Site icon simplymommynote

ภาวะน้ำคร่ำมาก สาเหตุ อาการ ผลกระทบต่อทารกในครรภ์

ภาวะน้ำคร่ำมาก สาเหตุ อาการ ผลกระทบต่อทารกในครรภ์

น้ำคร่ำ (Amniotic fluid)” เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาของปอดทารก อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการเป็นเกราะป้องกันทารกเมื่ออยู่ในครรภ์คุณแม่และป้องกันไม่ให้สายสะดือถูกกด นอกจากนี้นำคร่ำยังช่วยให้ทารกน้อยมีพื้นที่ในการเคลื่อนไหวหรือการขยับเพื่อเสริมสร้างระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในช่วงอยู่ในครรภ์อีกด้วย จะเกิดอะไรขึ้นหากคุณแม่มีภาวะน้ำคร่ำมากเกินไป ลูกน้อยในครรภ์จะได้รับอันตรายหรือไม่ มารู้จักภาวะน้ำคร่ำมากพร้อมสาเหตุ อาการ เพื่อการรักษาและป้องกันอย่างถูกวิธีกันค่ะ

ภาวะน้ำคร่ำมาก คืออะไร

ภาวะน้ำคร่ำมาก (Hydramnios หรือ Polyhydramnios) คือ การที่มีปริมาณน้ำคร่ำในถุงน้ำคร่ำมากกว่าปกติ จนทำให้ถุงน้ำคร่ำเกิดการขยายตัวเมื่อมีการขยายตัวมากขึ้นอาจทำให้คุณแม่เกิดอาการแน่นหน้าอก แน่นท้อง หายใจไม่ออก หรือเกิดความผิดปกติอื่นร่วมด้วย

ซึ่งหากมีระดับน้ำคร่ำมากในระดับไม่รุนแรงอาจไม่แสดงอาการดังกล่าวและมักไม่เป็นอันตราย อย่างไรก็ตามในบางกรณ๊ที่มีภาวะน้ำคร่ำมากในระดับรุนแรงอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดหรือเกิดการแท้งได้

แม้ภาวะน้ำคร่ำมากจะมีดอกาสเกิดขึ้นเพียง 1-2 เปอร์เซ็นต์ซึ่งส่วนใหญ่มักพบในช่วงหลังของการตั้งครรภ์ หากมีภาวะแทรกซ้อนร่วมอาจส่งผลให้เกิดอาการรุนแรงได้ ดังนั้นคุณแม่จึงควรมั่นสังเกตการเปลี่ยนแปลงของร่างกายขณะตั้งครรภ์อย่างสม่ำเสมอ

สาเหตุ ภาวะน้ำคร่ำมาก

ภาวะน้ำคร่ำมากสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุทั้งจากกภาวะครรภ์ผิดปกติของคุณแม่เองหรือผลจากการพัฒนาของทารกที่ไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้ภาวะน้ำคร่ำมากอาจไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดในบางรายซึ่งพบได้มากถึง 50% ที่ไม่ทราบสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่ของการเกิดภาวะน้ำคร่ำมากมากจากสาเหตุต่อไปนี้

  • ทารกในครรภ์มีความผิดปกติหรือมีความพิการ เช่น การตีบของหลอดอาหาร ลำไส้อุดตัน ทำให้ไม่สามารถกลืนน้ำคร่ำได้ ทารกที่ไม่มีกะโหลกศีรษะ และ/หรือ ทารกที่กระดูกสันหลังไม่ปิด
  • ภาวะบกพร่องบางอย่างในครรภ์ที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบทางเดินอาหารและระบบประสาทส่วนกลาง
  • ความผิดปกติโครโมโซมของทารก
  • ครรภ์แฝด ที่มีการเชื่อมต่อกันของเส้นเลือด (Twin-twin transfusion syndrome)
  • ภาวะเลือดจางของทารกในครรภ์
  • ปัญหาสุขภาพของคุณแม่หรือโรคของมารดา ได้แก่ โรคเบาหวาน การติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ เป็นต้น
  • การติดเชื้อของทารกในครรภ์
  • กรุ๊ปเลือดของมารดาและทารกเป็นคนละกรุ๊ป ทำให้เลือดและเซลล์เกิดการต่อต้านกัน

อาการของภาวะน้ำคร่ำมาก

อาการของการเกิดภาวะน้ำคร่ำมากขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง หากอยู่ในระดับที่ไม่รุนแรงมากคุณแม่อาจไม่อาการใดแสดงให้เห็น อย่างไรก็ตามหากอยู่ในระดับรุนแรงจะมีวิธีสังเกตอาการความผิดปกติที่เกิดขึ้น โดยสังเกตตัวเองว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่ ได้แก่

  • ครรภ์โตเร็วผิดปกติ มีอาการอึดอัดแน่นท้อง
  • ในรายที่มีปริมาณน้ำคร่ำมากๆ ทำให้หายใจลำบากเนื่องจากกระบังลมถูกดันขึ้นมาดันปอดมาก
  • เหนื่อย นอนราบไม่ได้ อวัยวะส่วนล่างเช่นเท้า ขา สะโพกมีอาการบวม
  • ท้องบวม แน่นท้อง
  • ปัสสาวะออกน้อยในบางรายที่มีอาการรุนแรง
  • เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด หรืออาจเกิดถุงนำคร่ำแตกก่อนกำหนด
  • เกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ตกเลือดหลังคลอด
  • มดลูกบีบตัว ช่องคลอดขยายตัว
  • ภาวะทารกไม่กลับหัว
  • ท้องผูก แสบร้อนกลางอก อาหารไม่ย่อย

การรักษาภาวะน้ำคร่ำมาก

ภาวะน้ำคร่ำเกิดได้จากหลายสาเหตุ ในกรณีที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนการรักษาจึงเป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ เช่น ให้พักผ่อนให้มาก ควบคุมอาหาร ให้ควบคุมน้ำหนัก หากมีภาวะแทรกซ้อนร่วม หรือคุณแม่มีปริมาณน้ำคร่ำมากจนมีผลต่อการหายใจ สามารถให้การรักษาได้ดังนี้

  • ให้ยาลดการสร้างน้ำคร่ำ เช่น ยากลุ่ม Indomethacin
  • ให้ยาป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
  • รักษา ควบคุม โรคเบาหวาน
  • การเจาะถ่ายน้ำคร่ำส่วนเกินออกเพื่อช่วยลดปริมาณน้ำคร่ำให้อยู่ในระดับปกติ ซึ่งจะช่วยให้มารดาสามารถหายใจได้สะดวกขึ้น
  • การทำคลอดก่อนกำหนด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เพราะคุณแม่ที่มีภาวะน้ำคร่ำมากอาจตั้งครรภ์นานถึง 39-40 สัปดาห์
  • เจาะน้ำคร่ำ ในกรณีที่สงสัยทารกมีความผิดปกติเพื่อตรวจโครโมโซมของทารกช่วยเป็นแนวทางการรักษาตามสาเหตุที่พบ หากมีภาวะแทรกซ้อนร่วม

น้ำคร่ำมาก ส่งผลต่อทารกในครรภ์อย่างไร

ในกรณีที่คุณแม่มีภาวะน้ำคร่ำรุนแรงจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการผ่าคลอด และอาจเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนซึ่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นนี้ส่งให้ต่อทารกในครรภ์เช่น

  • ทารกคลอดก่อนกำหนด หรือมีโอกาสได้รับการทำสูติศาสตร์หัตถการ เช่น การผ่าท้องคลอดฉุกเฉิน หรือทำคลอดท่าก้น
  • เกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด
  • เกิดภาวะสายสะดือย้อย
  • ทารกโตเร็วเกิน
  • ทารกไม่กลับหัว ตายคลอด หรือภาวะเลือดไหลผิดปกติหลังคลอด เป็นต้น

เมื่อคุณแม่ทราบว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์อาจต้องหมั่นสังเกตการเปลี่ยนแปลงของร่างกายหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งควรพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลครรภ์ นอกจากภาวะน้ำคร่ำมากที่อาจเกิดขึ้นได้ขณะตั้งครรภ์ ภาวะน้ำคร่ำน้อย (oligohydramnios) ก็เป็นอีกหนึ่งภาวะที่คุณแม่ควรระวังเช่นกันเพราะอาจส่งต่อความรุนแรงทั้งตัวคุณแม่และทารกน้อย ดังนั้นอย่าลืมสังเกตอาการและการเปลี่ยนแปลงขณะตั้งครรภ์เพื่อป้องกันอันตรายและการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นร่วม

Exit mobile version