กรดไหลย้อนในคนท้อง สาเหตุ พร้อม 8 วิธีรับมือ

กรดไหลย้อนในคนท้อง สาเหตุ พร้อม 8 วิธี รับมืออยู่หมัด
ตั้งครรภ์

Last Updated on 2021 09 09

จากผลการวิจัยในประเทศอังกฤษพบว่า 39% ของคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2 และ 72% ของคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 3 จะมีอาการแสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว อาหารไม่ย่อย ซึ่งเป็นอาการหลักของโรคกรดไหลย้อน เราจึงนำวิธีการดูแลตัวเอง เพื่อป้องกัน และลดโอกาสการเกิด ภาวะกรดไหลย้อนในขณะตั้งครรภ์ มาแนะนำคุณแม่ค่ะ

สาเหตุ กรดไหลย้อนในคนท้อง

กรดไหลย้อน ถือเป็นอาการยอดฮิตที่เกิดได้ง่าย และบ่อย ประมาณ 30-50% ของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ บางรายพบถึง 80% ซึ่งจะมีอาการได้ตั้งแต่เริ่มแพ้ท้อง 6 สัปดาห์แรกจนถึงช่วงใกล้คลอด  สาเหตุหลักมาจาก

ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง

เมื่อฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมีการเปลี่ยนแปลง จึงส่งผลให้การทำงานของหลอดอาหาร และกระเพราะอาหารทำงานได้ช้าลง กล้ามเนื้อหูรูดบริเวณหลอดอาหารที่อยู่ติดกับกระเพาะคลายตัวบ่อยกว่าปกติ

มดลูกขยายใหญ่ขึ้น

การเติบโตของทารกในครรภ์ ทำให้มดลูกขยายขนาดใหญ่ขึ้น และไปเบียดกระเพาะอาหารให้ไปอยู่ในตำแหน่งที่สูงขึ้น เมื่อรับประทานอาหารมาก ๆ หรือเอนตัวลงนอนหลังรับประทานอาหารเสร็จไม่นาน น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรดจึงไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหาร ทำให้รู้สึกเจ็บและแสบร้อนบริเวณกลางอกตามมา

อาการแพ้ท้องของคุณแม่

ทำให้น้ำย่อยที่อาเจียนออกมาส่งผลให้แสบร้อนบริเวณหลอดอาหารได้ และอาจมีความรู้สึกขมที่ลิ้น เจ็บในอกรวมถึงคอ นำไปสู่สาเหตุของอาการเจ็บคอ และไอเรื้อรังได้อีก

อาการกรดไหลย้อนของคุณแม่ตั้งครรภ์

เราสามารถสังเกตอาการของกรดไหลย้อน โดยการแยกอาการออกเป็น 2 แบบ คือ อาการในหลอดอาหาร และอาการนอกหลอดอาหาร มีรายละเอียด ดังนี้ค่ะ

อาการในหลอดอาหาร

  • กลืนลำบาก
  • คล้ายมีก้อนอยู่ในลำคอ ถ้าเป็นมากจะเจ็บคอมากจนอาจจะกลืนอาหารแทบจะไม่ได้

  • เสียงแหบกว่าปกติ
  • เจ็บคอ มีเสมหะอยู่ในลำคอ หรือระคายคอตลอดเวลา

  • อาการปวดแสบร้อนบริเวณหน้าอก
  • และลิ้นปี่ที่เรียกว่า Heartburn เนื่องจากกรดไปทำให้หลอดอาหารอักเสบ เป็นอาการที่พบบ่อยในคนท้อง

  • มีอาการเรอบ่อย
  • เรอเปรี้ยว คลื่นไส้ รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดี หรือรสเปรี้ยวของกรดในคอหรือปาก

    อาการนอกหลอดอาหาร

  • มีน้ำลายมากผิดปกติ
  • มีกลิ่นปาก เสียวฟัน หรือมีฟันผุได้

  • มีอาการจาม
  • คัดจมูก น้ำมูกไหล หรือเป็นหวัดเรื้อรัง

  • ไอเรื้อรัง
  • รู้สึกสำลักน้ำลาย หรือหายใจไม่ออกในเวลากลางคืน จนอาจทำให้ต้องตื่นกลางดึก

  • ไอ หอบ เหนื่อย
  • หายใจมีเสียงหวีด (อาการโรคหอบหืด) หรือทำให้อาการของโรคหอบหืดที่เป็นอยู่มาก่อนแล้วรุนแรงขึ้น จากมีกรดไหลทันสู่หลอดลมและปอดจึงก่อให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของหลอดลมและปอด

    กรดไหลย้อนอันตรายกับทารกในครรภ์หรือไม่

    กรดไหลย้อนไม่เป็นอันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ แต่หากมีอาการของโรคที่เริ่มรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น คุณแม่ต้องตื่นนอนกลางดึก มีอาการกลืนอาหารลำบาก ไอ น้ำหนักลด หรือถ่ายเป็นเลืิอด ก็ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา เพราะหากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้หลอดอาหารเกิดความเสียหายรุนแรงได้ และยาส่วนใหญ่ที่ได้รับสำหรับแก้โรคกรดไหลย้อนจะเป็นยาน้ำป้องกันกรดไหลย้อน ซึ่งจะตรงเข้าไปช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร ลดโอกาสการเกิดกรดไหลย้อน ซึ่งการรับประทานยานี้ปลอดภัยทั้งกับคุณแม่ และทารกในครรภ์ เพราะไม่ดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย จึงไม่มีผลกระทบกับการเจริญเติบโตของทารก

    8 วิธีรับมืออาการกรดไหลย้อนในคนท้อง

    หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด

    และเครื่องดื่มที่ไปจะกระตุ้นให้เกิดอาการกรดไหลย้อน เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด อาหารไขมันสูง อาหารที่มีกรดเป็นส่วนประกอบ รวมถึงชา กาแฟ ช็อคโกแลต น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์

    แบ่งอาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ

    รับประทานเป็นมื้อย่อยบ่อย ๆ และลดปริมาณอาหารลง เช่นรับประทานมื้อเล็กๆ 5-6 มื้อ แทนการกินมื้อใหญ่ 3 มื้อ ทานให้พอดีในแต่ละมื้อ ไม่ทานจนอิ่มแน่นเกินไป และควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืนด้วย

    สวมใส่เสื้อผ้าที่สบายตัว

    ไม่รัดบริเวณเอวจนแน่นเกินไป

    ไม่นอนหลังจากเพิ่งทานอาหารเสร็จ

    ควรนั่ง ยืน หรือลุกเดินอย่างน้อย 1 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร ควรหนุนหัวเตียงให้สูงจากพื้น 6-10 นิ้ว โดยใช้วัสดุรองขาเตียง อย่ายกศรีษะสูงเพียงอย่างเดียวด้วยการใช้หมอนรองศรีษะ เพราะจะทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น  หรือ ใช้หมอนหนุนบริเวณลำตัวส่วนบน เพื่อให้หลอดอาหารอยู่สูงกว่ากระเพาะอาหาร และควรนอนตะแคงซ้าย เพราะการนอนตะแคงขวาจะทำให้ตำแหน่งของกระเพราะอยู่เหนือหลอดอาหาร

    ควบคุมน้ำหนัก

    เพราะการรักษาน้ำหนักตัวในขณะตั้งครรภ์ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดกรดไหลย้อนได้

    รับประทานโยเกิร์ต

    หรือดื่มนมเมื่อเกิดอาการ เนื่องจากเป็นเครื่องดื่มที่ช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนจากกรดไหลย้อนได้

    ไม่ควรสูบบุหรี่ และไม่เครียด

    เพราะร่างกายจะกระตุ้นให้น้ำย่อยในกระเพาะหลั่งหลั่งกรดออกมามากขึ้น  และบุหรี่เป็นอันตรายร้ายแรงกับลูกในครรภ์อย่างที่ทราบกัน

    ใช้ยาเพื่อช่วยลดอาการ

    ใช้ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นยาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป มีฤทธิ์ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยให้มีกรดเกินไหลย้อนกลับขึ้นมาที่หลอดอาหารน้อยลง แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มใช้ยาด้วย เพื่อความปลอดภัยต่อคุณแม่และทารกในครรภ์

    ดังนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์ และกำลังประสบปัญหาภาวะกรดไหลย้อน จึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิตประจำวันตามข้อมูลข้างต้นนะคะ เพื่อคุณแม่จะได้ห่างไกลจากภาวะกรดไหลย้อนขณะตั้งครรภ์ได้ค่ะ


    Mommy Gift

    157,076 views

    แม่น้องสปิน คุณแม่ฟูลไทม์ ที่เชื่อเรื่องการเลี้ยงลูกแบบธรรมชาติอย่างสมดุลทั้งภายใน-ภายนอก และเชื่อว่าลูกคือครู จึงทําให้สนใจความเป็นไปของผู้คน จิตวิทยาความสัมพันธ์ในครอบครัว และความสัมพันธ์ของมนุษย์กับธรรม(ะ)ชาติ ชื่นชอบการทำอาหาร งาน Handmade อ่านหนังสือ ปลูกต้นไม้ Facebook : Gift Bfive IG : spin_ramil

    Profile

    Pickup posts

    Related posts

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

    Privacy Preferences

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    Allow All
    Manage Consent Preferences
    • คุกกี้ที่จำเป็น
      Always Active

      ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

    • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

      คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

    Save