Site icon simplymommynote

ท้องนอกมดลูก คืออะไร? อาการ? ตรวจเจอตอนไหน?

ท้องนอกมดลูก คืออะไร อาการ ตรวจเจอตอนไหน

ท้องนอกมดลูก คืออะไร อาการ ตรวจเจอตอนไหน

การท้องนอกมดลูกนั้นสามารถพบเจอได้ในผู้หญิงที่มีการตั้งครรภ์เป็นครั้งแรกบ่อยกว่าครรภ์ที่ 2 หรือ 3 หรือถ้าเป็นท้องที่ 2, 3 แต่เคยมีความเสี่ยงเกี่ยวกับประเด็นนี้มาก่อนก็สามารถที่จะเจอกับปัญหานี้ได้อีก วันนี้เรามีเรื่องราวของการท้องนอกมดลูกมาฝากแม่ ๆ หรือคนที่กำลังวางแผนว่าจะตั้งครรภ์ได้ศึกษากันค่ะ

ท้องนอกมดลูก คือ อะไร?

การท้องนอกมดลูก (Ectopic-Pregnancy) คือ ภาวะการตั้งครรภ์ที่มีตัวอ่อนไปฝังอยู่ในที่อื่น ๆ นอกเหนือจากบริเวณภายในมดลูก โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะถูกฝังตัวอยู่ที่บริเวณปีกมดลูกข้างใดข้างหนึ่ง จึงส่งผลให้ตัวอ่อนที่เกิดการฝังตัวแล้วไม่สามารถที่จะเจริญเติบโตได้ตามวัยและไม่สามารถที่จะแปรเป็นทารกได้ หากคุณแม่ที่มีภาวะการตั้งครรภ์นอกมดลูกแล้วปล่อยเอาไว้ไม่ดูแลหรือทำการรักษาจะทำให้ท่อนำไข่แตกและเป็นอันตรายมากถึงชีวิต

อาการ ท้องนอกมดลูก มีอะไรบ้าง?

อาการ ท้องนอกมดลูก คุณแม่สามารถสังเกตตัวเองเบื้องต้นได้ ดังนี้

สาเหตุ ท้องนอกมดลูก?

การท้องนอกมดลูก สามารถเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ดังนี้

ตั้งครรภ์หลังจากอายุ 35 ปี

เมื่อมีอายุมากยิ่งขึ้นแล้วเกิดการตั้งครรภ์จะยิ่งส่งผลให้เกิดภาวะท้องนอกมดลูกมากยิ่งขึ้น เพราะยิ่งอายุมากยิ่งทำให้ระบบสืบพันธุ์เสื่อมสภาพลงได้

ท่อนำไข่มีลักษณะที่ผิดปกติไป

เหตุผลที่ตัวอ่อนไม่สามารถเคลื่อนตัวไปที่โพรงมดลูกได้อาจจะเป็นเพราะท่อนำไข่มีลักษณะผิดรูปไปจนตัวอ่อนไม่สามารถเคลื่อนที่ได้

เกิดจากยาหรือฮอร์โมนบางชนิด

การรับประทานยาในชีวิตประจำวันบางชนิดอาจจะส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้ หรือการมีฮอร์โมนบางชนิดในร่างกายก็จะส่งผลให้เกิดการท้องนอกมดลูกได้เช่นเดียวกัน

สัญญาณเตือน ท้องนอกมดลูก

ตามปกติแล้วตัวอ่อนจะฝังตัวอยู่ภายในมดลูกและมีการเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่เมื่อได้รับสารอาหารจากคุณแม่โดยตรง แต่เมื่อตัวอ่อนไปฝังและเจริญเติบโตผิดที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวคุณแม่ได้ ทั้งนี้หากคุณแม่กำลังตั้งครรภ์ให้สังเกตอาการของตัวเองเพื่อดูว่าตัวเองท้องนอกมดลูกอยู่หรือไม่

มีเลือดออกจากช่องคลอด

คุณแม่ที่มีภาวะการตั้งครรภ์มดลูกมักจะมีเลือดออกจากช่องคลอดในบางรายมีเลือดออกเยอะ      ในบางรายก็มีเลือดออกน้อย

เวียนศีรษะ หน้ามืด

ภาวะการตั้งครรภ์นอกมดลูกนั้นจะส่งผลให้คุณแม่มีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด อาเจียน รวมไปถึงสามารถเป็นลมได้บ่อยครั้ง

ปวดอุ้งเชิงกราน

อาการปวดอุ้งเชิงกรานสามารถพบเจอได้ในผู้หญิงที่มีภาวะท้องนอกมดลูก โดยที่สามารถปวดได้ตั้งแต่บริเวณอุ้งเชิงกรานไม่จนถึงบริเวณต้นขาได้

กลุ่มเสี่ยง ท้องนอกมดลูก

ใครบ้างที่จะมีโอกาสท้องนอกมดลูก? เชื่อว่าคุณแม่หลาย ๆ ท่านต้องสงสัยอย่างแน่นอนว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่สามารถตั้งครรภ์นอกมดลูกได้หรือไม่ มาดูกันค่ะว่ากลุ่มเสี่ยงนั้นจะมีใครบ้าง

การรักษาท้องนอกมดลูก ท้องนอกมดลูกตรวจเจอตอนไหน?

การตรวจว่าท้องนอกมดลูกหรือไม่นั้น สามารถตรวจได้ตั้งแต่ครรภ์อ่อน ๆ ประมาณ 2 – 3 เดือนเป็นต้นไป หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่าเป็นช่วงไตรมาสแรก (การตั้งครรภ์เดือนที่ 1, เดือนที่ 2 และ เดือนที่ 3) และโดยมากแล้วการตั้งครรภ์นอกมดลูกเป็นภาวะหนึ่งที่สามารถทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

การป้องกัน ท้องนอกมดลูก?

ยังคงไม่มีงานวิจัยไหนที่จะมีแนวทางการป้องกันการท้องนอกมดลูกได้แบบโดยตรง แต่ก็มีวิธีที่จะสามารถช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้ ดังนี้

มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

การมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้งไม่ว่าจะฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชายควรทำให้ถูกวิธีและป้องกันเพื่อที่จะได้หลีกเลี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่จะก่อให้เกิดการท้องนอกมดลูกได้

ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

คุณแม่ที่กำลังเตรียมตั้งครรภ์และไม่อยากพบเจอกับภาวะการตั้งครรภ์นอกมดลูก จำเป็นที่จะต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงพร้อมที่จะมีเจ้าตัวเล็ก

งดบุหรี่ เลี่ยงแอลกอฮอล์

สารนิโคตินในบุหรี่หรือสารที่อยู่ในแอลกอฮอล์เมื่อสูบหรือดื่มเข้าไปมาก ๆ จะส่งผลให้คุณแม่เกิดภาวะท้องนอกมดลูกได้ ทางที่ดีควรลด ละ และเลิกเพื่อที่จะทำให้การตั้งครรภ์เป็นไปได้แบบปกติ

ภาวะท้องนอกมดลูกสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุก ๆ คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง หากใครที่อยากลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้ก็จำเป็นที่จะต้องดูแลตัวเองให้มากกว่าเดิมเสียหน่อย เพื่อที่การตั้งครรภ์จะได้ออกมาแบบสมบูรณ์แบบ

อ้างอิง sikarin, phyathai

Exit mobile version