สร้างพ่อแม่ที่มีอยู่จริง จะส่งผลให้ลูกมี EF และ EQ ที่ดี

สร้างพ่อแม่ที่มีอยู่จริง จะส่งผลให้ลูกมี EF และ EQ ที่ดี
การเลี้ยงลูก

Last Updated on 2023 03 15

“พ่อแม่ที่มีอยู่จริง” ไม่ได้หมายความว่า คุณพ่อหรือคุณแม่ที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่พ่อแม่ที่มีอยู่จริง หมายถึง พ่อแม่ที่ลูกรัก เคารพ ยอมรับ และผูกพัน การสร้างพ่อแม่ที่มีอยู่จริงจะสัมพันกับ EF (Executive Function) และ สร้าง EQ (Emotional Quotient) ความฉลาดทางอารมณ์หรือความมั่นคงได้อย่างไร วันนี้โน้ตจะชวนมาทำความเข้าใจกันค่ะ

EF (Executive Function) คือ อะไร?

EF (Executive Function) คือ กระบวนการทางความคิดขั้นสูงของสมองส่วนหน้าที่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับความคิด ความรู้สึก และการกระทำ เป็นทักษะที่มีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตและความสำเร็จในชีวิต คนเราไม่ได้มี EF มาแต่กำเนิด แต่ EF สามารถพัฒนาได้ โดยช่วงที่ควรพัฒนา EF ให้ลูกจะอยู่ที่ช่วงอายุ 4-6 ปี ซึ่งทักษะ EF แบ่งออกเป็น 2 ขั้น ได้แก่

ทักษะขั้นพื้นฐาน (Basic) 3 ด้าน

ได้แก่ ความจำเพื่อการใช้งาน (Working Memory), ความยั้งคิดไตรตรอง (Inhibitory Control) และ การยืดหยุ่นทางความคิด (Shifting หรือ Cognitive Flexibility)

ทักษะขั้นสูง (Advance) 6 ด้าน

ได้แก่ การเอาใจใส่และจดจ่อ (Focus หรือ Attention), การควบคุมอารมณ์ (Emotional Control), การติดตามและประเมินตนเอง (Self-Monitoring), การมีความคิดริเริ่มและลงมือทำ (Initiating), การวางแผน จัดระบบ และการดำเนินการ (Planning and Organizing) และ มุ่งมั่นกับเป้าหมาย (Goal – Directed Persistence)

EQ (Emotional Quotient) คือ อะไร?

EQ (Emotional Quotient) หรือ ความฉลาดทางอารมณ์ คือ คนที่มีมีความเข้าใจอารมณ์ของตัวเองได้เป็นอย่างดี มีสติรู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเอง มีความมั่นคงทางอารมณ์ รู้จักการควบคุมและจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้ดี รวมไปถึงสามารถควบคุมการแสดงออกให้ถูกต้องกาลเทศะได้อีกด้วย สามารถปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้ดีและเหมาะสม

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ความฉลาดทั้ง 11 ด้าน หรือ 11 Quotients พ่อแม่ควรรู้ เด็กควรมี พร้อมเว็บทดสอบ IQ

วิธีการสร้างพ่อแม่ที่มีอยู่จริง – สำหรับวัย 0-2 ปี แรก

จากข้างต้นที่กล่าวมา เราได้รู้จักแล้วว่า EF กับ EQ คืออะไร คราวนี้เราจะมาดูกันเกี่ยวกับวิธีการที่จะทำให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่มีอยู่จริงกันค่ะ คิดว่าเมื่ออ่านจบแล้วคุณพ่อคุณแม่ถึงบางอ้อแน่นอน ว่าสุดท้ายแล้ว EF กับ EQ เชื่อมโยงกับเรื่องนี้ได้อย่างไร

ตามทฤษฎีพัฒนาการทางจิตสังคมของ (Psychosocial Development) อีริก อีริกสัน นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน ได้ระบุไว้ว่า

“พัฒนาการขั้นแรกของมนุษย์ (ช่วงวัย 0-2 ปีแรก) ควรเริ่มจากการที่คุณพ่อคุณแม่ต้องสร้างความเชื่อใจ (Trust) ให้กับลูกก่อน โดยมุ่งสร้างความสัมพันธ์ (Attachment) ซึ่งเกิดขึ้นจากความรัก และแสดงออกผ่านการให้ความสนใจ การดูแลอย่างใกล้ชิด รวมถึงตอบสนองต่อความต้องการของลูกขั้นพื้นฐาน

หรือ สามารถสรุปได้ง่าย ๆ ว่า “คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นผู้ที่ลูกสามารถพึ่งพิงได้ในยามที่เขายังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้นั่นเอง” ซึ่งได้แก่

  • เมื่อลูกร้องไห้ คุณพ่อคุณแม่เข้าไปอุ้มและปลอบประโลมอย่างอ่อนโยน
  • เมื่อลูกหิวนม คุณแม่ก็ให้นมลูกกิน
  • เมื่อลูกรู้สึกเฉอะแฉะ คุณแม่ก็เปลี่ยนผ้าอ้อมให้
  • เมื่อลูกมีไข้ ไม่สบาย คุณพ่อคุณแม่ก็พาไปรักษา ดูแลจนหายดี

การที่ลูกยังเล็ก คุณพ่อคุณแม่สามารถบอกรักลูกได้ด้วยการสัมผัส การกอด การหอม การอุ้ม และการเล่านิทาน แม้ว่าลูกยังเล็กมาก ยังไม่อาจที่จะสื่อสารได้เป็นภาษาแต่ถ้าลูกได้เห็นคุณพ่อคุณแม่ปรากฏตัวอย่างสม่ำเสมอ และสามารถตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของลูกได้ ลูกจะรับรู้ได้เลยค่ะว่า “คุณพ่อคุณแม่มีอยู่จริง” เขาสามารถเชื่อใจคุณพ่อคุณแม่ได้ เมื่อโตขึ้น เขาก็จะเชื่อใจสิ่งต่าง ๆ จากโลกภายนอกได้เช่นกัน

วิธีการสร้างพ่อแม่ที่มีอยู่จริง – ช่วงวัย 4 ปีขึ้นไป

สำหรับเด็กในวัยนี้ คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจจะพอทราบกันดีว่า เขาเริ่มที่จะมีความคิดเป็นของตัวเอง อยากทำอะไรด้วยตัวเอง เริ่มที่จะสื่อสารได้มากขึ้น แต่การอธิบายคุณพ่อคุณแม่ควรใช้เป็นข้อความที่สั้นกระชับนะคะ เพื่อให้ลูกไม่หลุดโฟกัส ซึ่งวิธีการสร้างการมีอยู่จริง คุณพ่อคุณแม่จะต้อง…

มีเวลาคุณภาพให้ลูก

การมีเวลาคุณภาพไม่จำเป็นต้องอาศัยเวลาเยอะค่ะ เพียงแค่สักวันละ 10-20 นาทีก็พอ การมีเวลาคุณภาพเพียงแค่คุณพ่อคุณแม่วางมือถือลง แล้วพูดคุยกับลูก เล่นกับลูก ลองพิจารณาลูกแล้วดูซิว่าลูกได้เติบโตไม่มากเท่าไหร่แล้ว แม้ในวันที่เขาโตเป็นวัยรุ่น เขาอาจจะไม่อยากมานั่งจ้องตาซึ้ง ๆ กับเรา แต่เชื่อเถอะค่ะว่า โซ่ทองระหว่างลูกกับคุณพ่อคุณแม่นั้นยังทำงานเสมอ และอบอุ่นทุกครั้งที่ได้อยู่ด้วยกัน

เปิดใจฟังลูกจนจบ

แม้ว่าระหว่างทางที่ลูกเล่า คุณพ่อคุณแม่อยากจะสอนสั่ง อยากจะดุใจจะขาด แต่การฟังลูกให้จบก็จะทำให้เราเข้าใจความคิดลูกมากขึ้น หากเราแทรกการสอนสั่งไปก่อนที่ลูกจะพูดจบ ลูกอาจจะบอกว่า “หนูไม่เล่าแล้ว” ก็เป็นได้ ครั้งแรกลูกอาจจะไม่เล่า แต่ไม่ได้ว่าไม่มีอะไรจะเล่า คุณพ่อคุณแม่รอได้ค่ะ เพราะอย่างน้อย ถ้าคราวนี้เราฟังเขาพูดจนจบ คราวต่อไปลูกจะกล้าเล่าได้ง่ายขึ้น และเร็วขึ้น

ยอมรับผิด

เพราะคุณพ่อคุณแม่ก็เป็นเพียงมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง ย่อมมีผิดพลาดกันได้ แต่สำคัญคือ ต้องยอมรับผิดเป็น และพูด “ขอโทษ” ลูกได้ แบบนี้จะทำให้ลูกยอมรับและเคารพในตัวคุณพ่อคุณแม่มากกว่าเดิมอีกค่ะ

เล่าเรื่องของตัวเองให้ลูกฟังบ้าง

เชื่อเถอะค่ะว่าลูกทุกคนก็อยากจะรู้ว่าเมื่อก่อนคุณพ่อคุณแม่เคยเจอกับอะไรมาบ้าง มีประสบการณ์ที่ผ่านมาเหมือนเขาหรือเปล่า ยิ่งถ้าเรื่องนั้น ๆ มีบนเรียนชีวิตแทรกอยู่และตรงกับสิ่งที่เขาไปเจอมาก็จะยิ่งดีใหญ่ การเปิดความรู้สึกในเรื่องนั้น ๆ ให้ลูกฟังก่อน ก็จะทำให้ลูกได้รู้ว่าคุณพ่อคุณแม่ยินดีและเต็มใจที่จะฟังเรื่องประมาณนี้ของลูกเช่นกัน

เข้าใจช่วงวัยของลูก

เข้าใจว่าวัยใดของลูก ลูกต้องการอะไร เราต้องปลูกฝังเรื่องไหน หรือต้องให้ความเข้าใจกับลูกในเรื่องใดบ้าง รวมถึงเป้าหมายของลูกในวัยนั้น ๆ คืออะไร เช่น ลูกอยู่ในวัยทำงานแล้วแต่ยังมีคุณแม่ก็ยังไปรับไปส่งลูก เป็นต้น

มองเห็นคุณค่าในตัวลูก

เพราะเด็กแต่ละคนเกิดมาพร้อมทักษะ ความสามารถ และพรสวรรค์ที่ต่างกัน บางคนไม่ได้มีความสามารถในด้านที่สังคมส่วนใหญ่นับถือ แต่เขาอาจมีความสามารถอื่น ๆ ที่แฝงอยู่ ซึ่งถ้าหากคุณพ่อคุณแม่มองเห็นคุณค่าความสามารถของลูกในจุดนี้ ลูกก็จะรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า มีตัวตน และทำมันจนเป็นที่ยอมรับของสังคม ลูกก็จะมองเห็นคุณค่าในตัวคุณพ่อคุณแม่เช่นกัน

ยอมทำเรื่องไร้สาระบ้าง

เด็ก ๆ มักจะเป็นวัยที่รักการเรียนรู้ อยากลองผิด ลองถูก การที่คุณพ่อคุณแม่ได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ไปกับลูก เช่น ถ้าเป็นวัยเด็ก อาจเป็นการระบายสีน้ำเลอะ ๆ เล่นดินเล่นทราย ทำสวน เล่นบ่อบอล ฯลฯ แบบนี้ก็จะทำให้ลูกยอมรับในตัวคุณพ่อคุณแม่มากขึ้น

ให้ความช่วยเหลือ

ให้ความช่วยเหลือเมื่อลูกต้องการ คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกได้ลองแก้ปัญหาด้วยตัวเองก่อน แล้วค่อยให้ความช่วยเหลือเมื่อลูกออกปาก แต่ถ้าบางเรื่องที่เราไม่สามารถแก้ไขให้ได้ ก็สามารถให้กำลังใจและอยู่ข้าง ๆ เขาได้ค่ะ

ให้อภัยลูกเมื่อลูกผิดพลาด

เมื่อลูกทำผิด คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรผลีผลามต่อว่าลูก แต่ควรสอบถามลูก “รับฟัง” และ “พูดคุยถึงแนวทางการแก้ปัญหา” ก่อน แล้วค่อยสอนลูก ไม่ใช่ลงโทษนะคะ ให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจว่า “ไม่มีใครอยากทำอะไรผิดพลาด เพราะบทลงโทษมีอยู่ในตัวมันแล้ว ไม่ควรพูดซ้ำเติมเรื่องเดิม ๆ ให้เป็นการบั่นทอนจิตใจลูก”

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ พอจะเห็นภาพกันไหมว่า EF กับ EQ สอดคล้องกับเรื่องนี้อย่างไร จากที่กล่าวมาข้างต้น การเลี้ยงลูกจะเน้นในเรื่องของการพูดคุยที่เป็นเหตุผล เป็นเรื่องของการวิเคราะห์เหตุการณ์ที่ผิดพลาดเพื่อหาทางแก้ไข และการให้อภัยลูกเมื่อลูกทำผิด และอีกหลาย ๆ เรื่อง เมื่อคุณพ่อคุณแม่ทำให้เขาเห็นว่าลูกมีตัวตน มีคุณค่าสำหรับคุณพ่อคุณแม่แล้ว ลูกก็จะมีอยู่จริงสำหรับคุณพ่อคุณแม่ด้วยเช่นกัน


Mommy Note

3,139,233 views

คุณแม่ลูกหนึ่ง ที่ใช้วิธีการเลี้ยงลูกแบบ "Tradigital" แบบดั้งเดิมผสมผสานกับความดิจิทัลในยุคปัจจุบัน เน้นเลี้ยงลูกให้เป็นคนธรรมดาที่มีสุข ติดต่องานได้ที่ e-mail : simplymommynote@gmail.com

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save