วิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้น การนับลูกดิ้น ที่แม่ท้องควรรู้

วิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้น_ลูบหน้าท้องเบาๆ-01
ตั้งครรภ์

Last Updated on 2021 11 20

เมื่อคุณแม่ทุกคนทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ สิ่งแรกที่คุณแม่อยากรู้ที่สุดคือ ทารกน้อยในครรภ์มีความสุข สุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์ดีหรือไม่ ซึ่งวิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้นตามธรรมชาติ จะสามารถบ่งบอกถึงปฏิกิริยาเหล่านี้ได้ดีที่สุด ซึ่งโดยปกติแล้วคุณแม่จะเริ่มสัมผัส และรับรู้ถึงการดิ้นของทารกได้ตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 16 – 20 สัปดาห์ เป็นต้นไป โดยคุณแม่อาจรู้สึกว่าการดิ้นของทารกในระยะเริ่มแรกจะคล้ายกับปลาตอด ตุ้บ ๆ หรืออาจรู้สึกเหมือนปลายประสาทกระตุก ซึ่งลักษณะการดิ้นของทารกจะมีท่าทางคล้ายการเตะ การต่อย การพลิกตัว ม้วนตัว เป็นต้น ซึ่งระยะแรกทารกอาจขยับตัวไม่บ่อยนัก ต่อเมื่ออายุครรภ์เพิ่มขึ้น ทารกจะขยับตัวมากขึ้น และคุณแม่ก็จะรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นอีกด้วย

วิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้น อย่างปลอดภัย

เปลี่ยนท่านอน

วิธีนี้นอกจากจะทำให้คุณแม่รับรู้ได้ถึงการดิ้นของลูกได้ชัดเจนแล้ว ยังช่วยให้ร่างกายของคุณแม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถ ลดการกดทับและปวดเมื่อยได้อีกด้วย ซึ่งคุณแม่อาจนอนหงาย นอนตะแคงขวา หรือตะแคงซ้ายสลับกันก็ได้ โดยเฉพาะท่านอนตะแคงซ้าย คุณแม่จะรู้สึกถึงการดิ้นของลูกได้มากกว่าท่านอนแบบอื่น ๆ เพราะท่านี้จะทำให้ทารกในครรภ์อยู่ในลักษณะที่นอนหงายราบไปกับหน้าท้องของคุณแม่ นั่นเอง

ดื่มน้ำเย็นจัด

บางครั้งคุณแม่อาจไม่รู้สึกถึงการดิ้นของทารกน้อยในครรภ์ เนื่องจากทารกอาจกำลังหลับพักผ่อนอยู่ ซึ่งช่วงเวลาในการหลับของทารกในครรภ์จะกินเวลาประมาณ 20 – 40 นาที วิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้นโดยดื่มน้ำเย็นจัดเข้าไป ก็จะช่วยปลุกให้ทารกตื่นขึ้นมาเล่นกับคุณพ่อคุณแม่ได้อีกทางหนึ่ง

ใช้มือลูบหน้าท้องเบา ๆ

หรือกดเบา ๆ บริเวณหน้าท้องข้างใดข้างหนึ่ง เพราะการสัมผัสด้วยมือเบา ๆ จากคุณพ่อคุณแม่สู่ทารกน้อยในครรภ์ถือเป็นวิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้นที่รวดเร็ว ปลอดภัย และได้ผลดีมากอีกวิธีหนึ่ง เพราะความรัก ความอบอุ่น อ่อนโยนจะถูกส่งผ่านไปสู่ลูกได้ในทันที และเขาก็จะมีปฏิกิริยาตอบโต้กลับมาอย่างรวดเร็วเช่นกัน

เปิดเพลงหรือร้องเพลงให้ฟัง

เช่น เพลงบรรเลงในท่วงทำนองฟังสบาย ๆ เพลงกล่อมเด็ก เพลงกล่อมนอน (ติดตามเพิ่มเติม >> 25 เพลงกล่อมนอน ลูกน้อยหลับสบายไปกับเสียงแม่) รวมไปถึงบทสวดมนต์ด้วยเช่นกัน ซึ่งจะทำให้ทารกในครรภ์รับรู้และสัมผัสได้ถึงความสุข ความอบอุ่น อ่อนโยนที่คุณแม่ถ่ายทอดสู่ลูกน้อยในครรภ์ได้ เป็นการสร้างพัฒนาการทางด้านอารมณ์ให้กับทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ซึ่งทารกบางรายอาจดิ้นแรง และถี่ขึ้น เมื่อได้ฟังเพลงที่เขาชอบ ถือเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความพึงพอใจของทารก นั่นเอง

ชวนลูกคุย อ่านหนังสือให้ฟัง

เช่น นิทาน บทกวี หรือแบบเรียนภาษาต่าง ๆ ถือเป็นอีกหนึ่งที่น่าสนใจมาก ทั้งนี้พบว่าเด็กทารกในครรภ์สามารถเรียนรู้ จดจำภาษา และพัฒนาศักยภาพของสมองได้ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ส่งผลให้เมื่อเด็กเติบโตขึ้นจะมีพัฒนาการทางสมองที่ชาญฉลาด เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้รวดเร็ว และมีความจำที่แม่นยำ

รับประทานของหวาน ผลไม้ หรือขนม

เพราะเด็กกับขนมหวานถือเป็นของคู่กันก็ว่าได้ ดังนั้น การที่คุณแม่รับประทานขนมหวานเข้าไปเพียงคำแรก หลังจากนั้นราว 2-3 นาที ทารกจะแสดงปฏิกิริยาตอบโต้โดยการดิ้น แสดงถึงความพึงพอใจที่ได้ลิ้มรสขนมหวานด้วย นั่นเอง ทว่า วิธีการกระตุ้นให้ลูกดิ้นโดยวิธีนี้ก็อาจมีความเสี่ยง ทำให้คุณแม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้เช่นกัน จึงพึงระวัง อย่ารับประทานของหวานบ่อย และมากจนเกินไป เพราะอาจเป็นอันตรายต่อคุณแม่ และทารกในครรภ์ได้เช่นกัน

ส่องไฟฉาย

วิธีการนี้จะเป็นการกระตุ้นพัฒนาการ ด้านการมองเห็น ของทารกในครรภ์ โดยทารกจะเริ่มลืมตา กระพริบตา รับรู้การมองเห็นได้ในระยะครรภ์ประมาณ 7 เดือน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถใช้ไฟฉายเปิดปิดเป็นระยะๆ สลับกันวันละ 5 – 10 ครั้ง ครั้งละ 1 – 2 นาที ซึ่งเมื่อประสาทการรับรู้เรื่องแสงและการมองเห็น ได้รับการกระตุ้น ทารกจะมีปฏิกิริยาตอบโต้โดยการดิ้น วิธีการนี้นอกจากจะเป็นวิธีการกระตุ้นให้ลูกดิ้นแล้ว ยังเป็นการเตรียมความพร้อมในเรื่องการมองเห็นของทารกหลังคลอดอีกด้วย

ใช้กลิ่นหอมอ่อน ๆ ของน้ำมันหอมระเหย

ด้วยกลิ่นหอมอ่อน ๆ ของน้ำมันหอมระเหยที่คุณแม่ชอบ นอกจากจะช่วยให้คุณแม่ในระยะ 9 เดือนได้รับการผ่อนคลาย ลดภาวะความเครียดในช่วงใกล้คลอดแล้ว ยังทำให้ทารกน้อยในครรภ์รู้สึกสดชื่น และอบอุ่นใจไปด้วย ทารกก็จะแสดงความพึงพอใจด้วยการดิ้น แม้อาจจะทำได้เพียงเล็กน้อย เพราะเหลือพื้นที่ไม่มาก แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าคือ ความพึงพอใจของทารกจะถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนเอนโดรฟิน อันจะส่งผลดีต่อพัฒนาการด้านอารมณ์ และสติปัญญาของทารก นั่นเอง

วิธีนับลูกดิ้น

การนับจังหวะลูกดิ้น และจำนวนครั้งในการดิ้นของทารก ถือเป็นสิ่งสำคัญที่คุณแม่ไม่ควรละเลย ซึ่งมีข้อสังเกตที่น่าสนใจ ดังนี้

  • โดยเฉลี่ย เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 20 สัปดาห์ ลูกจะดิ้นราว ๆ 200 ครั้งต่อวัน โดยในระยะเริ่มแรกคุณแม่จะรู้สึกเหมือนมีอาการปลายประสาทกระตุก หรือปลาตอดตุ้บๆ ซึ่งเป็นพัฒนาการการดิ้นของทารกในช่วง 4 – 5 เดือน นั่นเอง
  • เมื่อมีอายุครรภ์ได้ 28 สัปดาห์ จะมีช่วงจังหวะการดิ้นที่ชัดเจน และสม่ำเสมอมากขึ้น ซึ่งทารกแต่ละคนก็จะมีจำนวนครั้งในการดิ้นที่แตกต่างกันออกไป บางคนอาจดิ้นมาก ดิ้นแรง แต่บางคนอาจดิ้นน้อย และไม่แรงมากนัก ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้วิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้น เพื่อช่วยให้ทารกมีพัฒนาการในการเคลื่อนไหวได้ด้วยเช่นกัน
  • เมื่ออายุครรภ์ได้ 30 – 32 สัปดาห์ ทารกปกติ จะมีจำนวนครั้งในการดิ้นสูงถึง 375 – 700 ครั้งต่อวัน หรือคิดเป็นค่าเฉลี่ยชั่วโมงละ 16 – 24 ครั้ง นั่นเอง
  • ช่วงจังหวะการดิ้นของทารกจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงช่วงระยะเวลาใกล้คลอด คือราว 32 – 40 สัปดาห์ หรือระยะ 8 – 9 เดือน ซึ่งการดิ้นของทารกจะเริ่มลดน้อยลงในช่วงนี้ เหลือเฉลี่ยราวๆ ชั่วโมงละ 23 – 24 ครั้ง ทั้งนี้เพราะพื้นที่รอบๆ ตัวทารกลดน้อยลง หรืออีกนัยหนึ่งคือ ร่างกายของทารกขยายใหญ่ขึ้น จนเหลือพื้นที่ให้เขาดิ้นน้อยลง นั่นเอง

ลูกดิ้นแบบไหนควรพบแพทย์

ลูกดิ้นแรงมาก หลังจากนั้นหยุดดิ้น

ไม่มีปฏิกิริยาใด ๆ ตอบโต้อีกเลย แม้คุณพ่อคุณแม่จะใช้วิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้นหลากหลายวิธีแล้วก็ตาม ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจมีบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ได้

หยุดดิ้นเมื่อใกล้คลอด

ทารกดิ้นเป็นปกติเรื่อยมา แต่เมื่อถึงระยะเวลาใกล้คลอด ในช่วง 7 – 8 เดือน ทารกไม่ดิ้นอีกเลย ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อหาสาเหตุของการที่ลูกหยุดดิ้น

ยิ่งอายุครรภ์มากขึ้น ทารกยิ่งดิ้นน้อยลง

แต่ไม่ได้หมายความว่าทารกจะหยุดดิ้นเสียเลย หากคุณแม่นับจำนวนครั้งที่ลูกดิ้นครบ 10 ครั้งในเวลา 4 ชั่วโมง ก็ไม่ต้องกังวลใจ เพราะถือเป็นเรื่องปกติ แต่หากพบว่าอัตราการดิ้นน้อยกว่านั้น หรือแทบไม่มีปฏิกิริยาใดๆ เลย เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ถึง 12 ชั่วโมงก็ได้

อย่างไรก็ตาม นอกจากคุณแม่ควรทราบวิธีการกระตุ้นให้ลูกดิ้น แล้ว คูรแม่ยังควรสังเกต จดจำการนับจำนวนครั้งการดิ้นของลูกในแต่ละชั่วโมงด้วยเช่นกัน เพราะจำนวนครั้งที่ทารกน้อยดิ้น จะบ่งบอกถึงสุขภาพ และความสมบูรณ์แข็งแรงของลูกในช่วงเวลาขณะนั้นด้วย นั่นเอง

ข้อมูลอ้างอิง bccgroup-thailand.com, ram-hosp.co.th


waayu

327,915 views

(นามปากกา : วายุ, วิสัชนา, อารีรัตน์) ชอบปลูกต้นไม้ อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ และวาดรูป เคยเป็นครูอนุบาล ครูประถม ครูมัธยมต้น ครูสอนจินตคณิต(สมาร์ทเบรน) มีงานเขียนพ็อกเก็ตบุ๊ค และ E-book ที่ mebmarket.com Facebook

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save