เชื้อราในปากทารก ฝ้าขาว เกิดจากอะไร? รักษาอย่างไร?
เด็กทารกในช่วง 4 สัปดาห์แรกหลังคลอด คุณพ่อคุณแม่มักจะเจอกับปัญหาเชื้อราในปากทารกขึ้นได้ ซึ่งฝ้าขาวที่เกิดขึ้นในปากของลูกน้อยนั้นส่งมาจากคุณแม่โดยตรงในตอนที่คลอดออกมานั่นเอง เชื้อราที่พบเห็นนั้นไม่ว่าจะเช็ดอย่างไรก็ยังคงพบเห็นได้อยู่เสมอ ทางที่ดีควรพบแพทย์เพื่อทำการประเมินหาทางรักษาคุณพ่อคุณแม่จะได้สบายใจ วันนี้เรามีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องเชื้อราในปากทารกมาฝากทุกครอบครัวกันค่ะ
เชื้อราในปากทารก คืออะไร?
“เชื้อราในปากทารก” หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “Candida Albicans” เป็นชนิดของเชื้อราที่อาศัยอยู่ในบริเวณลำไส้ ช่องคลอด ปาก ลิ้น กระพุ้งแก้ม เพดานปาก บริเวณริมฝีปาก และบริเวณคอของมนุษย์ ถึงแม้ว่าเชื้อราชนิดนี้จะไม่เป็นอันตราวหรือแพร่กระจายได้แต่มีความแข็งแรงมาก อึดต่อการรักษา ซึ่งมักพบในลักษณะฝ้าขาวและส่วนมากจะเกิดขึ้นกับทารกหลังคลอด ในเด็กบางคนอาจเกิดการระคายเคืองขึ้นได้จนทำให้ดูดนมจากเต้าน้อยลง
เชื้อราในปากทารก อาการเป็นอย่างไร?
อาการของเชื้อราในปากทารกที่สามารถพบเจอได้ทั่ว ๆ ไปมีอยู่หลากหลายอาการ ซึ่งเด็ก แต่ละคนมักจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไป เชื้อราที่เกิดขึ้นภายในปากจะใช้เวลาค่อนข้างหลายวันก่อนที่จะแสดงอาการออกมาให้คุณพ่อคุณแม่ได้พบเจอ อาการที่พบเจอได้บ่อย ๆ มีดังนี้
เกิดฝ้าขาว
สังเกตเห็นฝ้าสีขาวในบริเวณลิ้น, กระพุ้งแก้ม, เหงือก หรือในเด็กบางคนอาจเจอได้ในต่อมทอนซิล, บริเวณคอ เป็นต้น
เกิดแผลในช่องปาก
แผลที่เกิดขึ้นในช่องปากของทารกมักจะมีเลือดไหลออกมาด้วยเล็กน้อย
ปากแห้งและปากแตก
เชื้อราในปากทารกส่วนมากแล้วจะมีอาการปากแห้ง ปากแตก มีรอยแตกบริเวณมุมปากร่วมด้วยเช่นเดียวกัน
อาการแทรกซ้อน เชื้อราในปากทารก
อาการแทรกซ้อนของเชื้อราในปากทารกมักไม่เกิดขึ้นกับเด็กที่มีร่างกายแข็งแรงเท่าไรนัก แต่อาจจะเกิดขึ้นได้ในเด็กที่มีโรคประจำตัวรุนแรง ไม่ว่าจะเป็น โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือเด็กที่ต้องให้อาหารผ่านทางเส้นเลือด เชื้อราชนิดนี้อาจจะเข้าไปสู่กระแสเลือดได้
เจ็บบริเวณปากและคอ
ในทารกบางรายอาจจะเกิดอาการเจ็บได้ในบริเวณที่เป็นฝ้าขาว และมักจะทำให้การรับประทานนมเป็นไปได้อย่างยากลำบาก
อาการแทรกซ้อนสู่แม่
ทารกที่เป็นเชื้อราในช่องปากเมื่อดูดนมจากเต้าคุณแม่แล้วอาจจะทำให้เต้านมของแม่เกิดการอักเสบขึ้นได้
เชื้อราในปากทารก ดูแลรักษาอย่างไร?
การดูแลรักษาเชื้อราในปากทารกจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อให้ฝ้าขาวนั้นค่อย ๆ จางลง แต่วิธีต่าง ๆ เป็นการดูแลรักษาเพียงเบื้อต้นเท่านั้น ถ้าหากว่าฝ้ายังคงหนาจนลูกดูดนมน้อยลงหรือไม่สามารถดูดนมได้ให้รีบปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด
ทำความสะอาดหลังดูดนม
เมื่อทารกดูดนมแม่เสร็จเรียบร้อยแล้วให้จัดการทำความสะอาดลิ้น กระพุ้งแก้ม ด้วยผ้าสะอาดชุบด้วยน้ำต้มสุก
ล้างมือลูกบ่อย ๆ
เด็กในช่วงวัยแรกเกิดไปจนถึง 6 เดือน มักจะชอบดูดนิ้ว อมมืออยู่บ่อย ๆ จึงจำเป็นต้องทำความสะอาดมือบ่อยครั้ง เพื่อลดสาเหตุการเกิดเชื้อราได้
ทำความสะอาดฆ่าเชื้ออยู่เสมอ
ทุกครั้งที่ทำการล้างขวดนม จุกนม ให้ฆ่าเชื้อด้วยอุณภูมิสูงก่อนน้ำกลับมาใช้อีกครั้ง และจุกนมให้เปลี่ยนใหม่ทุก ๆ สัปดาห์จะดีที่สุด
เมื่อฝ้าขาวกลายเป็นเชื้อรา
การดูแลรักษาด้วยตนเองเป็นเพียงการรักษาเบื้อต้นเท่านั้น แต่กว่าจะเห็นผลได้อาจจะกินเวลานานมากกว่า 1 สัปดาห์ ซึ่งแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่พาลูกน้อยเข้าพบคุณหมอเพื่อหาทางแก้ไขโดยเร็ว
อาการเชื้อราในปากทารก ที่ต้องพบแพทย์
เชื้อราในปากทารกที่คุณแม่พบว่ามีปริมาณมากทั้งลิ้น ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม เพดาน หรือบริเวณอื่น ๆ ที่สามารถพบเจอได้ หรือเมื่อเช็ดบริเวณที่มีฝ้าขาวแล้วเช็ดไม่ออกควรพาลูกน้อยเข้าพบแพทย์ เพื่อที่จะรักษาได้อย่างถูกวิธี ใช้ระยะเวลาในการรักษาประมาณ 1 สัปดาห์เชื้อราจะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายไป
เชื้อราในปากทารกที่มีลักษณะเป็นฝ้าขาวถึงแม้ว่าจะไม่ได้ส่งผลอะไรร้ายแรงมากนั้น แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรที่จะนิ่งนอนใจ แนะนำให้รีบทำการรักษาก่อนที่ปริมาณฝ้าจะเพิ่มขึ้นและกระจายไปในส่วนอื่น ๆ ของบริเวณช่องปากได้ เมื่อรักษาหายดีแล้วคุณแม่ต้องทำความสะอาดช่องปากลูกน้อยหลักจากดูดนมเสร็จอยู่เสมอเพราะไม่เช่นนั้นอาจจะกลับมาเป็นเชื้อราซ้ำได้