Site icon simplymommynote

ลูกแหวะนม อาการปกติหรือต้องระวัง พร้อมวิธีรับมือ

baby_regurgitate_after_feed

baby_regurgitate_after_feed

ลูกแหวะนม หรือ สำรอกนม พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด ซึ่งคุณแม่จะเห็นว่าลูกมีอาการแหวะนมเล็กน้อย หรือบางครั้งอาจออกมาทั้งทางจมูกและปากจนคุณแม่ตกใจหลังมื้อนม หรืออาจเกิดขึ้นระหว่างที่เรอ ซึ่งน้ำนมที่ออกมาอาจมีลักษณะเป็นลิ่มคล้ายเต้าหู้ เนื่องจากนมไปสัมผัสกับน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ทำให้คุณพ่อคุณแม่เกิดความกังวลใจว่าน้ำนมไม่ย่อย หรือนมที่ให้ลูกนั้นไม่ดีหรือเปล่า และอาจกังวลไปถึงเรื่องความเจ็บป่วยของลูก วันนี้เราจึงมีข้อมูลมาฝากกันค่ะ

อาการ ลูกแหวะนม

อาการแหวะนมในทารกเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ โดยมีอาการดังนี้

ผู้ดูแลต้องระวังการสำลัก เพราะโดยธรรมชาติในเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน กล้ามเนื้อหูรูด บริเวณหลอดอาหาร และกระเพาะยังเจริญไม่เต็มที่  อาการเหล่านี้จะหายไปหากให้ลูกกินนมในปริมาณที่เหมาะสมกับวัย

ปริมาณนมที่เหมาะสมแต่ละวัย

การให้นมที่เหมาะสมกับลูกในแต่ละช่วงวัย เป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่ควรรู้ ดังนี้

ทารกแรกเกิด – 3 เดือน

ไม่ควรกินนมถี่เกินกว่า 8-10 มื้อต่อวัน หรืออาจจะลดปริมาณนมลงและป้อนบ่อยขึ้นในกรณีที่เป็นนมขวด

ทารกอายุ 3-6 เดือน

ไม่ให้ถี่เกินกว่า 6 มื้อต่อวัน สำหรับนมขวด

ลูกแหวะนม เกิดจากสาเหตุใด

ลูกแหวะนมสามารถเกิดได้จากสาเหตุดังนี้

ลูกกินนมมากเกินไป

เช่น ป้อนนมให้ลูกบ่อยมากกว่าทุก 2-3 ชั่วโมง ซึ่งระบบย่อยอาหารของลูกยังไม่สมบูรณ์เต็มท

กล้ามเนื้อหูรุดยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่

กล้ามเนื้อหูรูดระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารยังทำงานไม่สมบูรณ์และยังปิดไม่สนิท รวมถึงนมเป็นของเหลว จึงสามารถไหลย้อนจากกระเพาะอาหารขึ้นมาสู่หลอดอาหารและออกมาทางปากได้ง่าย

**หากหลังลูกแหวะนมยังสามารถดูดนมต่อได้ตามปกติ

ดูอารมณ์ดี ถือว่าปกติ ไม่อันตราย และไม่ส่งผลให้ลูกขาดสารอาหาร

อาการแหวะนมที่ผิดปกติ

สำหรับอาการแหวะนมที่ผิดปกติที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง คือ นมที่ลูกแหวะออกมามีสิ่งเจือปนอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีเลือด หรือมีสีเหลืองของน้ำดี หรือมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ และลูกมีน้ำหนักไม่เพิ่มตามเกณฑ์มาตรฐาน หรือมีอาการอาเจียนพุ่ง หากมีอาการเหล่านี้ควรนำลูกไปพบแพทย์โดยด่วนเพื่อตรวจอย่างละเอียด

การดูแลและป้องกันการแหวะนม

อาการแหวะนมในทารกนับเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ปกติ แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยให้ลูกสบายตัวขึ้นได้ และป้องกันไม่ให้ลูกสำลักนม ด้วยวิธีการเหล่านี้

จับลูกเรอบ่อยๆ

คุณแม่ควรจับลูกเรอทั้งระหว่างกินนม และหลังมื้อนม ในท่าที่ให้ลูกตัวตั้งขึ้น เช่น ท่านั่งหรืออุ้มพาดบ่า เพราะการให้ลูกอยู่ในท่าแนวตั้งจะช่วยลดโอกาสที่นมจะไหลย้อนขึ้นมาได้

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
5 วิธีจับลูกเรอ ได้ผลแน่ คุณแม่ยิ้มได้

สังเกตการดูดนมของลูก

ถ้าไล่ลม จับเรอแล้วลูกยังแหวะ หรือแหวะก่อนจะจับเรอ คุณพ่อคุณแม่ต้องมาดูสาเหตุอื่น เช่น ลูกดูดนมเร็ว หรือดูดนมนานหรือไม่ เพราะหากเป็นเช่นนั้นลูกจะได้ลมเข้าท้องไปเยอะ จึงเป็นเหตุให้ไล่ลมไม่หมด

หลีกเลี่ยงการกดบริเวณท้องของลูก

หรือเปลี่ยนผ้าอ้อมในช่วงที่กำลังอิ่ม เพราะอาจไปกระตุ้นให้นมที่อยู่ในกระเพาะไหลย้อนขึ้นมาได้

ป้อนนมในปริมาณที่เหมาะสม

เมื่อลูกร้องงอแงสัญชาตญาณแม่มือใหม่อาจจับลูกป้อนนมทันทีเพราะคิดว่าลูกร้องเพราะหิว คุณแม่อาจลองหาสามารถที่ลูกร้องเนื่องจากสาเหตุอื่นดูก่อน เพื่อที่ลูกจะได้ไม่ Overfeeding จนเกินไป

หลีกเลี่ยงการนอนทันทีหลังมื้อนม

เมื่อลูกกินนมเสร็จควรเว้นระยะห่างการวางลงนอนประมาณ 30 นาที แล้วจึงค่อยนำลูกวางลง หรือหากลูกหลับในขณะให้นม อาจจับศีรษะลูกให้ยกสูงขึ้นเล็กน้อย และจับตะแคงขวาสักครึ่งชั่วโมง เพื่อให้ส่วนบนของกระเพาะซึ่งอยู่ด้านซ้ายอยู่สูงกว่าส่วนอื่น นมก็จะไหลย้อนขึ้นยากหน่อย

สังเกตอาการเพื่อแยกแยะ

คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตและแยกแยะระหว่างอาการแหวะนมกับอาเจียน หากอาเจียนพุ่ง และน้ำหนักมีปัญหา ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ

ลูกแหวะนม อาการเหล่านี้จะค่อย ๆ หายไปเองตามธรรมชาติ เมื่อลูกอายุได้ 3 – 4 เดือน ที่กล้ามเนื้อคอของลูกเริ่มแข็งแรง ทำให้ลูกควบคุมการเรอได้เองบ้างแล้ว แต่ถ้าลูกยังมีอาการแหวะนมทุกมื้อ หรือน้ำหนักลด ไม่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ คุณพ่อคุณแม่ควรต้องนำไปพบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไปค่ะ

Exit mobile version