดูทีวี หรือสื่อหน้าจอต่าง ๆ และได้เล่นอย่างอิสระจะมีโอกาสสร้างเพื่อนในจินตนาการได้สูงกว่าด้วย

เมื่อไหร่ที่ควรกังวล เกี่ยวกับเพื่อนในจินตนาการ?

เมื่อพูดถึงจินตนาการอันสดใสของเด็กเล็ก พ่อแม่บางคนอาจตั้งคำถามว่า จริง ๆ แล้วลูกกำลังประสบปัญหากับภาพหลอนหรือโรคจิตหรือไม่ การมีเพื่อนในจินตนาการไม่เหมือนกับอาการของจิตเภทอย่างแน่นอนค่ะ เพราะเด็กที่มีเพื่อนในจินตนาการส่วนใหญ่ รู้ว่าเพื่อนไม่ได้มีตัวตนอยู่จริง แต่หากลูกของพ่อแม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างกะทันหันและกำลังประสบกับบางสิ่งที่มากกว่าเพื่อนในจินตนาการ หรือพ่อแม่มีความกังวลใจให้ติดต่อกุมารแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเด็กเพื่อขอคำปรึกษาได้ค่ะ

การที่เด็กสร้างเพื่อนขึ้นมาจากจินตนาการถือว่าเป็นเรื่องปกติสำหรับเด็กเล็กค่ะและพ่อแม่เองยังสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้ได้อีกด้วย เช่น สามารถสังเกตนิสัยใจคอ ความรู้สึก การจัดการความสัมพันธ์ และพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาของลูกได้จากการมองลูกเล่นกับเพื่อน และยังถือเป็นโอกาสสำคัญที่พ่อแม่จะสามารถพูดคุยกับลูกผ่านบุคคลที่ 3 เพราะส่วนใหญ่เด็กเล็กมักจะเปิดเผยความรู้สึกของตัวเองกับเพื่อนในจินตนาการได้มากกว่า จึงเป็นการง่ายที่พ่อแม่จะมองเห็นสิ่งที่ลูกคิด และสามารถช่วยปลอบประโลมลูกผ่านการพูดคุยกับเพื่อนในจินตนาการของลูกได้เช่นกันค่ะ


Mommy Gift

155,943 views

แม่น้องสปิน คุณแม่ฟูลไทม์ ที่เชื่อเรื่องการเลี้ยงลูกแบบธรรมชาติอย่างสมดุลทั้งภายใน-ภายนอก และเชื่อว่าลูกคือครู จึงทําให้สนใจความเป็นไปของผู้คน จิตวิทยาความสัมพันธ์ในครอบครัว และความสัมพันธ์ของมนุษย์กับธรรม(ะ)ชาติ ชื่นชอบการทำอาหาร งาน Handmade อ่านหนังสือ ปลูกต้นไม้ Facebook : Gift Bfive IG : spin_ramil

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save