ฝึกลูกพูด กับ 10 เทคนิคที่ได้ผล

ฝึกลูกพูด กับ 10 เทคนิคที่ได้ผล
การเลี้ยงลูก

Last Updated on 2023 03 24

เพราะคุณพ่อคุณแม่มีหน้าที่กระตุ้นและสนับสนุนพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกน้อย ซึ่งพัฒนาการหนึ่งที่สำคัญนั่นก็คือ พัฒนาการด้านการพูดค่ะ ซึ่งวันนี้โน้ตมีวิธีการฝึกลูกพูดมาฝากค่ะ

พัฒนาการด้านการพูดแต่ละช่วงวัย

ก่อนที่เราจะไปเรื่องของการฝึกลูกพูดนั้น โน้ตอยากชวนให้คุณพ่อคุณแม่ทำความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการด้านการพูดหรือทักษะการพูดของลูกในแต่ละช่วงวัยกันสักนิดค่ะ เพื่อที่เราจะได้ฝึกลูกกันอย่างถูกทาง

วัย 3 เดือน

วัยนี้ลูกจะเริ่มหันหน้าไปตามเสียงโดยเฉพาะเสียงที่คนคุยกันได้ถูกทาง โดยเฉพาะถ้าเป็นเสียงของคุณแม่ ชอบมองหน้าคุณพ่อคุณแม่เวลาที่ชวนลูกคุย และลูกจะเริ่มอ้อแอ้ตาม

วัย 6 เดือน

ลูกจะเริ่มมีเสียงสูง เสียงต่ำได้แล้ว เริ่มแสดงอารมณ์ผ่านน้ำเสียงของตัวเองได้มากขึ้น บางคนสามารถเรียกพ่อแม่ได้แล้ว

วัย 9 เดือน

ลูกเริ่มเข้าใจความหมายของคำบางคำได้ที่เป็นพยางค์เดียว เช่น ไป ไม่ เอา หรือบาย เป็นต้น เริ่มหัดออกเสียงคำอื่น ๆ ได้มากขึ้น

วัย 12 เดือน

ลูกเริ่มเข้าใจความหมายของคำที่ยาวมากขึ้นได้ สามารถทำตามหรือตอบสนองในสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่บอกได้ดีขึ้น แต่ยังเป็นคำสั้น ๆ อยู่

วัย 18 เดือน

หรือ 1 ขวบครึ่ง วัยนี้จะสามารถเลียนคำหรือเลียนเสียงที่คุณพ่อคุณแม่ได้มากขึ้น เริ่มบอกได้ว่าสิ่งนั้นเรียกว่าอะไร หรือคนนี้คือใคร แต่ถ้าเป็นประโยคยาว ๆ ลูกจะพูดได้คำท้ายประโยค

วัย 2 ขวบ

ลูกจะเริ่มพูดได้มากขึ้นเป็นคำ 2-3 พยางค์ หรือวลีสั้น ๆ รู้จักชื่อของสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น ทำตามที่คุณพ่อคุณแม่บอกได้

วัย 3 ขวบ

เริ่มมีคำศัพท์ในหัวมากขึ้น เข้าใจความรู้สึก พูดได้ยาวมากขึ้น เข้าใจคำถามที่ซับซ้อนได้มากขึ้น แต่ก็ยังต้องเป็นประโยคที่ไม่ยาวเกินไปนัก

สาเหตุลูกพูดช้า

ลูกพูดช้า เกิดได้หลายสาเหตุ ดังนี้

ขาดการกระตุ้นที่เหมาะสม

เช่น คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ที่เลี้ยงดูไม่ได้มีการฝึกลูกพูด ไม่มีเวลาชวนลูกคุยเล่น หรืออาจต้องไปทำธุระจึงเปิดโทรทัศน์ให้เป็นเพื่อนลูก เป็นต้น เหล่านี้ลูกจะไม่ได้เรียนรู้เรื่องการออกเสียงเลย

ปากหนัก

เด็กกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีความเข้าใจดีทุกอย่าง แต่ไม่ยอมพูด เวลาต้องการอะไรจะใช้ภาษาท่าทางชี้บอกแทน แต่เด็กกลุ่มนี้หากได้รับการกระตุ้นการพูดที่ถูกทาง เขาก็จะสามารถพัฒนาทักษะการพูดได้จนเป็นปกติ

ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา

เด็กกลุ่มนี้จะมีพัฒนาการที่ช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกันทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำความเข้าใจในสถานการณ์ ความจำ การปรับตัว และมีการแก้ปัญหาที่ช้ากว่าคนอื่น

ภาวะบกพร่องทางการได้ยิน

เนื่องจากเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เขาจะไม่เคยได้ยินเสียงพูด ดังนั้น เขาจึงไม่รู้วิธีการเลียนเสียงพูด หรือวิธีการออกเสียงนั่นเอง

โรคออทิสติก

เด็กที่เป็นโรคออทิสติกเขาจะมีความบกพร่องด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น เขาจะพูดช้าหรือพูดทีก็จะเป็นภาษาต่างดาว เป็นคำแต่ไม่มีความหมาย ไม่ค่อยสบตา และชอบแยกตัวอยู่คนเดียว

ฝึกลูกพูด กับ 10 เทคนิคที่ได้ผล

คราวนี้เรามาถึงในส่วนที่คุณพ่อคุณแม่จะฝึกลูกพูดกันแล้วค่ะ ไปดูกันเลยค่ะว่ามีวิธีไหนบ้าง บอกได้เลยว่าคุณพ่อคุณแม่ทำได้แน่นอนค่ะ

ชวนลูกพูดคุยทุกวัน

ตื่นเช้ามาก็ชวนลูกคุยได้เลยค่ะ ยิ่งเริ่มได้เร็วยิ่งดี แม้ว่าลูกจะยังไม่เข้าใจความหมายที่คุณพ่อคุณแม่พูด แต่ลูกจะสามารถจับจังหวะการพูด วิธีพูด รวมถึงการออกเสียงของคำแต่ละคำได้

สบตาลูกเสมอเวลาคุยกับลูก

เวลาที่คุยกับลูกทุกครั้งควรสบตาลูกตลอดเวลา ลูกจะรับรู้ได้ถึงความอ่อนโยนและความรักของคุณพ่อคุณแม่ และเมื่อลูกโตขึ้นเวลาที่คุณพ่อคุณแม่จะบอกให้ลูกทำอะไรสักอย่างก็ควรสบตาลูกเช่นกัน นอกจากนี้ ให้สังเกตลูกด้วยว่าเขามองหน้าเราด้วยหรือไม่ ซึ่งถ้าเขาหลุดโฟกัส ให้เชยคางลูกหันมาหาเราแล้วค่อยคุยกับลูกต่อ

พากย์เป็นตัวการ์ตูน เสียงสูง เสียงต่ำ

อย่าอายที่จะทำเสียงสูง เสียงต่ำกับลูก เพราะมันได้ผลค่ะ ครั้งแรกที่โน้ตลองทำคือ พากย์เป็นเสียงการ์ตูน 2 ตัว พูดคุยสลับกัน ลูกตั้งใจฟังมาก สิ่งนี้เองจะเป็นการทดสอบการได้ยินของลูกได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญ เป็นการฝึกให้ลูกมีสมาธิ ตั้งใจฟังสิ่งที่เราพูดอีกด้วย

ผลัดกันพูดทีละคน

การชวนลูกพูดคุย หากมีเสียงแบคกราวน์ ควรลดเสียงดังกล่าวลง และพูดคุยทีละคน เพื่อให้ลูกได้ฟังเสียงพูดและการออกเสียงได้อย่างชัดเจน

เมื่อลูกพูด พ่อแม่ต้องหยุดฟัง

เมื่อคุณพ่อคุณแม่ชวนลูกพูดคุย เมื่อลูกพูดตอบแม้จะยังเป็นคำที่ไม่มีความหมายก็ตาม ให้เราหยุดฟังในสิ่งที่ลูกพูด เมื่อลูกพูดจบเราก็ค่อยพูดต่อ

แนะนำลูกกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว

ระหว่างวันที่คุณพ่อคุณแม่พาลูกเดินเล่นนั้น ให้ชี้ชวนลูกดูสิ่งต่าง ๆ รอบตัว แล้วบอกว่าสิ่งนั้น ๆ เรียกว่าอะไร ของแม่โน้ตบอกทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเลยค่ะ ลูกก็จะคุ้นเคยกับคำศัพท์ได้เร็ว

ตอบลูกให้มากกว่าที่ลูกถาม

เช่น ถ้าลูกชี้ไปที่แมวแล้วบอกว่า “แมว แมว” ให้คุณพ่อคุณแม่บอกลูกเพิ่มว่า “ใช่ค่ะ นั่นแมวสีน้ำตาล” เป็นต้น แม้วันนี้ลูกอาจจะยังไม่เข้าใจ แต่ลูกจะจำได้ว่าสีนี้ คือสีน้ำตาล

ใช้ภาษาที่ถูกต้อง

เช่น แมว ก็บอกลูกว่านั่นคือ แมว ไม่ใช่ “น้องเหมียว” หรือ เงินก็คือ เงิน ไม่ใช่ “ตังค์” เป็นต้น

แก้ไขคำพูดที่ลูกพูดผิดด้วยความอ่อนโยน

เช่น ถ้าลูกถามว่า “คุณพ่อจะกลับไปบ้านเรากี่โมง” ให้คุณแม่แก้ประโยคเป็น “คุณพ่อจะกลับมาบ้านประมาณ 6 โมงเย็นค่ะ” ด้วยท่าทีที่อ่อนโยน ไม่ต่อว่าลูก สิ่งนี้จะทำให้เด็กได้เรียนรู้การเรียงประโยคให้ถูกต้องได้ในอนาคต

คุยกับลูกเหมือนคุยกับผู้ใหญ่

เป็นอีกข้อหนึ่งที่โน้ตใช้วิธีนี้เหมือนกันค่ะ เวลาคุยกับลูกให้เหมือนคุยกับผู้ใหญ่ อย่าเพิ่งคิดว่าเค้าคงไม่เข้าใจ เพียงแต่วิธีการอธิบายของเราต้องกระชับที่สุด เพราะสุดท้ายแล้วลูกจะมีความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ได้ง่าย

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับเทคนิคฝึกลูกพูด เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่จะช่วยฝึกลูกได้ไม่ยากค่ะ เพียงแต่ต้องหมั่นคุยและใส่ใจในท่าทีของลูก เท่านี้ลูกก็จะมีทักษะการพูดตามเกณฑ์สมวัยแล้วล่ะค่ะ


Mommy Note

3,132,965 views

คุณแม่ลูกหนึ่ง ที่ใช้วิธีการเลี้ยงลูกแบบ "Tradigital" แบบดั้งเดิมผสมผสานกับความดิจิทัลในยุคปัจจุบัน เน้นเลี้ยงลูกให้เป็นคนธรรมดาที่มีสุข ติดต่องานได้ที่ e-mail : simplymommynote@gmail.com

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save