“มีคุณแม่คนไหนบ้างที่ท้องแล้วไม่ปวดตัว ปวดขา ยกมือขึ้นนนน”
…คงไม่มีใช่มั้ยล่ะคะ เพราะมันเป็นอาการปกติของคุณแม่ท้องกับอาการปวดเมื่อยต่างๆ ตามร่างกาย โดยเฉพาะยิ่งอายุครรภ์มากขึ้นก็จะยิ่งปวดเมื่อยมากขึ้น แต่ก่อนอื่นเราจะมาหาสาเหตุกันก่อนนะคะว่าอาการเมื่อยเกิดจากอะไร แล้วแก้ที่สาเหตุนั้น จะว่าไปผู้เขียนเองก็เคยไปนวดเหมือนกันนะคะ เพราะฉะนั้นวันนี้ผู้เขียนมีข้อมูลดีๆ มาฝากค่ะ
สาเหตุของอาการปวดเมื่อยขณะอุ้มท้อง
ลองมาเช็คลิสต์กันค่ะคุณแม่ว่าอาการปวดเมื่อยต่างๆ เกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้หรือเปล่า
-
เดินหรือนั่งหลังค่อม
ซึ่งที่ถูกต้องแล้ว คุณแม่ควรเดินหรือนั่งให้หลังตรงเข้าไว้นะคะ หากคุณแม่ยังต้องทำงานอยู่และไม่ถนัดหากต้องเอนหลังพิงพนักโดยตรง ให้คุณแม่หาหมอนอิงใบใหญ่หน่อย มารองให้เต็มแผ่นหลัง คุณแม่จะได้นั่งทำงานได้สบายขึ้น
คุณแม่ที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานาน พยายามลุกเดิน หรือเปลี่ยนอิริยาบถทุกๆ 2 ชม.นะคะ จะช่วยให้กล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ ได้เคลื่อนไหวและออกกำลังบ้างค่ะ
-
เลือกใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม
วีธีที่ปลอดภัยที่สุด เมื่อคุณแม่รู้ว่าท้อง ควรเปลี่ยนรองเท้าแบบไม่มีส้นและพื้นรองเท้าเป็นยางกันลื่นจะปลอดภัยที่สุด ยิ่งถ้าตอนท้องอ่อนๆ ด้วยแล้วควรต้องยิ่งถนอมลูกน้อยในท้องมากเป็นพิเศษ เพราะหากลื่นล้มอาจเป็นอันตรายต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อยได้
-
เตียงนอนที่นุ่มหรือไม่ก็แข็งเกินไป
เพราะท้องคุณแม่จะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และร่างกายต้องรับน้ำหนักมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น เตียงที่นุ่มหรือแข็งเกินไปอาจทำให้คุณแม่ปวดหลังได้ ควรเลือกแบบที่พอดีๆ เพื่อคุณแม่จะได้พักร่างกายและหลับสนิท ตื่นมารับเช้าวันใหม่อย่างสดชื่น
-
มีอาชีพที่ต้องยืนนานๆ
ข้อนี้หากเป็นไปได้ขอหัวหน้างานย้ายหน้าที่ชั่วคราว แต่หากไม่สามารถย้ายได้จริง ให้คุณแม่พยายามหาที่นั่งพักทุกๆ 1-2 ชม. จะได้เป็นการเปลี่ยนอิริยาบถค่ะ
อีกหนึ่งสาเหตุที่นอกเหนือจากนี้ คือ เมื่อเราท้องมดลูกก็จะขยายใหญ่ขึ้น และเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น มดลูกก็จะดันกระดูกสันหลังช่วงเอวให้แอ่นมาข้างหน้ามากขึ้น นี่จึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ปวดหลังได้เช่นกัน
คุณแม่ท้องนวดได้มั้ย? เสี่ยงแท้งหรือเปล่า?
เป็นอีกหนึ่งคำถามยอดฮิตและสุดคลาสสิกเลยค่ะ ต้องบอกกก่อนว่าปกติผู้เขียนเป็นคนติดนวดตั้งแต่ก่อนท้อง พอมาช่วงท้องยิ่งปวดเมื่อยเข้าไปใหญ่ คิดแต่จะหาที่นวด โดยศึกษาวิธีนวดและเลือกร้านนวดที่นวดของคนท้องโดยเฉพาะ แต่จะนวดอย่างไร? ตรงไหนบ้าง?
แต่…หากคุณแม่บางท่านไม่อยากเสี่ยงนวดจริงๆ ก็ยังมีวิธีอื่นๆ ที่จะช่วยยืดกล้ามเนื้อแบบเบาๆ ให้คุณแม่ได้ผ่อนคลายขึ้นค่ะ ผู้เขียนหมายถึง “โยคะ” นั่นเอง
นวดฝ่าเท้าได้ไหม
การนวดฝ่าเท้า เพียงแค่ในลักษณะที่บีบๆ พอให้กล้ามเนื้อคลาย ทำได้ค่ะ แต่ห้ามนวดแบบกดจุดเด็ดขาด! เพราะฝ่าเท้าเป็นที่รวมประสาททั้งหมดของร่างกาย อย่างในเรื่องของการแพทย์แผนจีน ที่เรารู้จักกันเรื่องของ “การฝังเข็ม” ฝ่าเท้า จะมีจุดที่สามารถทำให้มดลูกบีบรัดตัวซึ่งเป็นอันตรายต่อลูกในท้องค่ะ
รวมท่าโยคะคนท้อง
ท่าโยคะคนท้อง – มือใหม่ เพิ่งเริ่มฝึก
ท่าโยคะคนท้องไตรมาสแรก
ท่าโยคะคนท้องไตรมาสสอง
ท่าโยคะคนท้องไตรมาสสาม
ท่าโยคะคนท้องที่ทำได้ในทุกไตรมาส
ท่าโยคะคนท้องที่ทำได้ในทุกเช้า เพียง 20 นาทีต่อวัน
นอกจากการนวดและการทำโยคะแล้ว ยังมีอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้คุณแม่ได้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อค่ะ นั่นคือ “การแช่เท้าในน้ำอุ่น”ให้คุณพ่อช่วยเตรียมน้ำอุ่นในกะละมัง จากนั้นใส่เกลือเม็ดหยาบลงไป คนจนเกลือละลายดี คุณแม่มีหน้าที่แค่นั่งเก้าอี้ที่สบายพอดีตัว ถ้าปรับเอนได้ก็จะดีมากเลยค่ะ นำเท้าทั้งสองข้างแช่ในน้ำอุ่น ประมาณซัก 30 นาที เท่านี้ก็ทำให้คุณแม่ได้ผ่อนคลาย สบายตัวแล้วล่ะค่ะ แอบกระซิบนิดนึง…คุณแม่ท้องช่วงนี้นาทีทองนะคะ จะวานให้คุณพ่อทำอะไรให้ก็รีบๆ น้า^^
คุณแม่ท่านไหนที่ต้องการจะนวดจริงๆ แนะนำให้ศึกษาข้อมูลของร้านที่จะไปนวดก่อนนะคะว่ามีความปลิดภัยมากน้อยแค่ไหน แต่จำไว้ว่าห้ามนวดแรงไม่ว่าจะเฉพาะแขนหรือขา และห้ามนวดเด็ดขาดโดยเฉพาะท้อง