ลูกไม่อยากไปโรงเรียน พร้อมวิธีรับมือ

ลูกไม่อยากไปโรงเรียน พร้อมวิธีรับมือ
การเลี้ยงลูก

Last Updated on 2021 12 15

ปัญหาเด็กไม่ยอมไปโรงเรียนเป็นเรื่องที่หลายครอบครัวกำลังเผชิญโดยเฉพาะเด็กเล็กในวัยอนุบาล ซึ่งเกิดขึ้นไม่น้อยเลยทีเดียว แต่การจะแก้ปัญหาได้ถูกจุด คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ถึงสาเหตุที่แท้จริงก่อน ซึ่งสาเหตุมีอะไรบ้างและต้องรับมืออย่างไร ไปติดตามกันค่ะ

ภาวะไม่ยอมไปโรงเรียน (School Refusal)

ถือเป็นภาวะเร่งด่วนทางจิตเวชเด็ก เพราะเมื่อเด็กเกิดการปฏิเสธโรงเรียนการที่จะนำเด็กกลับไปโรงเรียนนั้นจะยากมากขึ้นตามระยะเวลาที่เด็กหยุดเรียนไป ในกรณีบางรายที่หยุดเรียนเป็นปี สิ่งนี้จะก่อให้เกิดผลกระทบทั้งต่อเด็กและครอบครัวอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านการเรียนหรือความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน ๆ รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวและตัวเด็กเองด้วย

ลูกไม่อยากไปโรงเรียน สาเหตุ และวิธีรับมือ

จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าการที่คุณพ่อคุณแม่จะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดนั้น จำเป็นที่จะต้องรู้ถึงสาเหตุเสียก่อน ซึ่งวันนี้เรามีแนวทางมาให้คุณพ่อคุณแม่ ดังนี้

ถามลูกถึงสาเหตุที่แท้จริง

ข้อนี้ให้คุณ่พอคุณแม่หาจังหวะดี ๆ ดูขณะที่ลูกอารมณ์ดีแล้วค่อยสอบถามลูกถึงสาเหตุที่แท้จริงว่า “ทำไมลูกถึงไม่อยากไปโรงเรียน?” แรก ๆ ลูกอาจจะไม่บอก หรือบอกก็บอกเป็นนัย ๆ ไม่บอกหมด หากเกิดกรณีเช่นนี้ คุณพ่อคุณแม่ต้องแสดงความเชื่อใจให้ลูกเห็นแล้วล่ะค่ะว่า คุณพ่อคุณแม่พร้อมที่จะเชื่อลูกทุกอย่างขอเพียงพูดความจริง และคุณพ่อคุณแม่ก็สามารถหาทางแก้ไขให้ลูกได้

แนะนำลูกให้หาเพื่อนสนิทซักคน

เริ่มจากให้คุณพ่อคุณแม่อธิบายคำจำกัดความของคำว่า “เพื่อนสนิท” ให้ลูกฟัง พร้อมกับแนะนำให้ลูกมองหาเพื่อนสนิทซักคนก็พอ โดยให้ลูกเป็นคนหาด้วยตัวเอง เพราะหากลูกมีเพื่อนสนิทก็จะทำให้ลูกอยากไปเจอเพื่อน ไปเล่นกับเพื่อนที่เขาไว้ใจที่โรงเรียน ลูกจะรู้สึกสนุกกับการไปโรงเรียนมากขึ้น

หาแรงจูงใจให้ลูก

เมื่อลูกไปโรงเรียนได้ซักพัก ให้คุณพ่อคุณแม่ลองมองหาสิ่งที่ลูกชอบหรือดูแล้วลูกมีความกระตือรือร้นที่จะทำสิ่งนั้นที่โรงเรียน อาจเป็นการได้เล่นของเล่น การได้เรียนวิชาที่ชอบ หรือแม้แต่การได้วาดรูปพร้อมกับเพื่อน ๆ ในห้อง การมีแรงจูงใจจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้ลูกรักที่จะไปโรงเรียนทุกวันได้เป็นอย่างดีทีเดียว

ไปรับลูกให้ตรงเวลา

ไม่ควรโกหกลูกเด็ดขาดไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด ในกรณีนี้คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรโกหกลูกเรื่องเวลา แต่ควรบอกลูกและอธิบายให้ลูกรู้ไปเลยว่า ลูกต้องไปเรียนกี่โมง เลิกเรียนกี่โมง และคุณแม่จะมารับกี่โมง เหล่านี้จะทำให้ลูกรู้จักคิดวางแผนว่าระหว่างที่รอคุณแม่อยู่นั้นจะทำอะไรดี เช่น ไปวิ่งเล่นกับเพื่อน หรือจะนั่งอ่านหนังสือ เป็นต้น
ในการไปรับลูกคุณแม่ควรระบุให้ลูกรู้เลยก็ดีค่ะ เช่น “เข็มยาวถึงเลข xx เดี๋ยวแม่ก็มารับค่ะ” เพื่อเป็นการป้องกันลูกงอแง ที่สำคัญ ได้ฝึกให้ลูกรู้จักและเรียนรู้การรอคอยได้อีกด้วยค่ะ

พาลูกไปเล่นที่สนามเด็กเล่นในโรงเรียน

เพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคยให้กับเด็ก ให้เขารู้สึกว่าการมาโรงเรียนไม่ใช่เรื่องน่าเบื่อ กลับกันที่โรงเรียนมีอะไรให้ลูกได้เรียนรู้และสนุกมากกว่าที่บ้านหลายร้อยเท่า

ห้ามขู่ลูกว่า “เดี๋ยวครูตี” เด็ดขาด

หากคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกทำการบ้าน อ่านหนังสือตามที่คุณครูได้มอบหมายไว้ให้ แต่ลูกยังติดการเล่นอื่น ๆ อยู่ คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรขู่ลูกว่า “เดี๋ยวครูตีนะ” แบบนี้จะยิ่งกลายเป็นการปลูกฝังให้ลูกเกลียดคุณครู (ทั้งที่ความจริงแล้วครูอาจไม่ได้มีพฤติกรรมแบบนี้เลย) และที่สำคัญ คือ จะทำให้ลูกไม่อยากไปโรงเรียน เพราะฉะนั้น คุณแม่ควรแจ้งลูกล่วงหน้าก่อนว่า “อีก 5 นาที เลิกนะคะ” และเมื่อครบตามเวลาก็ค่อยให้ลูกไปทำการบ้านค่ะ

**ความจริงแล้ว ไม่ควรบังคับให้ลูกทำตามด้วยการ “การขู่” ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคุณครู หรือตำรวจ เช่น เดี๋ยวให้ตำรวจจับ เนื่องจากจะเป็นการปลูกฝังให้เด็กกลัวตำรวจไปโดยปริยาย และที่สำคัญคือ จะทำให้พัฒนาการของลูกถดถอย

หาขนมไปฝากครูและเพื่อนบ้าง

การหาขนมไปฝากครูและเพื่อน ๆ นั้นนับเป็นการสอนลูกให้เป็นเด็กมีน้ำใจอีกแบบหนึ่ง นอกจากนี้ยังส่งผลดีต่อเด็ก เพราะเด็กก็จะได้รับการยอมรับจากเพื่อน แต่ก็ควรทำเป็นครั้งคราวก็พอค่ะ

สะกดจิตลูกเชิงบวก (NLP)

NLP ย่อมาจาก Neuro-Linguistic Programming ซึ่งเป็นการใช้ 3 ส่วน คือ ประสาทวิทยา (Neurology), ภาษา (Language) และการโปรแกรม (Programming) ที่จะส่งผลต่อการสร้างประสบการณ์ของมนุษย์

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างสม่ำเสมอคือ การพูดกับลูกในเชิงบวก ไม่ว่าจะเป็นตั้งหลังตื่นนอน กินข้าว อาบน้ำ หรือแม้กระทั่งก่อนเข้านอน เมื่อลูกได้ยินคุณพ่อคุณแม่พูดอย่างนี้ในทุก ๆ วัน ลูกก็จะซึมซับความคิดดี ๆ ของคุณพ่อคุณแม่เองโดยอัตโนมัติ

เปิดเทอมวันแรก อยู่เล่นกับเขาก่อน

เป็นธรรมดาของเด็ก ๆ ที่ใจหายเมื่อต้องจากคุณแม่มาโรงเรียน และยังไม่มีเพื่อนสนิท อยู่กับคนที่ยังไม่คุ้นเคย ดังนั้นให้คุณแม่อยู่กับลูกก่อนซักระยะ ทั้งนี้ ควรปรึกษาคุณครูก่อนนะคะว่าสามารถอยู่ได้หรือไม่ เพราะบางโรงเรียนไม่อนุญาต แต่ถ้าอยู่ได้ก็จะเป็นการทำให้ลูกได้อุ่นใจมากขึ้น

ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบลูกหลังเลิกเรียน

ข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญ ไม่แพ้ข้ออื่น ๆ เลย หลังเลิกเรียนให้คุณแม่ถามลูก เช่น วันนี้เรียนอะไรบ้าง? สนุกไหม? หนูได้ทำกิจกรรมอะไรบ้าง? เป็นต้น เพราะสิ่งนี้จะทำให้ลูกรู้สึกว่าคุณแม่ไม่ได้ทิ้งเขา ยังห่วงใยเขาเสมอ ตอนแรกก็ถามน้องมินในหลายคำถามเลยค่ะ มาตอนนี้แม่โน้ตแค่สตาร์ทมาคำถามแรก น้องมินก็เล่ายาวแล้วค่ะ เป็นอันว่ารู้กันไม่ต้องถามมาก น้องมินจัดให้^^

คุณแม่ควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมและความรู้สึกของลูกหลังกลับจากโรงเรียนด้วยนะคะ เพราะหากมีอะไรที่ทำให้ลูกไม่มีความสุขกับการไปโรงเรียนแล้วล่ะก็ คุณแม่ควรเข้าไปแก้ไขทันที ซึ่งถ้าปล่อยไว้ลูกอาจไม่อยากไปโรงเรียนอีกเลย ซึ่งกว่าจะเกลี้ยกล่อมให้มาเรียนได้นั้นจะยากมากทีเดียว


Mommy Note

3,139,232 views

คุณแม่ลูกหนึ่ง ที่ใช้วิธีการเลี้ยงลูกแบบ "Tradigital" แบบดั้งเดิมผสมผสานกับความดิจิทัลในยุคปัจจุบัน เน้นเลี้ยงลูกให้เป็นคนธรรมดาที่มีสุข ติดต่องานได้ที่ e-mail : simplymommynote@gmail.com

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save