Site icon simplymommynote

ลูก 2 ขวบเอาแต่ใจ ร้องไห้ ใช่วัยทองไหม? วิธีรับมือ?

ลูก2ขวบเอาแต่ใจใช่วัยทองไหม วิธีรับมือ

สำหรับพ่อแม่มือใหม่ การเลี้ยงลูกเรียกได้ว่าเป็นอะไรที่ท้าทายมาก ไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ไม่ยากเกินไป หากพ่อแม่จะทำความเข้าใจเค้า เพราะในแต่ละช่วงวัยก็จะมีพฤติกรรมที่ต่างกัน ซึ่งวันนี้โน้ตจะพูดถึง “การเลี้ยงลูกวัย 2 ขวบ” บางคนอาจเรียก Terrible Twos หรืออาจจะเป็น “วัยทอง 2 ขวบ” ก็แล้วแต่ แต่ความหมายโดยรวมของวัยทอง 2 ขวบก็คือการที่เด็กมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปมากจากที่เคยเรียบร้อย เชื่อฟัง น่ารัก กลับกลายเป็นเด็กรั้น เอาแต่ใจไปซะอย่างนั้น

สำหรับเรื่องนี้มีที่มาที่ไปและมีวิธีที่คุณพ่อคุณแม่จะนำไปปรับใช้เพื่อรับมือกันอีกด้วยค่ะ

พฤติกรรมลูก 2 ขวบ เอาแต่ใจ(Terrible Twos)

สำหรับพฤติกรรมของเด็กวัยนี้ที่บอกว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปนั้น หลักมาจาก 2 ปัจจัยด้วยกันค่ะ คือ พัฒนาการของเด็กวัย 2 – 5 ขวบ ด้วยพื้นฐานแล้วเด็กวัยนี้เค้าก็จะเริ่มเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น อยากคิดเอง อยากทำอะไรด้วยตัวเอง และอีกสาเหตุนึงก็คือ เพราะเด็กต้องเจอการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นทางกาย เช่น การยืดตัว การที่ยังเดินไม่ได้ดังใจ และการที่เด็กต้องเจอกับสังคมใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ หลายอย่าง ทำให้ปรับตัวทันบ้าง ไม่ทันบ้าง ทำให้เด็กแสดงออกดังนี้

สาเหตุของพฤติกรรมลูก 2 ขวบ เอาแต่ใจ

สาเหตุที่ลูกเอาแต่ใจและขี้หงุดหงิด ก็ด้วยสาเหตุดังต่อไปนี้ค่ะ

เสียใจ เหนื่อย

ที่ลูกน้อยเอาแต่ใจ และดูเหมือนจะขี้หงุดหงิดนั่นก็เพราะว่าเขาเหนื่อย เสียใจ และหิว แต่ไม่รู้ว่าจะสื่อสารอย่างไรให้คุณพ่อคุณแม่รู้ คำศัพท์ในหัวลูกยังน้อย

โดนขัดจังหวะ

เช่น กำลังเล่นอยู่เพลิน ๆ แต่โดนขัดจังหวะให้ไปอาบน้ำบ้าง กินข้าวบ้าง เพราะฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรบอกลูกล่วงหน้า เช่น อีก 10 นาที เราต้องไปอาบน้ำแล้ว เป็นต้น

อยากมีอิสระ

ลูกน้อยอยากมีอิสระที่จะทำอะไร ๆ เอง และไม่ต้องการแบ่งของเล่นหรือของรักของหวงให้ใคร อยากที่จะมีสิทธิเลือกได้ด้วยตัวเอง

อยากทำอะไรด้วยตัวเอง

เช่น อยากช่วยคุณแม่กวาดบ้าน แต่ถ้าคุณแม่บอกว่าไม่เป็นไรลูกก็จะเสียใจ เพราะคิดว่าเขาไม่มีความสามารถ

ถูกสั่งให้ทำ

โดยที่ไม่เต็มใจ ลูกจึงแสดงพฤติกรรมที่หงุดหงิดออกมา

ไม่รู้วิธีการควบคุมอารมณ์ตัวเอง

เพราะลูกไม่เคยถูกสอนให้รู้จักอารมณ์ของตัวเอง เขาจึงไม่รู้วิธีจัดการกับอารมณ์ที่เกิดขึ้น จึงแสดงออกในพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น นอนกลิ้งกับพื้น ซึ่งถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่เข้าใจ แล้วดุลูกซ้ำ ก็จะยิ่งปรับพฤติกรรมได้ยากขึ้นไปอีก

วิธีรับมือลูก 2 ขวบเอาแต่ใจ ที่พ่อแม่ควรรู้

ทำความเข้าใจกับเด็กวัย 2 ขวบ

เพื่อการแก้ปัญหาได้ถูกจุด คุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจถึงพฤติกรรมของเด็กวัยนี้ก่อน เพราะเมื่อเราเข้าใจแล้วเราจะได้ใช้เหตุผลกับเค้าได้ถูกเรื่อง การปรับพฤติกรรมก็จะง่ายขึ้นค่ะ

คุณพ่อคุณแม่ต้องใจเย็นๆค่ะ

เวลาที่เค้างอแงหรือเอาแต่ใจ เราต้องไม่เดินหนีเค้านะคะ ไม่อย่างนั้นจะยิ่งไปกันใหญ่ พยายามอดทนและใจเย็นเข้าไว้ ระหว่างนั้นอาจจะคิดอย่างนี้ก็ได้ค่ะว่า “เรารักลูก อยากให้ลูกเป็นเด็กดี เราต้องใจเย็นๆ ค่อยๆ สอนเค้า” แบบนี้ก็จะช่วยให้เราไม่ต้องไปโฟกัสที่เสียงร้องของลูกมากนัก ป้องกันไม่ให้คุณแม่ตบะแตกซะก่อน

เบี่ยงเบนความสนใจ

ระหว่างที่ลูกร้องงอแง เอาแต่ใจนั้น คุณแม่อาจต้องคิดแผนเผื่อเพื่อเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น เอาตุ๊กตาตัวโปรดมาพากย์เป็นเสียงการ์ตูน เป็นต้น

ยื่นข้อเสนอ

มีข้อเสนอให้ลูกเพื่อให้เค้าได้คิดเอง ตัดสินใจเอง และจะทำให้เค้ารู้สึกว่าเค้ายังมีอำนาจตัดสินใจอยู่บ้าง เช่น หนูจะร้องจนอ้วกแล้วไม่ได้กินขนม หรือจะหยุดร้องแล้วไปเลือกขนมกันดีคะ เพราะร้องไห้ไปกินขนมไปไม่ได้ค่ะ ทำได้อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นนะ

ใช้อารมณ์ขันเป็นตัวช่วย

หากเราต้องการจะสอนหรือฝึกให้ลูกทำอะไรซักอย่างอาจใช้วิธีนี้ก็ได้ค่ะ เช่น อยากให้ลูกได้ทานส้ม ระหว่างที่ลูกยังกล้าๆ กลัวๆ อยู่นั้น เราอาจหาตัวการ์ตูนนิ้วมาเล่นกับเค้าแล้วพากย์ก็ได้ค่ะ

สร้างตารางเวลาให้ลูก

สร้างกิจกรรมประวันที่ชัดเจนให้ลูก แล้วทำเป็นประจำ ลูกจะรู้ว่าเวลาไหนควรทำอะไร

ห้ามดุหรือตีลูก

เพราะสิ่งที่ลูกจะมีแต่ความรุนแรง แถมเค้าไม่เข้าใจอีกว่าทำไมตีเค้า

หากิจกรรมที่ลูกได้ปล่อยพลัง

เมื่อลูกได้ปล่อยพลัง เค้าจะรู้สึกผ่อนคลาย เป็นการช่วยปรับอารมณ์ได้อีกอย่างนึงค่ะ เมื่อลูกได้ยิ้มได้หัวเราะ ก็จะทำให้ลูกได้เรียนรู้ในเรื่องของอารมณ์อีกด้วย

ข้อดีของการเป็นวัยทอง 2 ขวบ

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยทอง 2 ขวบไม่ต้องกังวลใจนะคะ เพราะอาการเหล่านี้จะค่อยๆ หายเองได้เมื่อเค้าโตขึ้น เพียงแต่สิ่งที่ลูกต้องการโดยเฉพาะในช่วงนี้คือ ความรักและความเข้าใจจากคุณพ่อคุณแม่นั่นเองค่ะ

Exit mobile version