อยากให้ลูกสูง แวะทางนี้ กับเทคนิคดี ๆ ได้ผลชัวร์
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า พันธุกรรมหรือ DNA เป็นตัวกำหนดส่วนสูงประมาณ 60 – 80% ของคนเราเลยค่ะ หมายความว่า ถ้าพ่อแม่สูงทั้งคู่ ลูกจะมีโอกาสสูงได้ หรือพ่อแม่ไม่สูงทั้งคู่ ลูกก็มีโอกาสที่จะไม่สูง แต่ถ้าพ่อแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสูง ลูกก็จะมีความสูงระดับกลางๆ หรือสูงกว่าพ่อแม่จากพันธุกรรมแฝงจากรุ่นก่อนหน้าพ่อแม่ และยังพบอีกว่าในระหว่างช่วงการเจริญเติบโตของร่างกายนั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยส่งเสริมปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่จะทำให้ลูกของเราสูงเพิ่มขึ้นได้อีกเช่นกัน วันนี้จึงนำข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับเรื่องการเจริญเติบโตของร่างกายช่วงใดที่พ่อแม่สามารถเพิ่มความสูงของลูก และปัจจัยใดบ้างที่คุณพ่อคุณแม่จะช่วยส่งเสริมลูกให้มีส่วนสูงเพิ่มมากขึ้นได้ ดังนั้นนี้ค่ะ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสูง
พันธุกรรม หรือ DNA
ดีเอ็นเอเป็นปัจจัยหลักที่กำหนดความสูงเลยค่ะ นักวิทยาศาสตร์ได้ระบุยีนที่แตกต่างกันมากกว่า700 ตัวที่กำหนดความสูงของคนเรา ยีนเหล่านี้บางส่วนส่งผลต่อ Growth Plate และบางชนิดส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนการเจริญเติบโต และความสูงของแต่ละคนยังแตกต่างกันตามภูมิหลังทางชาติพันธุ์ที่แตกต่างกันโดยถูกกำหนดเอาไว้แล้วค่ะ
ฮอร์โมน
ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนที่สั่งให้แผ่นการเจริญเติบโตสร้างกระดูกใหม่ขึ้นมาค่ะ ซึ่งฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
ฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone)
สิ่งเหล่านี้สร้างขึ้นในต่อมใต้สมองและเป็นฮอร์โมนที่สำคัญที่สุดสำหรับการเจริญเติบโต ปัญหาสุขภาพบางอย่างสามารถจำกัดปริมาณ Growth Hormone ที่ร่างกายสร้างขึ้น และอาจส่งผลต่อความสูงได้ ตัวอย่างเช่น เด็กที่มีภาวะขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต ตั้งแต่กำเนิดจะเติบโตช้ากว่าเด็กคนอื่นๆ มาก
ไทรอยด์ฮอร์โมน (Thyroid Gland)
โดยเฉพาะฮอร์โมนไทร็อกซิน (Thyroxin) ทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นการเติบโตของกระดูก ถ้าขาดฮอร์โมนตัวนี้ไป ร่างกายจะเตี้ย ไม่สมส่วน
ฮอร์โมนเพศ
ได้แก่ เอสโตรเจน (ฮอร์โมนเพศหญิง) และเทสโทสเตอโรน (ฮอร์โมนเพศชาย) มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตในช่วงวัยรุ่นอย่างมากค่ะ
เพศ
ผู้ชายมักจะสูงกว่าผู้หญิงค่ะ และผู้ชายมีช่วงที่เติบโตนานกว่าผู้หญิง โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ชายที่เป็นผู้ใหญ่จะสูงกว่าผู้หญิงที่โตเต็มที่ 14 ซม.
เด็กผู้หญิง
มีอัตราการเจริญเติบโตเริ่มต้นเมื่ออายุประมาณ 9-10 ปี จะสามารถสูงได้มากที่สุดตอนอายุ 11 ปี ในช่วงก่อนมีประจำเดือน ช่วงเวลานี้เด็กหญิงจะสามารถสูงขึ้นเฉลี่ย 7-10 เซนติเมตร ถือเป็นช่วงโอกาสทองของความสูง และจะสูงขึ้นช้าลงเมื่อมีประจำเดือน จนกระทั้งอายุประมาณ 16-18 ปี ความสูงจะเริ่มคงที่หรือหยุดสูง
เด็กผู้ชาย
มีอัตราการเจริญเติบโตเริ่มเมื่ออายุประมาณ 11 ปี และจะสามารถสูงได้มากที่สุดตอนอายุ 13 ปี และความสูงก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วประมาณ 4-5 ปี จนกระทั่งร่างกายจะค่อยๆ ลดอัตราการเติบโตลงเมื่ออายุ 18-20 ปี
ทำไมร่างกายจึงหยุดสูง
ทารกและเด็ก จะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการเปลี่ยนแปลงของแผ่นการเจริญเติบโตในกระดูก (Growth Plate) คือ บริเวณกระดูกที่มีเนื้อเยื่อ กระดูกที่เจริญเติบโต มักอยู่ที่บริเวณส่วนปลายของกระดูก พบได้เฉพาะในกระดูกเด็กเท่านั้น และเมื่อเด็กเจริญเติบโตไปจนเต็มที่แล้ว ส่วนของ Growth Plate นี้ ก็จะกลายเป็นกระดูกแข็ง เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจะมี “การเจริญเติบโตของการปะทุ” ในช่วงวัยแรกรุ่น หลังจากนั้น แผ่นการเจริญเติบโตจะหยุดสร้างกระดูกใหม่และหยุดเติบโต มือและเท้าหยุดโตก่อน ตามด้วยแขนและขา พื้นที่สุดท้ายที่จะหยุดการเจริญเติบโตคือกระดูกสันหลังค่ะ
วิธีเพิ่มความสูงให้ลูกในช่วงเจริญเติบโต
โภชนาการที่ดี
ในช่วงวัยเจริญเติบโตของเด็กควรทานให้ครบ 5 หมู่ หลากหลาย และครบทั้ง 3 มื้อ ทานผักและผลไม้เพื่อให้ได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต เช่น วิตามิน A ,B12 ,D เป็นต้น แร่ธาตุอย่างแคลเซียมและฟลูออไรด์ช่วยให้กระดูกแข็งแรง ไม่เปราะหักง่าย และโปรตีนเป็นสารอาหารหลักที่ช่วยในการเจริญเติบโต จะได้จากแหล่งอาหาร ได้แก่ นม ไข่ เนื้อสัตว์ พืชตระกูลถั่ว เป็นต้น
ดื่มนม
ควรดื่มนมรสจืดแบบไม่ผสมนมผงปรุงแต่งวันละ 2-3 กล่องหรือ 400-600 มิลลิลิตร ไม่ควรดื่มมากกว่านี้ในแต่ละวัน เพื่อหวังเพิ่มความสูงในช่วงวัยเจริญเติบโตเพราะร่างกายไม่สามารถดูดซึมไปใช้ได้หมด ในน้ำนมอุดมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่ และสารอาหารมากมาย ได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีทำให้ร่างกายและกระดูกแข็งแรง การดื่มนมจะช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูกได้ และยังช่วยเรื่องความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อได้ด้วยค่ะ
ออกกำลังกายเป็นประจำ
เด็ก ๆ ควรได้ออกกำลังกายทุกวัน วันละอย่างน้อย 30 นาที – 1 ชั่วโมง เพื่อช่วยเสริมสร้างข้อต่อกระดูกให้ยืดขยาย กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ก็จะแข็งแรงตามไปด้วย นอกจากนี้ ยังช่วยทำให้ร่างกายกระตุ้นการหลั่งของ Growth Hormone ได้มากขึ้น กีฬาที่ช่วยเพิ่มความสูงได้ ส่วนใหญ่จะเป็นกีฬาประเภทที่ต้องอาศัยการกระโดด และการยืดตัว เช่น กระโดดเชือก เล่นแทรมโพลีน ว่ายน้ำ โหนบาร์ โยคะ บาสเก็ตบอล เป็นต้น
นอนหลับเป็นเวลาและเพียงพอ
ในวัยเด็กที่ร่างกายมีการเจริญเติบโตอยู่นั้น ควรนอนอย่างน้อย 9-11 ชั่วโมง และไม่ควรนอนเกิน 4 ทุ่ม ในขณะหลับสนิท หรือหลับลึกนั้นร่างกายจะมีการหลั่ง Growth Hormone เป็นตัวช่วยกระตุ้นให้กระดูกของลูกเจริญเติบโตมากขึ้นในแนวยาว ช่วยให้ลูกมีความสูงเพิ่มขึ้น
งดน้ำอัดลม และเลี่ยงทานขนม
คุณพ่อคุณแม่ควรงดไม่ให้ลูกดื่มน้ำอัดลม และจำกัดการทานขนม เพราะในน้ำอัดลมมีคาเฟอีน ที่ทำให้ความเป็นกรดในเลือดสูงขึ้น ร่างกายจึงต้องไปดึงเอาแคลเซียมที่กระดูกสันหลังออกมาเพื่อรักษาสภาพความเป็นด่างอ่อนๆในร่างกายเอาไว้ แล้วร่างกายก็จะขับแคลเซียมออกมาทางปัสสาวะ และน้ำอัดลมก็ทำให้เสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนด้วย ส่วนขนมเสี่ยงต่อการเพิ่มโรคและน้ำหนักตัวที่เกิน
จัดท่าทางให้ถูกต้อง
พ่อแม่สามารถช่วยปรับท่าทางการยืน เดิน นั่ง นอน ของลูก เพื่อบุคลิกภาพที่ดีและส่วนสูงที่เพิ่มขึ้นได้ค่ะ เพราะท่าทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น เดินหลังค่อม นั่งหลังงอ อาจทำให้กระดูกคดงอผิดรูป เสียบุคลิกภาพ และดูเตี้ยกว่าปกติ การนอนงอตัว ก็จะทำให้กระดูกสันหลังคดงอ ร่างกายเติบโตไม่เต็มที่ได้ค่ะ
อัตราการเพิ่มความสูงในแต่ละช่วงวัย
อัตราการเพิ่มความสูงในแต่ละช่วงวัย | ||
---|---|---|
อายุ | อัตราการเพิ่มความสูง (เซนติเมตร / ปี) | |
แรกเกิด – 1 ปี | 23 – 27 เซนติเมตร | |
1 – 2 ปี | 10 – 12 เซนติเมตร | |
2 – 4 ปี | 6 – 7 เซนติเมตร | |
ก่อนเข้าสู่วัยรุ่น | 4 – 5.5 เซนติเมตร | |
ช่วงวัยรุ่น (เด็กชาย) | 7 – 10 เซนติเมตร | |
ช่วงวัยรุ่น (เด็กหญิง) | 8 – 12 เซนติเมตร |
สำหรับช่วงวัยรุ่น เด็กจะมีเวลาประมาณ 1 – 2 ปีที่จะมีการเพิ่มความสูงสูงสุด (Peak Pubertal Growth Spurt)
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสูง พันธุกรรมเป็นสิ่งที่เราเปลี่ยนแปลงแปลงไม่ได้ แต่ในส่วนของปัจจัยสิ่งแวดล้อมคุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยเพิ่มแรงบวกให้ลูกสูงอย่างเต็มศักยภาพได้ในช่วงการเจริญเติบโต ด้วยวิธีการที่สำคัญ คือด้านโภชนาการ อาหารที่ช่วยเพิ่มความสูง จะมีอะไรบ้างนั้น คุณแม่สามารถติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ใน เมนูเพิ่มความสูงลูก เอาชนะ DNA ได้นะคะ