อุ้มลูก ลูกจะติดมือหรือเปล่า ถ้าไม่อุ้ม จะเป็นอย่างไร

is-it-good-to-hold-baby
การเลี้ยงลูก

Last Updated on 2023 03 24

คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจสับสนเกี่ยวกับการ “อุ้มลูก” บางคนบอกว่าไม่ควรอุ้มเยอะ เดี๋ยวลูกติดมือ บางคนบอกถ้าอุ้มน้อยไป ลูกก็จะกลายเป็นเด็กที่ไม่มีความมั่นคงทางอารมณ์ เอ…คุณพ่อคุณแม่มือใหม่จะเอาอย่างไรกันดี ลำพังอยากอุ้มก็อยาก กลัวลูกติดมือก็กลัว ถ้าคุณแม่ได้อ่านบทความนี้ รับรองเลิกกังวลได้เลย เพราะอะไรไปติดตามกันค่ะ

สาเหตุ ลูกอยากให้อุ้มตลอด 24 ชั่วโมง

ก่อนที่เราจะตัดสินใจว่าจะอุ้มลูกหรือไม่อุ้มดี โน้ตอยากชวนคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจสิ่งที่ลูกเป็นกันก่อนสักนิดค่ะ ว่าเพราะอะไรลูกน้อยถึงต้องการให้คุณแม่อุ้ม

ต้องการเวลาปรับตัว

เพราะทารกเกิดติบโตอยู่ในมดลูกมาเป็นระยะเวลากว่า 9 เดือน ใช้ชีวิตอยู่ในท้องของคุณแม่ คุณแม่ทำอะไร พูดอะไร จะเดิน หรือนั่งนิ่ง ๆ ลูกน้อยก็ไปด้วย และรับรู้ได้หมด ดังนั้น หลังคลอด ลูกน้อยจะยังไม่คุ้นชินกับการที่ต้องอยู่นอกท้องของคุณแม่ เจอกับสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ เสียงของคนอื่น ๆ ที่ไม่คุ้นเคย ลูกน้อยจึงต้องใช้เวลา 3 เดือน โดยประมาณสำหรับการปรับตัวให้ชินกับโลกภายนอกค่ะ

รู้สึกปลอดภัย

เมื่อลูกต้องออกมาสู่โลกภายนอกที่ยังไม่คุ้นเคย การร้องไห้เพื่อให้คุณแม่อุ้มจึงเป็นเรื่องปกติค่ะ เพราะเมื่อใดก็ตามที่คุณแม่มาอุ้มลูก ลูกจะรู้สึกได้ถึงความปลอดภัยและความอบอุ่นที่ได้อยู่ในอ้อมกอดของคุณแม่

คุ้นเคยกับเสียงที่ได้ยิน

เสียงที่ว่า ได้แก่ เสียงหัวใจที่เต้นเป็นจังหวะ และเสียงพูดของคุณแม่ ดังนั้น การอุ้มลูกแนบกับอกอุ่น ๆ จะทำให้ลูกน้อยได้ยินเสียงหัวใจของคุณแม่ เขาจะรู้สึกอุบอุ่นและคุ้นเลย ส่วนใหญ่ลูกจึงมักหลับได้ในอ้อมกอดของคุณแม่นั่นเองค่ะ

ไม่ชินกับการอยู่นิ่ง ๆ

คุณแม่ลองสังเกตดูการดิ้นของทารกในครรภ์ดูนะคะ จะพบว่าขณะที่คุณแม่เคลื่อนไหวร่างกาย ลูกน้อยจะนิ่ง เพราะเขาหลับค่ะ เขารู้สึกเหมือนไกวเปลกล่อให้เขานอน เขาจะนอนหลับได้สบาย ๆ แต่ถ้าเมื่อไหร่คุณแม่อยู่นิ่ง ๆ เป็นเวลานาน ทารกในครรภ์จะดิ้น เขาจะตื่น ก็เหมือนเปลที่ไม่ได้ไกว เพราะฉะนั้นทารกแรกเกิดจึงยังคงติดอยู่กับความรู้เดิมจากในท้องของคุณแม่อยู่ จึงอยากให้คุณแม่อุ้มตลอดเวลา

รู้สึกไม่สบายตัว

ความรู้สึกไม่สบายตัวอาจเกิดจากสภาพภูมิอากาศที่หนาวเกินไป ร้อนเกินไป การแสดงออกเดียวที่จะบอกให้คุณแม่รู้ได้ก็คือ การร้องไห้ ความรู้สึกไม่สบายตัว อาทิ ลูกมีไข้ หรือเจ็บป่วย จริง ๆ จะเรียกอาการนี้ได้อีกอย่างว่าเป็นการปลอบประโลมลูกก็ได้ค่ะ

อ้อนคุณแม่

ใครว่าลูกน้อยที่ยังสื่อสารได้ไม่เป็นคำนั้นจะอ้อนไม่เป็น จากประสบการณ์โน้ตเองบอกได้เลยว่า เขารู้และฉลาดมากกว่าที่คุณแม่คิดเยอะค่ะ เพราะเขารู้ว่าเรารักเขา เมื่อไหร่ก็ตามที่เขาต้องการเรียกร้องความสนใจ เรียกร้องความรักจากคุณแม่ เขาจะร้องไห้ก่อน เมื่อคุณแม่ตอบสนองลูกในเชิงบวกด้วยการอุ้มเขามาแนบอก ลูกก็จะหยุดร้องทันที เขาจะเรียนรู้ว่าวิธีนี้ได้ผล

อุ้มลูกบ่อย ติดมือจริงหรือ

เวลาที่ลูกร้องไห้ต้องการความอบอุ่นจากคุณแม่ คุณแม่ก็ตอบสนองลูกในทันทีด้วยการอุ้มหรือการกอด โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด ถือเป็นเรื่องดีที่สุดค่ะ เมื่อลูกได้รับการตอบสนองในทันทีและเชิงบวก จะส่งผลให้ลูกเป็นเด็กที่มีความมั่นคงทางอารมณ์ เป็นเด็กที่ไม่เรียกร้องความสนใจ เป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะสูง มีน้ำใจ และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

อุ้มลูก แค่ไหน ถึง “พอดี”

มีผลงานการวิจัยได้ออกมาระบุว่า ทารกในวัยแรกเกิด-6 เดือน ทางเดียวที่ลูกจะสื่อสารได้กับคุณพ่อคุณแม่คือ การร้องไห้อย่างเดียว ซึ่งการที่คุณแม่อุ้มลูกถือเป็นการตอบสนองลูกในเชิงบวกค่ะ ไม่ต้องกลัวว่าลูกจะติดมือค่ะ เพราะด้วยตามวัยแล้ว เมื่อลูกโตขึ้นลูกจะร้องไห้น้อยลง ในขณะที่ลูกก็จะมีสุขภาพจิตที่ดีค่ะ ดังนั้นจึงไม่ต้องห่วงว่าลูกจะติดมือนะคะ

ตอนที่โน้ตเพิ่งคลอดลูกใหม่ ๆ ก็สับสนอยู่เหมือนกันค่ะ ว่าจะอุ้มลูกดีหรือไม่อุ้มดี สุดท้ายโน้ตคิดถึงระยะยาวค่ะ อยากให้ลูกมีความมั่นคงทางอารมณ์ (Emotional Quotient) ลูกจะมีความผูกพันกับคุณแม่ เพราะถ้าเทียบระยะเวลาที่เราจะได้อุ้มเขานั้นมีเพียงไม่กี่เดือน เต็มที่อย่างมากก็แค่ 3 ขวบ หลังจากนั้นเมื่อเขาโตขึ้น เราก็ไม่ต้องอุ้มเขาแล้ว เพราะฉะนั้นการอุ้มลูกในตอนนี้ สิ่งที่ได้…คุ้มกว่าเยอะค่ะ


Mommy Note

3,139,233 views

คุณแม่ลูกหนึ่ง ที่ใช้วิธีการเลี้ยงลูกแบบ "Tradigital" แบบดั้งเดิมผสมผสานกับความดิจิทัลในยุคปัจจุบัน เน้นเลี้ยงลูกให้เป็นคนธรรมดาที่มีสุข ติดต่องานได้ที่ e-mail : simplymommynote@gmail.com

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save