ตะคริวคนท้อง รับมืออย่างไร แบบไหนที่ต้องระวัง

ตะคริวคนท้อง รับมืออย่างไร แบบไหนที่ต้องระวัง
ตั้งครรภ์

ตะคริวคนท้องถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ ตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์อ่อนๆ จนกระทั่งน้ำหนักตัวเริ่มเพิ่มมากขึ้น และเป็นตะคริวบ่อยมากที่สุดในช่วง ไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่จะเริ่มจากการเป็นตะคริวเล็กน้อยจนแทบจะไม่ทันได้สังเกต เมื่อเวลาผ่านไปคุณแม่ตั้งครรภ์เริ่มแบกรับน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อไม่ยืดหยุ่นเหมือนเดิม ส่งผลให้เป็นตะคริวจากกล้ามเนื้อที่หดตัวขึ้นมาทันที และในบางกรณีอาจเป็นตะคริวบริเวณมดลูกด้วย วันนี้จึงมีวิธีรับมือตะคริวคนท้อง และข้อควรระวัง มาฝากกันค่ะ

ตะคริวคนท้องเกิดจากอะไร?

ตะคริวคนท้องเกิดได้หลายสาหตุ ดังนี้

ขาดแคลเซียม

เกิดจากภาวะแคลเซียมในเลือดของคุณแม่ต่ำ เนื่องจากทารกในครรภ์ต้องนำไปใช้สร้างกระดูกและฟัน

ขาดน้ำ

และมีความผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกายโดยเฉพาะช่วงอากาศร้อน หรือเมื่อคุณแม่รู้สึกกระหายน้ำ นั่นเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าร่างกายเริ่มเข้าสู่ภาวะขาดน้ำแล้ว

เลือดไหลเวียนไม่สะดวก

โดยเฉพาะส่วนล่าง เนื่องจากการทำงาน หรือการนั่งขดขาในท่าเดิมเป็นเวลานาน

ท้องขยายมากขึ้น

ทำให้มดลูกไปกดทับตรงตำแหน่งของอุ้งเชิงกราน เลือดจึงไหลเวียนไม่สะดวก ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณน่องขาดออกซิเจน จึงเป็นตะคริวได้

มดลูกไม่อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม

โดยทั่วไปมดลูกจะอยู่ที่งเชิงกราน หากมดลูกยื่นออกมาด้านหน้าเหนือกระเพาะปัสสาวะ หรือยื่นไปด้านหลัง เมื่อมดลูกขยายตัวจึงไปเบียดกับอวัยวะอื่น ๆ ส่งผลให้ระบบประสาทถูกกระตุ้น และเกิดเป็นตะคริวได้

เกิดจากถุงซีสต์

ถุงซีสต์หรือเรียกว่า คอร์ปัสลูเทียม (Corpus luteal cyst) เป็นถุงน้ำปกติ ปกติจะต้องหายไปหลังจากมีการปล่อยให้ไข่ออกไปปฏิสนธิกับสเปิร์ม แต่ถ้ากรณีถุงซีสต์ไม่สลายตัวไปเอง จะทำให้เกิดการสะสมของของเหลวในถุงน้ำ ทำให้เกิดเป็นซีสต์ และตะคริวตามมาได้

วิธีรักษาอาการเบื้องต้น

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการตะคริวของคนท้อง คนข้างๆอย่างคุณพ่อ คือผู้ปฐมพยาบาลที่สามารถช่วยได้ดีที่สุดเลยค่ะ โดยสามารถช่วยเบื้องต้นได้ ดังต่อไปนี้

ตะคริวที่น่อง

ให้คุณแม่ตั้งครรภ์เหยียดขาข้างที่เป็นออกให้สุด แล้วให้คุณพ่อช่วยใช้มือข้างหนึ่งประคองส้นเท้าไว้ มืออีกข้างดันปลายเท้าขึ้นลงช้าๆ แล้วนวดที่น่องเบาๆ ไม่ควรนวดแรงเพราะกล้ามเนื้ออาจจะบาดเจ็บทำให้ตะคริวกลับมาอีกได้

ตะคริวที่ต้นขา

เหยียดขาข้างที่เป็นของคุณแม่ตั้งครรภ์ออกให้สุด แล้วคุณพ่อใช้มือข้างหนึ่งประคองส้นเท้าไว้ ส่วนมืออีกข้างค่อยๆกดลงบนหัวเข่าแล้วนวดต้นขาบริเวณที่เป็นจะตะคริวเบาๆ

ตะคริวนิ้วเท้า

เหยียดนิ้วเท้าตรง ลุกขึ้นยืนเขย่งเท้าเดินไป – มา เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว และค่อยให้คุณพ่อช่วยนวดบริเวณนิ้วเท้าเบาๆ ถ้าคนท้องเป็นตะคริวที่นิ้วมือก็เหยียดนิ้วมือออก เพื่อให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นคลายออก

หากเป็นตะคริวบริเวณท้องอย่างต่อเนื่อง

หากมีเลือดออกเป็นจำนวนมากร่วมกับการเป็นตะคริว ควรรีบพบแพทย์ทันที

วิธีป้องกันตะคริวคนท้อง

ดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้มากๆ

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้ได้วันละ 8-10 แก้ว นอกจากช่วยลดปัญหาตะคริวแล้ว ยังดีต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ด้วยค่ะ

ใส่ใจเรื่องโภชนาการอาหาร

แนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ผักใบเขียว ปลาตัวเล็กๆ นม โดยหากต้องการลดการเป็นตะคริวกลางดึก อาจเพิ่มการดื่มนมก่อนนอน  และทานอาหารที่มีแมกนีเซียมให้เพียงพอ เช่น อัลมอนด์ มันเทศ อินทผลัม ลูกเกด ส้ม สับปะรด ฟักทอง ถั่วแดง เป็นต้น เพราะแมกนีเซียมช่วยปรับสมดุลของแคลเซียมในร่างกาย เพื่อให้กล้ามเนื้อยืดและหดตัวได้ดี

แช่น้ำอุ่นเพื่อผ่อนคลาย

หากที่บ้านมีอ่างอาบน้ำให้คุณแม่ตั้งครรภ์นอนแช่ตัวในน้ำอุ่น จะช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายและลดการเกิดตะคริวได้ แต่หากไม่มีอ่างอาบน้ำ อาจเลือกการแช่เฉพาะขาและเท้าก็ได้เช่นกัน

หนุนเท้าให้สูงกว่าลำตัวเล็กน้อย

เวลานอนคุณแม่ตั้งครรภ์สามารถใช้หมอนคนท้องหรือผ้าห่มหนา ๆ หนุนเท้าให้สูงกว่าลำตัวเล็กน้อย หรือสูงกว่าเตียงประมาณ 10 ซม.จะช่วยให้การไหลเวียนเลือดจากบริเวณกล้ามเนื้อน่องกลับสู่หัวใจได้ดีขึ้น ทำให้ความเป็นกรดในเลือดลดลง จึงลดอาการตะคริวให้หายไปได้

หลีกเลี่ยงอากาศเย็น

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรเลี่ยงการอยู่ในที่ที่อากาศเย็นจนเกินไป แต่ให้ปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม ทำร่างกายให้อบอุ่นเพื่อลดอาการตะคริว

ตะคริวแบบไหนที่ต้องระวัง

  • เป็นตะคริวที่เนินหัวหนาว และมีเลือดไหลออกมาจากช่องคลอด ร่วมกับมีอาการปวดแบบเฉียบพลัน และมึนหัว
  • เจ็บท้องล่างมาก และมีอาการมดลูกบีบตัว
  • รู้สึกว่ามีไข้
  • ในบางครั้งการเป็นตะคริวก็หมายถึง ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธินั้นไม่ได้ฝังตัวในมดลูก แต่ว่าไปฝังตำแหน่งอื่นแทน เช่น ท่อนำไข่ ซึ่งเรียกกันว่า “การท้องนอกมดลูก” ทำให้มีอาการปวดขณะปัสสาวะ จนทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องเร่งปัสสาวะ เป็นต้น

คุณแม่ตั้งครรภ์จะเจอประสบการณ์ตะคริวคนท้อง ไม่มากก็น้อย เป็นปกติ ดังนั้น ควรป้องกันด้วยการดูแลเรื่องการทานอาหาร การสวมใส่เสื้อผ้าก็ช่วยได้บางส่วน และที่สำคัญคนข้างกายอย่างคุณพ่อก็ต้องเตรียมวิธีปฐมพยาบาลเอาไว้ด้วย หากมีอาการบ่อยและมากควรปรึกษาแพทย์ผู้รับฝากครรภ์ทันทีเพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์ค่ะ


Mommy Gift

158,210 views

แม่น้องสปิน คุณแม่ฟูลไทม์ ที่เชื่อเรื่องการเลี้ยงลูกแบบธรรมชาติอย่างสมดุลทั้งภายใน-ภายนอก และเชื่อว่าลูกคือครู จึงทําให้สนใจความเป็นไปของผู้คน จิตวิทยาความสัมพันธ์ในครอบครัว และความสัมพันธ์ของมนุษย์กับธรรม(ะ)ชาติ ชื่นชอบการทำอาหาร งาน Handmade อ่านหนังสือ ปลูกต้นไม้ Facebook : Gift Bfive IG : spin_ramil

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save