สายสะดือพันคอ จะรู้ได้อย่างไร? อันตรายไหม?

สายสะดือพันคอ จะรู้ได้อย่างไร? อันตรายไหม?
ตั้งครรภ์

Last Updated on 2023 02 07

คุณแม่คงเคยได้ยิน “สายสะดือพันคอ” กันมาบ้างแล้ว ภาวะนี้ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนอย่างหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ในระหว่างการตั้งครรภ์ โดยที่ตัวคุณแม่เองแทบจะไม่รู้ตัว คงสงสัยว่าสายสะดือพันคอทารกเกิดขึ้นได้อย่างไร ควรสังเกตอย่างไร และจะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ไหม วันนี้กิฟท์มีข้อมูลมาฝากกันค่ะ

สารบัญ

สายสะดือ คืออะไร?

สายสะดือ หรือสายรก คืออวัยวะเดียวกัน ทางสรีรวิทยาและพันธุกรรมถือว่าสายสะดือเป็นส่วนหนึ่งของตัวอ่อน/ทารก เป็นอวัยวะที่เชื่อมระหว่างรกที่ฝังตัวอยู่ในมดลูกของแม่กับสะดือบริเวณหน้าท้องของทารกในครรภ์ ซึ่งร่างกายเริ่มสร้างเมื่อมีอายุครรภ์ครบ 5 สัปดาห์ เป็นอวัยวะที่แลกเปลี่ยนอาหารและออกซิเจนระหว่างแม่และทารกในครรภ์ และภาวะแทรกซ้อนที่สายสะดือพันคอทารกนั้นสามารถพบได้เป็นปกติถึง 15 – 35 เปอร์เซ็นของการตั้งครรภ์

สายสะดือพันคอทารก มีปัจจัยอะไรบ้าง?

สายสะดือพันคอทารก  (Nuchal cord) พบได้ 1 ใน 3 ของทารก แต่เมื่อคลอดออกมาแล้วทารกมีร่างกายอุดมสมบูรณ์ดี สาเหตุที่อาจส่งผลให้สายสะดือพันคอทารก มีดังนี้

ทารกดิ้นมากกว่าปกติ

ถือเป็นสาเหตุหลักของสายสะดือพันคอเลยก็ว่าได้ เมื่อทารกดิ้นมากเกินไปทำให้อวัยวะบางส่วนไปคล้องเกี่ยว หรืออาจจะเป็นส่วนของศรีษะไปรอดคล้องกับสายรก

สายสะดือที่ยาวผิดปกติ

เนื่องจากสายสะดือมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 50 เซนติเมตร บางท่านสั้นกว่านั้น ในขณะที่บางท่านอาจยาวมากกว่า 100 เซนติเมตร แต่อย่างไรก็ตาม สายสะดือที่สั้นผิดปกติอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ประเภทอื่น ๆ ได้เช่นกัน

ความผิดปกติและความไม่สมบูรณ์ของสายสะดือ

เช่นในเด็กบางรายที่มีสายสะดือที่ยาวหรือไม่สมบูรณ์ก็จะยิ่งส่งผลให้สายสะดือพันคอทารกได้ง่ายขึ้น

มีฝาแฝดร่วมครรภ์ หรือมากกว่านั้น

ปกติแล้วทารกจะมีการเคลื่อนไหวอยู่ภายในท้องของคุณแม่เกือบตลอดเวลา ดังนั้น การมีลูกแฝดและหากขาดการดูแลที่ดีอาจมีความเสี่ยงที่สายสะดือจะพันคอทารก เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้

น้ำคร่ำมากเกินไป

ส่งผลให้ทารกในครรภ์มีการเคลื่อนไหวได้ง่าย และมากขึ้น จึงส่งผลให้สายสะดือพันคอได้

สายสะดือพันคอทารก แบบไหนอันตราย?

สายสะดือทำหน้าที่ส่งเลือดที่มีออกซิเจน และสารอาหารต่าง ๆ จากแม่ไปสู่ทารก และเป็นตัวกลางลำเลียงเลือดที่ขาดออกซิเจนและสารอาหารกลับคืนสู่รก ซึ่งหากมีปัญหาที่สายสะดือมีการถูกบีบรัด หรือมีการจำกัดหลอดเลือดแดง และพันอยู่รอบตัวหรือคอทารก อาจนำไปสู่การเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด (Birth Asphyxia) ซึ่งมีรูปแบบของการพันของสายสะดือ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

ประเภทที่ 1 แบบปลดล็อก

คือการที่ปลายสายสะดือที่เชื่อมกับรกตัดผ่านปลายที่เชื่อมต่อกับทารก ซึ่งอาจปลดล็อก หรือคลายปมได้เองจากการเคลื่อนไหวร่างกายของทารกระหว่างอยู่ในครรภ์แม่

ประเภทที่ 2 แบบล็อค

ปลายสายสะดือที่เชื่อมต่อกับรกมีการไขว้กันตรงส่วนปลายที่เชื่อมกับทารกในครรภ์ แต่มีโอกาสน้อยมากที่สายสะดือจะคลายปมออกได้ด้วยการเคลื่อนไหวร่างกายของทารก และยิ่งทำให้เป็นปมผูกแน่น (True Knot) มากขึ้น

จะรู้ได้อย่างไรว่าสายสะดือพันคอลูก

เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 28 สัปดาห์เป็นต้นไป คุณแม่สามารถสังเกตการดิ้นของทารกในครรภ์ได้มากขึ้น ทารกจะดิ้นมากถึง 264 ครั้งต่อวัน ดังนั้น การสังเกตว่าสายสะดือพันคอลูกหรือไม่ ให้คุณแม่นับอย่างคร่าวๆได้ ดังนี้

ลองนับลูกดิ้นแบบ “Count to Ten”

ให้คุณแม่นับลูกดิ้นตั้งแต่เช้า-เย็น หรือประมาณ 10-12 ชั่วโมง  หากลูกดิ้นมากกว่า 10 ครั้งถือว่าปกติ  โดยปกติใน 1 วัน ลูกจะดิ้นมากกว่า 10 ครั้ง อยู่แล้ว

พบแพทย์ หากดิ้นมากกว่า 40 ครั้ง ต่อชั่วโมง

และหยุดไปนาน นั่นอาจเป็น สัญญาณอันตราย คุณแม่ต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการอัลตราซาวด์ค่ะ

ผลกระทบต่อทารกจากสายสะดือพันคอ

ทารกที่ถูกสายสะดือพันคอ นอกจากจะมีภาวะขาดอากาศหายใจในครรภ์แล้ว ยังสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้อีกด้วยค่ะ เช่น

ภาวะสมองทำงานผิดปกติ

เนื่องจากการขาดออกซิเจนหรือขาดเลือด (Hypoxic-ischemia encephalopathy: HIE ) ทารกแรกเกิดจะได้รับอาการบาดเจ็บที่สมอง เนื่องจากขาดออกซิเจน และเลือดไปไหลเวียนที่สมองในช่วงใกล้คลอด ซึ่งส่งผลให้เด็กบางคนมีภาวะ HIE อาทิ สมองพิการ โรคลมบ้าหมู และความพิิการทางสติปัญญาและพัฒนาการ เป็นต้น

ทารกเสียชีวิตในครรภ์

หรือแท้งนั่นเอง ซึ่งต้องรีบเข้าพบแพทย์โดยด่วน

อัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ผิดปกติ

ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงในการผ่าคลอดที่มีการใช้เครื่องมือทางการแพทย์อย่าง เช่น คีม และเครื่องดูดสุญญากาศ

ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (Intrauterine growth restriction: IUGR)

ทารกที่ถูกสายสะดือพันคอนั้นจะส่งผลให้ทารกมีขนาดร่างกายเล็กกว่าปกติ เพราะสารอาหารและออกซิเจนถูกส่งไปเลี้ยงไม่เพียงพอ แต่ภายหลังคลอดก็สามารถเติบโตได้สมบูรณ์ปกติ

การมีขี้เทาในน้ำคร่ำ (Meconium-Stained Amniotic Fluid: MSAF)

หากทารกในครรภ์อุจจาระครั้งแรกในครรภ์ อาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ได้ โดยทารกอาจกลืนน้ำคร่ำ และของเหลวที่มีเมโคเนียมเข้าไป ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อร่างกายที่เรียกว่า ภาวะสูดสำลักขี้เทา (Meconium Aspiration Syndrome: MAS)

แนวทางการรักษาของแพทย์

เมื่อแพทย์ตรวจพบว่ามีสายสะดือพันคอทารกด้วยการอัลตร้าซาวด์ แพทย์จะสังเกตปฏิกิริยาของทารกว่ามีการแสดงอาการ หรือมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับทารกหรือไม่ และหากคุณแม่อยู่ในช่วงใกล้คลอด หรือระหว่างเจ็บท้องคลอด แพทย์จะมีการดำเนินการดังต่อไปนี้

กรณีผ่าคลอด ( C- section )

หลังจากแพทย์ตรวจพบความผิดปกติของอัตราการเต้นหัวใจของทารกในครรภ์ หากพบว่ามีสายสะดือพันคอ ไม่จำเป็นที่จะต้องรีบผ่าคลอด ( C-section ) ทันทีเสมอไป แพทย์จะผ่าคลอดในกรณีที่สายสะดือพันคอแล้วดึงรั้งแน่น จนทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงสมองและอาจส่งผลทำให้เด็กขาดออกซิเจน มีการเต้นหัวใจผิดปกติ กรณีเช่นนี้ต้องผ่าตัดคลอดฉุกเฉิน

กรณีคลอดธรรมชาติ

การคลอดธรรมชาติยังสามารถทำได้โดยแพทย์จะพิจารณาร่วมกับความประสงค์ของคุณแม่ หากว่าสายสะดือพันคอทารกไม่รุนแรงมากนัก โดยอาจจะใช้เทคนิคการนำสายสะดือไปไว้เหนือศรีษะของทารก เพื่อลดการกดทับขณะที่พยายามนำช่วงไหล่ และลำตัวของทารกออกจากช่องคลอด

จะเห็นว่าสายสะดือพันคอลูกเป็นภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์ที่คุณแม่แทบจะไม่รู้ตัวเลย หากว่าแพทย์ผู้รับฝากครรภ์จะไม่สังเกตเห็นความผิดปกติเหล่านี้ และยังไม่มีวิธีป้องกันภาวะแทรกซ้อนนี้ได้อย่างแน่ชัด ทารก 1 ใน 3 สามารถเกิดสายสะดือพันคอขึ้นได้เป็นปกติ สิ่งที่คุณแม่ควรทำคือ เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ให้รีบทำการฝากครรภ์กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที และไปพบแพทย์ตามเวลานัดหมายทุกครั้ง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อทารกและคุณแม่ และเพื่อแพทย์จะได้ดูแลอย่างทันท่วงทีค่ะ


Mommy Gift

155,945 views

แม่น้องสปิน คุณแม่ฟูลไทม์ ที่เชื่อเรื่องการเลี้ยงลูกแบบธรรมชาติอย่างสมดุลทั้งภายใน-ภายนอก และเชื่อว่าลูกคือครู จึงทําให้สนใจความเป็นไปของผู้คน จิตวิทยาความสัมพันธ์ในครอบครัว และความสัมพันธ์ของมนุษย์กับธรรม(ะ)ชาติ ชื่นชอบการทำอาหาร งาน Handmade อ่านหนังสือ ปลูกต้นไม้ Facebook : Gift Bfive IG : spin_ramil

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save