ตั้งครรภ์ เสี่ยงติดโควิด อันตรายถึงชีวิตจริงหรือ?

ตั้งครรภ์ เสี่ยงติดโควิด อันตรายถึงชีวิตจริงหรือ
ตั้งครรภ์

Last Updated on 2021 11 04

จากสถิติการวิเคราะห์ข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2563 ถึง 13 ส.ค. 2564 พบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด – 19 มีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 1.85 ซึ่งถือเป็นอัตราการเสียชีวิตที่สูงถึง 2.5 เท่าของคนทั่วไปที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ และในจำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่เสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิดทั้งหมดนี้ พบว่ากว่า 50% ยังไม่ได้คลอดบุตรอีกด้วย!

คุณแม่ตั้งครรภ์เสี่ยงติดเชื้อโควิดเพราะเหตุใด?

ภาวะการตั้งครรภ์ของสตรีมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิด เนื่องมาจาก สภาพร่างกายของผู้หญิงในช่วงตั้งครรภ์จะมีความเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ อย่าง ๆ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่  3 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งถือเป็นระยะที่อันตราย และมีความเสี่ยงสูง จึงต้องระมัดระวัง และดูแลตนเองเป็นพิเศษ เนื่องจากในช่วงนี้มดลูกของผู้หญิงจะขยายใหญ่ขึ้นตามขนาดของทารกในครรภ์ ทำให้การทำงานของปอดขยายตัวได้ไม่ดีนัก ดังนั้นหากมีการติดเชื้อโควิด – 19 จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการปอดอักเสบ และอาจเป็นอันตรายร้ายแรง ถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในกรณีที่หญิงตั้งครรภ์มีโรคประจำตัวในกลุ่มเสี่ยงอยู่แล้ว

ผลกระทบ หากคุณแม่ตั้งครรภ์ ติดเชื้อโควิด – 19

ผลจากการวิจัยพบว่า “โควิด – 19” เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ที่ส่งผลกระทบต่อหลอดเลือดโดยตรง ซึ่งผลกระทบและความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับสตรีตั้งครรภ์ จะทำให้หลอดเลือดเปราะบาง หรือชำรุดเสียหายได้ง่าย ทำให้สตรีที่ตั้งครรภ์มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงในระหว่างตั้งครรภ์ได้ง่ายมาก โดยเฉพาะผลกระทบในด้านต่างๆ ต่อไปนี้

  • เกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันที่ปอดมากกว่าปกติ
  • เกิดภาวะความดันโลหิตสูง
  • เกิดภาวะเลือดออกได้ง่ายกว่าปกติ
  • เกิดภาวะเลือดแข็งตัวผิดปกติ
  • เกิดภาวะรกลอกก่อนกำหนด อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด หรืออาจแท้งบุตรได้
  • ทารกที่คลอดจากแม่ที่ติดเชื้อโควิด – 19 จะมีน้ำหนักตัวที่น้อยกว่าปกติ ในขณะที่ผู้เป็นแม่อาจมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตระหว่างคลอดได้

นอกจากนี้ยังพบว่า หญิงตั้งครรภ์ในช่วงอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ หรือ 8 เดือน จะมีขนาดครรภ์ที่ใหญ่ และมีน้ำคร่ำในครรภ์มากถึง 1 – 1.3 ลิตร ซึ่งครรภ์ที่ขยายใหญ่ขึ้นนี้จะทำให้ปอดขยายตัวลำบาก เกิดภาวะปอดแฟบ ไม่สามารถทำการฟอกโลหิตไปเลี้ยงหัวใจได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดระบบหายใจล้มเหลว และเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตในที่สุด

คุณแม่ตั้งครรภ์ กับการดูแลตัวเอง เพื่อป้องกันโควิด – 19

การดูแลตนเองของสตรีตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด – 19 ถือว่ามีความสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ หากพบว่ามีการตั้งครรภ์ ควรฝากครรภ์และพบแพทย์ตามปกติ นอกจากนี้ ผู้ที่ตั้งครรภ์ควรปฏิบัติตามกฎการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด – 19 ตามที่ ศคบ. ระบุไว้อย่างเคร่งครัด ซึ่งได้แก่

สวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกต้อง

โดยหันด้านสีเข้มออกด้านนอก และควรสวมหน้ากากอนามัยไว้ตลอดเวลา ที่อยู่นอกบ้านอีกด้วย

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
10 อันดับ หน้ากากอนามัย ยี่ห้อไหนดี ล่าสุด ปี 2022

ไม่สัมผัสใบหน้า ตา จมูก ปาก

เพราะเป็นบริเวณที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้ง่ายที่สุด ซึ่งจะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง หากเชื้อไวรัสโควิด – 19 แพร่กระจายลงมาที่ปอด

ควรหมั่นล้างมือบ่อยด้วยน้ำสะอาด และสบู่

จากนั้น ตามด้วยเจลแอลกอฮอล์ ที่มีความเข้มข้นในระดับ 75% ขึ้นไป และถ้าเป็นไปได้ ควรมีไว้พกติดตัวตลอดเวลา เพื่อความสะดวกในการนำออกมาใช้

หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ

และไม่ไปยังสถานที่แออัด สถานที่ชุมนุมชน

เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล (Social Distancing)

อย่างน้อย 1.5 เมตร แม้เป็นคนในครอบครัวเดียวกันก็ตาม

หลีกเลี่ยงการสัมผัส

รวมถึงเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย หรือผู้ที่ไอบ่อยจนผิดสังเกต

ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น

เช่น จาน ชาม ช้อน แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า และเสื้อผ้า เป็นต้น

รับประทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาด

และมีสารอาหารครบ 5 หมู่ เพื่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์

นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

อย่างน้อย 8 – 10 ชั่วโมง และโดยเฉพาะในคุณแม่ตั้งครรภ์ ร่างกายจะต้องการการพักผ่อนมากเป็นพิเศษ ถ้าเป็นไปได้ให้งีบหลับระหว่างวันประมาณ 15-20 นาทีก็จะช่วยให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาได้ค่ะ

พยายามทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด

หรือวิตกกังวลมากจนเกินไป โดยหากิจกรรมยามว่าง เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ จัดสวน ตกแต่งต้นไม้ในบ้าน เป็นต้น

นอกจากที่กล่าวมาแล้วนี้ สิ่งที่สตรีตั้งครรภ์ทุกคนควรกระทำ คือ หมั่นตรวจสุขภาพ สังเกตอาการผิกปกติของตนเอง เช่น ทารกดิ้นตามปกติหรือไม่ หรือดิ้นน้อยลง มีอาการบวมตามร่างกาย แขนขา ของตนเองหรือไม่ มีอาการเจ็บครรภ์ หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดหรือไม่ ทั้งนี้ หากพบว่ามีความผิดปกติต่างๆ เกิดขึ้น ให้รีบไปพบแพทย์ทันที อย่าปล่อยไว้ เพราะอาจเกิดอันตรายทั้งคุณแม่ และทารกในครรภ์ได้

ผลการวิจัยจากทั่วโลก กรณีหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิด – 19 มักไม่แสดงอาการ (2 ใน 3 ของจำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชิ้อโควิด – 19) ขณะที่อัตราความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดสูงกว่าคนปกติทั่วไปที่ไม่ได้ติดเชื้อ ทั้งยังพบอีกว่า ทารกที่ติดเชื้อโควิด – 19 จากมารดา มีอัตราความเสี่ยงในการเสียชีวิตสูงถึง 1.8% อีกด้วย (อาจเสียชีวิตได้ทั้งก่อนคลอด และหลังคลอด) ทั้งนี้พบว่ามีการติดเชื้อจากแม่สู่ทารกสูงถึง 11% ทีเดียว ซึ่งอาจเกิดจากการถ่ายทอดโดยตรง หรือจากการสัมผัสหลังคลอด นอกจากนี้ หากหญิงตั้งครรภ์มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น โรคเบาหวาน ความดัน โรคอ้วน ฯลฯ จะทำให้อาการป่วยของหญิงตั้งครรภ์จากการติดเชื้อโควิด – 19 มีความรุนแรงมากกว่าหญิงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ 2 – 3 เท่าทีเดียว

 

อ้างอิง sikarin.com, bangkokbiznews.com, bangkokhospital.com, dmh.go.th


waayu

330,876 views

(นามปากกา : วายุ, วิสัชนา, อารีรัตน์) ชอบปลูกต้นไม้ อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ และวาดรูป เคยเป็นครูอนุบาล ครูประถม ครูมัธยมต้น ครูสอนจินตคณิต(สมาร์ทเบรน) มีงานเขียนพ็อกเก็ตบุ๊ค และ E-book ที่ mebmarket.com Facebook

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save