ทำไม? ปวดมดลูกหลังคลอด แบบไหนควรพบแพทย์

ทำไมถึงปวดมดลูกหลังคลอด แบบไหนควรพบแพทย์
การคลอดและหลังคลอด

Last Updated on 2023 02 03

หลังจากที่คลอดบุตรแล้ว ผู้หญิงเราจะรู้สึกเหนื่อย สับสนอยู่กับวิธีการเลี้ยงลูกเพราะมือใหม่ แต่ไม่ได้คาดคิดว่า ตัวเองจะมีอาการปวดท้องหรือปวดมดลูกหลังคลอด จึงมีความกังวลกันมากกับอาการที่เจอ ซึ่งระยะหลังคลอดที่พูดถึงนั้นจะเกิดขึ้นในช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังคลอด ในช่วงนี้ ร่างกายของคุณแม่กำลังปรับตัวเพื่อกลับเข้าสู่ภาวะปกติเหมือนก่อนตั้งครรภ์ค่ะ อาการปวดมดลูกหลังคลอดเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง และจะจัดการกับอาการที่เกิดขึ้นนี้อย่างไร รวมไปถึงอาการแบบไหนที่ควรพบแพทย์ วันนี้เราจะมาพูดคุยเรื่องนี้กันค่ะ

อาการ ปวดมดลูกหลังคลอด

คุณแม่มือใหม่ที่มีอาการปวดมดลูกหลังคลอดอาจเป็นเรื่องแปลกใหม่ในตอนแรกนะคะ จะมีอาการปวด เจ็บ เหมือนเป็นตะคริว หรือรู้สึกเหมือนปวดประจำเดือน ปวดชาบริเวณมดลูก หรือหน้าท้องจะเกิดขึ้นหลังคลอด และดำเนินต่อไปเป็นเวลาหลายอาทิตย์ เพราะเกิดจากการหดตัวของมดลูกเพื่อที่จืกลับสู่ขนาดปกติ โดยมดลูกหลังคลอดจะมีน้ำหนักประมาณ  1 กิโลกรัม แล้วจะลดลงเหลือเพียงไม่กี่กรัมหลังจากผ่านไปหลายสัปดาห์

สาเหตุ ของการปวดมดลูกหลังคลอด

สาเหตุของการปวดมดลูกหลังคลอด สามารถเกิดได้จากหลาย ๆ ปัจจัย ดังนี้ค่ะ

การหดตัวของมดลูก

เป็นกลไกของร่างกายหลังคลอดที่จะมีการบีบรัดของมดลูก เพื่อช่วยให้มดลูกของคุณแม่เข้าสู่ภาวะปกติเหมือนกับก่อนตั้งครรภ์ การหดตัวของมดลูกนี้อาจรู้สึกรุนแรงมากขึ้นเมื่อคุณแม่ให้นมลูก และระหว่างที่มดลูกมีการหดตัวนี้ บางครั้งคุณแม่อาจรู้สึกชา หรือเป็นตะคริว ซึ่งการที่มดลูกบีบตัวนี้จะช่วยให้ลดปริมาณเลือดออกหลังคลอดได้ ป้องกันการสูญเสียเลือดมากเกินไปค่ะ ทุกครั้งที่เกิดการบีบรัด อาการปวดมดลูกจะรุนแรงขึ้นและยาวนานขึ้น โดยทั่วไป การหดตัวเหล่านี้จะหายไปใน 6 สัปดาห์ค่ะ

ท้องผูก

คุณแม่หลังคลอดหลายคนมีอาการท้องผูก ที่เกิดจากระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่ยังค้างอยู่ในร่างกาย การขาดธาตุเหล็ก และจากยาที่รักษาแผลผ่าตัดบางชนิด คุณแม่อาจมีอาการท้องผูกอยู่ 2-3 วัน และจะหายได้จากการปรับอาหาร โดยให้เน้นอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เลี่ยงอาหารแปรรูป มีน้ำตาล และไขมันสูง และพยายามเคลื่อนไหวร่างกายสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้ลำไส้ลำเลียงอาหารได้ดีขึ้น ซึ่งคุณแม่อาจเลือกเดินเล่นอย่างช้า ๆ ก่อนก็ได้ค่ะ

การผ่าคลอด

ในการทำหัตถการผ่าคลอดจะมีการผ่ากล้ามเนื้อหน้าท้องเพื่อนำทารกออกมา เป็นผลทำให้มีอาการปวดท้องส่วนล่างได้บ้างแม้ว่าแผลจะหายดีแล้ว ในช่วงพักฟื้นคุณแม่ไม่ควรยกของหนัก และควรเคลื่อนไหวร่างกายสม่ำเสมอ เดินบ่อย ๆ แต่ช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไป เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต และปรับปรุงการทำงานของลำไส้หลังผ่าตัด และคุณแม่จะยังรู้สึกปวดระบมที่มดลูกในช่วง 4 สัปดาห์หลังคลอด แต่จะเคลื่อนไหวได้สบายขึ้นภายใน 6 สัปดาห์หลังการผ่าตัดค่ะ

วิธีบรรเทาอาการปวดท้องหลังคลอดเบื้องต้น

หากคุณแม่รู้สึกว่าเริ่มมีอาการปวดมดลูก สามารถบรรเทาอาการปวดดังกล่าวได้ด้วยตัวเอง ดังนี้

ไม่ควรอั้นฉี่

ไม่ควรอั้นฉี่ หรือรอให้กระเพาะปัสสาวะเต็ม เพราะหากทำเช่นนี้บ่อย ๆ อาจส่งผลทำให้ปวดมดลูกได้ และที่สำคัญเสี่ยงต่อกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้อีกด้วยค่ะ

นวดผ่อนคลายเบา ๆ

คุณแม่อาจจะนวดด้วยตัวเอง หรือให้คุณพ่อช่วยนวดผ่อนคลายเบา ๆ ที่บริเวณหน้าท้อง หรืออาจเพิ่มน้ำมันหอมละเหยขณะนวดก็ได้ค่ะ จะสามารถช่วยบรรเทาอาการปวด และตะคริวได้

นอนคว่ำ

การนอนคว่ำช่วยบรรเทาอาการปวดได้ค่ะ โดยวางหมอนไว้ใต้ท้องเพื่อเพิ่มแรงกดบนท้องและบรรเทาอาการตะคริว สำหรับคุณแม่ที่ผ่าคลอดหน้าท้องโดยปกติเมื่อผ่านไป 7-10 วัน คุณแม่ก็จะสามารถนอนคว่ำได้ค่ะ

แช่น้ำอุ่น

การแช่น้ำอุ่น ๆ ในอ่างประมาณครึ่งชั่วโมง หรือมากกว่านั้น วันละ 2 ครั้ง ช่วยบรรเทาอาหารปวดได้ค่ะ แต่ควรรอให้แผลคลอดแห้งสนิทก่อนนะคะ หรือหากไม่แน่ใจควรปรึกษาแพทย์ค่ะ

ใช้ถุงประคบร้อน

เนื่องจากความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจะอยู่รอบ ๆ มดลูกและหน้าท้อง การประคบร้อนบริเวณเฉพาะจุดสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดของคุณแม่ได้ค่ะ

หายใจลึก ๆ และจัดท่าให้ผ่อนคลาย

การหายใจลึก ๆ และจัดท่านั่งของคุณแม่ให้ผ่อนคลาย หรืออาจจะหาหมอนมาช่วยพยุงหลังก็จะทำให้คุณแม่รู้สึกดีขึ้นได้ค่ะ

ทานยาบรรเทาอาการปวด

คุณแม่สามารถทานยาบรรเทาอาการปวดได้ เช่น พาราเซตามอล เป็นต้นค่ะ

ปวดท้องหลังคลอดแบบไหนที่ควรพบแพทย์

  • ปวดท้องมากกว่าปกติ หรือช่วงที่ไม่ได้ให้นมบุตรแต่ยังรู้สึกปวดท้องตลอดเวลา
  • น้ำคาวปลามีปริมาณมากขึ้น และมีกลิ่นเหม็น โดยปกติน้ำคาวปลาจะหมดช้าสุดประมาณ 6 สัปดาห์ แรกจะมีสีเข้มคล้ายประจำเดือน แล้วจะเริ่มจางลงเป็นสีชมพูอ่อนลงเรื่อย ๆ จนหมดไป
  • มีไข้ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของภาวะติดเชื้อ
  • มีลิ่มเลือดออกมาจากช่องคลอดปริมาณมาก

คุณแม่หลังคลอดส่วนใหญ่มักจะโฟกัสอยู่ที่ลูกเป็นหลัก ทั้งด้วยความมือใหม่ และยังต้องอาศัยการปรับตัวกับลูก จนลืมดูแลตัวเอง หากคุณแม่มีอาการปวดท้อง หรือมดลูก และได้บรรเทาอาการปวดเบื้องต้นด้วยตนเองในช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังคลอดแล้ว อาการปวดต่าง ๆ ยังไม่ดีขึ้น หรือมีความกังวลอื่น ๆ คุณแม่สามารถเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ได้ค่ะ

อ้างอิง parenting.firstcry.com, flo.health, phyathai.com


Mommy Gift

157,076 views

แม่น้องสปิน คุณแม่ฟูลไทม์ ที่เชื่อเรื่องการเลี้ยงลูกแบบธรรมชาติอย่างสมดุลทั้งภายใน-ภายนอก และเชื่อว่าลูกคือครู จึงทําให้สนใจความเป็นไปของผู้คน จิตวิทยาความสัมพันธ์ในครอบครัว และความสัมพันธ์ของมนุษย์กับธรรม(ะ)ชาติ ชื่นชอบการทำอาหาร งาน Handmade อ่านหนังสือ ปลูกต้นไม้ Facebook : Gift Bfive IG : spin_ramil

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save