Site icon simplymommynote

ภาวะหนุ่มสาวก่อนวัย คืออะไร ทำอย่างไรดี

ภาวะหนุ่มสาวก่อนวัย คืออะไร ทำอย่างไรดี

อายุที่เหมาะสมของการเข้าสู่วัยหนุ่มสาวคือ อายุ 8-13 ปีในเด็กหญิง (เฉลี่ยอยู่ที่ 10 ปี) และ อายุ 9-14 ปีในเด็กชาย (เฉลี่ยอยู่ที่ 11 ปี) โดยส่วนมากเด็กผู้ชายจะเริ่มเข้าวัยหนุ่มช้ากว่าเด็กผู้หญิงประมาณ 1-2 ปี ดังนั้น ถ้าเด็กผู้หญิงเริ่มเข้าสู่วัยสาวก่อนอายุ 8 ปี หรือเด็กผู้ชายเริ่มเข้าวัยหนุ่มก่อนอายุ 9 ปี จะถือว่ามี ภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัยค่ะ และหลายคนคิดว่าผู้ร้ายของเรื่องนี้มาจากอาหารที่เด็ก ๆ ทานเข้าไป โดยเฉพาะเนื้อไก่ที่เชื่อว่ามีสารเร่งโต เมื่อเด็กทานเข้าไปจำนวนมากจึงส่งผลทำให้ร่างกายเกิดความผิดปกติได้ แต่ความจริงเป็นอย่างไรนั้น วันนี้กิฟท์มีข้อมูลมาฝากค่ะ

ภาวะหนุ่มสาวก่อนวัย คืออะไร

ภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย ( Precocious Puberty) คือ ภาวะที่เด็กโตเร็วกว่าปกติ เด็กที่มีการเข้าสู่วัยหนุ่มสาวก่อนเวลาพบได้ทั้งในเด็กเพศหญิงและชาย โดยจะพบในเด็กหญิงมากกว่าเด็กชายประมาณ 8 – 20 เท่า ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องหมั่นสังเกต เพราะความผิดปกติลักษณะนี้มักมีความผิดปกติอื่นแอบแฝงอยู่

ภาวะหนุ่มสาวก่อนวัย เกิดจากอะไร

ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัยนั้นเกิดจากสาเหตุอะไร พบว่าประมาณ 90% ของเด็กหญิงที่เป็นสาวเร็วสามารถเกิดขึ้นได้เองโดยไม่มีสาเหตุ และอีก 10% เกี่ยวกับพยาธิสภาพต่าง ๆ เช่น มีก้อนเนื้องอกที่ต่อมใต้สมองในขณะที่เด็กชายที่เป็นหนุ่มเร็วมักจะเกิดจากมีพยาธิสภาพถึง 90% ดังนั้นในเด็กชายจึงต้องทำการตรวจเพิ่มเติมทุกราย ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยตามความเหมาะสมค่ะ แยกเป็นสาเหตุได้ดังนี้

กรรมพันธุ์

ถ้าพ่อแม่มีประวัติเข้าสู่วัยหนุ่มสาวเร็ว เช่น พ่อเสียงแตกเร็ว หรือแม่มีประจำเดือนเร็ว ก็อาจพบว่าลูกเป็นหนุ่มเป็นสาวได้เร็วกว่าปกติค่ะ

สิ่งแวดล้อม

ภาวะโภชนาการ

พบว่าเด็กที่มีภาวะโรคอ้วนจากการทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น อาหารที่มีไขมันสูง อาหารจานด่วน มักจะเข้าสู่วัยหนุ่มสาวเร็วกว่าปกติ

ได้รับสารหรืออาหารที่มีฮอร์โมนปนเปื้อน

โดยเฉพาะเอสโตรเจนสังเคราะห์หรือสารที่ออกฤทธิ์เสมือนเอสโตรเจน แต่ฮอร์โมนเร่งการเติบโตในสัตว์ทั่วโลกได้ถูกเพิกถอนให้เลิกใช้ตั้งแต่เมื่อ 30 ปีมาแล้วค่ะ ถึงอย่างนั้น คุณพ่อคุณแม่ก็ควรเลือกเนื้อสัตว์จากแหล่งที่น่าเชื่อถือว่าไม่มีสารตกค้างเท่านั้นนะคะ

พยาธิสภาพ

พยาธิสภาพในสมอง

เช่น ก้อนเนื้องอก สมองเคยขาดออกซิเจน หรือเคยติดเชื้อมาก่อน หรือเคยได้รับการฉายรังสีก็จะไปกระตุ้นให้ต่อมใต้สมองสร้างฮอร์โมนเพศมาได้

พยาธิสภาพในต่อมเพศ

เช่น มีถุงน้ำในรังไข่ของเด็กหญิงก็จะทำให้มีการสร้างฮอร์โมนเพศมากขึ้น

วิธีสังเกตหากลูกมีภาวะหนุ่มสาวก่อนวัย

ในเด็กผู้หญิง

อาจมีสัญญาณเหล่านี้

ในเด็กผู้ชาย

อาจมีสัญญาณก่อนอายุ 9 ปี ได้แก่

ภาวะหนุ่มสาวก่อนวัย ส่งผลกระทบอะไรต่อลูกบ้าง

ผลกระทบด้านความสูง

เด็กที่มีภาวะหนุ่มสาวก่อนวัยมักจะเพิ่มความสูงอย่างรวดเร็วในระยะแรก แต่เด็กกลุ่มนี้จะมีอายุกระดูกที่ล้ำหน้ากว่าอายุจริงมาก ทำให้กระดูกปิดเร็วจึงหยุดการเจริญเติบโตเร็วกว่าที่ควรจะเป็น ส่งผลให้การพัฒนาความสูงทำได้น้อยกว่าเกณฑ์

ผลกระทบด้านจิตใจและการปรับตัว

เด็กที่เป็นหนุ่มสาวก่อนวัยจะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่รวดเร็ว ทำให้แตกต่างไปจากเพื่อนรุ่นเดียวกัน เด็กกลุ่มนี้จึงเกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับรูปร่างของตนเองที่ไม่เหมือนคนอื่นได้ง่าย และสภาพร่างกายที่ดูโตเกินวัยกว่าความคิดและวุฒิภาวะของเด็กก็อาจทำให้คนรอบข้างเกิดความคาดหวังที่เกินจริง ทำให้เด็กเกิดความคับข้องใจหรือส่งผลต่อสภาพจิตใจของเด็กได้เช่นกันค่ะ นอกจากนั้นในเด็กหญิงที่เป็นสาวเร็วอาจมีปัญหาเรื่องการดูแลตัวเองเวลามีประจำเดือนอาจรู้สึกเคอะเขิน และยังเสี่ยงต่อการถูกล่วงละเมิดทางเพศได้อีกด้วยค่ะ

ผลกระทบจากพยาธิสภาพ

เพราะพยาธิสภาพบางอย่างเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะหนุ่มสาวก่อนวัย เช่น โรคของต่อมไร้ท่อ เนื้องอก ดังนั้นอาจก่อให้เกิดอันตรายกับตัวเด็กหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมค่ะ

ภาวะหนุ่มสาวก่อนวัย ป้องกันอย่างไร

ภาวะหนุ่มสาวก่อนวัย สามารถทำได้ ดังนี้ค่ะ

ภาวะหนุ่มสาวก่อนวัย  กับการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์

เมื่อคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกมีภาวะหนุ่มสาวก่อนวัย หรือไม่แน่ใจ ควรพาลูกเข้ารับการตรวจร่างกายกับกุมารแพทย์ต่อมไร้ท่อทันทีค่ะ เพราะนอกจากตรวจร่างกาย และประเมินการเจริญเติบโตแล้ว แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยตามความเหมาะสมโดยขั้นตอนมี ดังนี้

ตรวจเช็คประวัติ

แพทย์จะทำการซักประวัติเพื่อประกอบการวินิจฉัย เช่น อายุที่เริ่มสังเกตเห็นการขยายของเต้านม ประวัติความสูงที่ผ่านมา การเจ็บป่วยในอดีต ความสูงของพ่อแม่ ประวัติการเข้าสู่วัยหนุ่มสาวของพ่อแม่ และพี่น้อง เนื่องจากพันธุกรรมมีผลต่อการเข้าวัยหนุ่มสาว และมีผลต่อความสูงเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่เต็มที่ รวมทั้งประวัติความผิดปกติอื่น ๆ เช่น อาการปวดศีรษะ การมองเห็น อาการชัก เป็นต้น

ตรวจอายุกระดูก

โดยทำการเอกซเรย์ที่กระดูกข้อมือซ้าย เพื่อประเมินว่ามีอายุกระดูกล้ำหน้ากว่าอายุจริงหรือไม่ ซึ่งจะส่งผลกระทบกับความสูงสุดท้ายเมื่อเป็นผู้ใหญ่

ตรวจเลือดวัดระดับฮอร์โมน

โดยทำการทดสอบฮอร์โมน GnRH Stimulation Test เพื่อวัดระดับฮอร์โมนเพศในร่างกาย

ตรวจสอบอื่น ๆ เพิ่มเติม

แพทย์อาจขอตรวจอย่างละเอียดเพิ่มเติม เช่น การตรวจ MRI แสกนสมอง เพื่อดูว่ามีเนื้องอกในรังไข่หรือสมองหรือไม่ ถ้าตรวจไม่พบสาเหตุแต่มีระดับฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองสูง แพทย์จะทำการรักษาเพื่อชะลอการเข้าสู่วัยหนุ่มสาวก่อนวัยด้วยการฉีดยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง เพื่อช่วยชะลอพัฒนาการ ทำให้การเจริญเติบโตเหมาะสมกับวัย ซึ่งต้องฉีดทุกเดือนจนกว่าอายุกระดูกของเด็กจะเท่ากับอายุจริงหรืออายุที่เหมาะสมกับการเข้าสู่วัยหนุ่มสาว และเมื่อหยุดยาเด็กจะเข้าสู่วัยหนุ่มสาวตามปกติค่ะ

หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกมีภาวะหนุ่มสาวก่อนวัยสิ่งที่ควรทำอันดับแรกคือ ต้องสื่อสารกับลูกอย่างตรงไปตรงมา อธิบายตามความจริง บอกถึงความจำเป็นทั้งข้อดีหากได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี ข้อเสียของการเข้าสู่กระบวนการตรวจวินิจฉัยและรักษาล่าช้าจะเกิดอะไรขึ้น และหมั่นให้ความรู้เรื่องเพศตามความเหมาะสมเพื่อให้เข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างเหมาะสมด้วยค่ะ

Exit mobile version