ท้องเสียขณะตั้งครรภ์ ทำอย่างไร? จะอันตรายกับทารกไหม?

ท้องเสียขณะตั้งครรภ์ ทำอย่างไร จะอันตรายกับทารกไหม
ตั้งครรภ์

Last Updated on 2021 10 22

อาการท้องเสียส่วนใหญ่สามารถพบได้ทั้งในช่วงไตรมาสแรกและช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ค่ะ เป็นเพราะร่างกายของคุณแม่มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง และมีความอ่อนไหวกับอาหารมากขึ้น แต่ก็มีความเป็นไปได้ว่าอาจมาจากสาเหตุอื่นด้วย เช่น อาหารเป็นพิษ การติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น ซึ่งหากคุณแม่มีการถ่ายบ่อย อาจส่งผลอันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ เนื่องจากภาวะขาดน้ำ

สารบัญ

แบบไหนที่เรียกว่าท้องเสีย

อาการท้องเสีย ท้องร่วง เป็นกลไกของร่างกายที่ต้องการขับของเสียออกจากร่างกาย ปกติอาการเหล่านี้จะหายไปภายใน 24 ชั่วโมง หรือเรื้อรังไม่เกิน 3 วัน ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับการตั้งครรภ์ค่ะ  แต่คุณแม่ต้องระวังภาวะร่างกายขาดน้ำที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ เพราะภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์ได้ โดยสังเกตจากอาการเหล่านี้

  • ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม
  • ปากแห้ง เหนียว
  • กระหายน้ำ
  • ปริมาณปัสสาวะน้อยลง
  • ปวดหัว
  • มีอาการวิงเวียนศีรษะ

สาเหตุอาการท้องเสียของแม่ตั้งครรภ์ที่ต่างจากคนทั่วไป

อาการท้องเสียของคนทั่วไปสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย แต่คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอาการท้องเสีย อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้ค่ะ

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

ช่วงตั้งครรภ์ร่างกายคุณแม่มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างโดยเฉพาะระดับฮอร์โมน การเพิ่มขึ้นของระดับพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin – ทำหน้าที่กระตุ้นการบีบตัวของมดลูก) ยกตัวอย่างเช่น ฮอร์โมนออกซิโทซิน(Oxytocin – หรือฮอร์โมนความรักและความผูกพัน) จะเริ่มเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 เมื่อคุณแม่ใกล้จะคลอด ฮอร์โมนนี้จะไปกระตุ้นการบีบตัวของมดลูก และยังไปเพิ่มการเคลื่อนไหวของอุจจาระตามทางเดินอาหาร เมื่ออุจจาระผ่านลำไส้เร็วเกินไปส่งผลให้เกิดท้องเสียได้ค่ะ

จากการติดเชื้อ

ติดเชื้อทั้งจากแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อต่าง ๆ หากมีอาการถ่ายเหลว ถ่ายเป็นน้ำ ถ่ายบ่อย ลักษณะอุจจาระมีมูกเลือดหรือฟองปน ร่วมกับอาการมีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว พะอืดพะอม คลื่นไส้ ถ้ามีอาการเช่นนี้คุณแม่ควรรีบพบแพทย์ และรักษาเบื้องต้นได้ด้วยการให้ยาฆ่าเชื้อค่ะ

ความผิดปกติของลำไส้

หากมีอาการท้องเสียเรื้อรังอาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของลำไส้ ไม่ว่าจะเป็น ลำไส้แปรปรวน ลำไส้อักเสบ มีการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในลำไส้ ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการปวดท้อง ปวดบิด มีแก๊ส ท้องอืด รู้สึกเหนื่อยล้า คลื่นไส้ อยากอาเจียน หรืออาจมีน้ำหนักลดร่วมด้วยค่ะ

แพ้อาหาร

คุณแม่อาจมีความไวของระบบการทำงานของอวัยวะภายในเพิ่มขึ้นเมื่อตั้งครรภ์ จากอาหากปกติที่เคยทานได้ก่อนตั้งครรภ์ เมื่อทานตอนตั้งครรภ์อาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ค่ะ

พฤติกรรมการทานอาหารที่เปลี่ยนไป

เมื่อคุณแม่รู้ตัวว่าตนเองตั้งครรภ์ก็มีการปรับเปลี่ยนการทานอาหารเพื่อสุขภาพของคุณแม่ และทารกในครรภ์ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กระเพราะปั่นป่วน และเกิดอาการท้องเสียค่ะ

ความเครียด หรือความวิตกกังวล

ภาวะของความเครียด และความวิตกกังวัลของคุณแม่อาจทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานผิดปกติได้ เกิดการบีบรัดตัว ทำให้ปวดท้อง เหมือนอยากเข้าห้องน้ำตลอดเวลา

ยาหรือวิตามินบางชนิด

ยาหรือวิตามินบางชนิดที่แพทย์ให้คุณแม่ทานระหว่างตั้งครรภ์อาจมีผลข้างเคียงทำให้ระคายเคืองกระเพราะอาหารและอาจมีอาการปวดท้องได้เช่นกันค่ะ

ท้องเสียขณะตั้งครรภ์เป็นอันตรายกับทารกไหม

ปกติอาการท้องเสียถ้าไม่มีอาการรุนแรง จะไม่เป็นอันตรายกับทารกในครรภ์ค่ะ เชื้อโรคทั้งหลายจะอยู่ในลำไส้เท่านั้น แต่คุณแม่อาจรู้สึกว่าทารกในครรภ์ดิ้นเยอะ นั่นเป็นเพราะว่าตำแหน่งของมดลูกอยู่ใกล้กับลำไส้ เมื่อลำไส้มีการบีบตัว จึงเกิดเสียงดังโครกครากก็ทำให้รบกวนการนอนของทารกในครรภ์ จึงทำให้ทารกดิ้นมากกว่าปกติ แต่คุณแม่ต้องระวังอย่าให้เกิดภาวะขาดน้ำค่ะ เพราะโดยปกติคนท้องมักจะต้องการน้ำในร่างกายมากกว่าคนทั่วไปอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อมีอาการท้องเสียร่วมด้วยแล้ว คุณแม่ยิ่งต้องดื่มน้ำทดแทนให้เยอะกว่าเดิมค่ะ

วิธีป้องกันไม่ให้ท้องเสียขณะตั้งครรภ์

คุณแม่จะต้องดูแล และใส่ใจความสะอาดสิ่งรอบตัวเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอาหารและน้ำ เพื่อลดโอกาสที่จะรับเอาเชื้อต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งวิธีป้องกัน คุณแม่สามารถทำได้ ดังนี้ค่ะ

รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่

คุณแม่ควรทานอาหารปรุงสุกใหม่ น้ำที่สะอาดหรือน้ำต้มสุก  เลี่ยงน้ำแข็งที่ไม่ได้ทำเอง เลี่ยงผลไม้ที่ไม่ได้ปอกเปลือกหรือที่ไม่ได้ปอกเอง เพื่อหลีกเลี่ยงเชื้อโรคในอาหาร ไม่ทานอาหารที่ทิ้งไว้นาน หรือค้างคืนแล้วนำมาอุ่นซ้ำ

ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

ใน 1 วัน คุณแม่ควรทานให้ครบ 5 หมู่ และหลากหลาย เพื่อเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ค่ะ

ดูแลสุขอนามัย

หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่เหลวหรือโฟมล้างมือ รักษาความสะอาด ล้างมือทุกครั้งหลังจากเข้าห้องน้ำ ก่อนและหลังทำอาหาร และใช้ช้อนกลางเสมอ

ความสะอาดของสุขา

ไม่ว่าจะเข้าห้องน้ำสาธารณะหรือที่บ้านคุณแม่ควรทำความสะอาดชักโครก ที่รองนั่งและปุ่มกดชักโครกด้วยแอลกอฮอล์หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ

ท้องเสียขณะตั้งครรภ์ดูแลตัวเองเบื้องต้นได้อย่างไร

อาการท้องเสียทั่วไป ส่วนใหญ่จะหายได้เองภายใน 2 – 3 วัน สำหรับกรณีที่เกิดจากเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย แต่ต้องแน่ใจว่าคุณแม่ไม่มีภาวะขาดน้ำนะคะ เบื้องต้นสามารถดูแลตัวเองได้ดังนี้ค่ะ

เติมน้ำและแร่ธาตุให้ร่างกาย

ปกติแล้วคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องการน้ำมากกว่าคนทั่วไป ดังนั้นเมื่อมีอาการท้องเสียคุณแม่ต้องจิบน้ำเยอะ ๆ ในปริมาณที่มากกว่าเดิม เพื่อชดเชยน้ำในร่างกายที่เสียไป และอาจเติมแร่ธาตุที่เสียไปด้วย อาทิ การดื่มเกลือแร่ หรือดื่มน้ำผลไม้ เพื่อช่วยเพิ่มระดับโพแทสเซียม หรือน้ำซุปก็จะช่วยเติมโซเดียมให้คุณแม่ได้ค่ะ

เลี่ยงอาหารย่อยยาก

อาหารบางประเภททำให้อาการท้องเสียแย่ลง เช่น อาหารไขมันสูง ของทอด อาหารรสเผ็ด อาหารไฟเบอร์สูง อาหารทะเล นม และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมวัว คุณแม่ควรทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย เช่น โจ๊ก หรือข้าวต้ม

ห้ามเลือกใช้ยาด้วยตัวเอง

คุณแม่ไม่ควรเลือกใช้ยาแก้ท้องเสียด้วยตัวเอง จะต้องปรึกษาเภสัช หรือสูตินรีแพทย์ก่อนเสมอ ห้ามกินยาแก้ท้องเสีย ท้องอืด ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ห้ามซื้อยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียมากินเอง และห้ามกินยาหยุดถ่าย เพราะการหยุดถ่ายทันทีอาจทำให้เชื้อโรคยังค้างอยู่ในร่างกาย และยาต่าง ๆ อาจส่งผลต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ค่ะ

พักผ่อนให้เพียงพอ

เนื่องจากร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ต่าง ๆ จากการขับถ่ายไปมาก คุณแม่จึงควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ หยุดกิจวัตรประจำวันไปบ้าง เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นตัวจากความอ่อนเพลียกลับมาแข็งแรงเหมือนเดิมค่ะ

ท้องเสียขณะตั้งครรภ์ แบบไหนควรพบแพทย์

หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการท้องเสียที่เข้าข่าย ดังข้อมูลที่จะกล่าวดังต่อไปนี้ ควรพบแพทย์ทันที

  • ถ่ายเป็นเลือด หรือมีมูกเลือด
  • ถ่ายเหลวเป็นน้ำขุ่นขาว และมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ คล้ายของเน่า
  • มีไข้สูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส ปวดศีรษะ
  • ถ่ายบ่อยมากกว่า 3 ครั้ง ภายใน 24 ชม. ขณะถ่ายมีอาการปวดเบ่งร่วมด้วย
  • มีอาการอาเจียนรุนแรง
  • ขาดน้ำ สังเกตได้จากในปากจะแห้งมาก มีฝ้าขาวที่ลิ้น
  • มีอาการนานกว่า 48 ชั่วโมง และรู้สึกอ่อนเพลีย
  • ระหว่างการตั้งครรภ์อาจเกิดอาการท้องเสียได้ทั้งจากฮอร์โมน เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย ความเครียด และอาหารที่รับประทาน ซึ่งหากมีอาการที่ไม่รุนแรงก็ไม่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของทารกค่ะ แต่สิ่งสำคัญคือ คุณแม่จะต้องคอยสังเกต และป้องกันตัวเอง เพื่อไม่ให้เกิดอาการที่รุนแรงและเป็นอันตราย และเพื่อไม่ให้คุณแม่ตั้งครรภ์เกิดภาวะขาดน้ำ คุณแม่ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2.5 ลิตรนะคะ


    Mommy Gift

    157,076 views

    แม่น้องสปิน คุณแม่ฟูลไทม์ ที่เชื่อเรื่องการเลี้ยงลูกแบบธรรมชาติอย่างสมดุลทั้งภายใน-ภายนอก และเชื่อว่าลูกคือครู จึงทําให้สนใจความเป็นไปของผู้คน จิตวิทยาความสัมพันธ์ในครอบครัว และความสัมพันธ์ของมนุษย์กับธรรม(ะ)ชาติ ชื่นชอบการทำอาหาร งาน Handmade อ่านหนังสือ ปลูกต้นไม้ Facebook : Gift Bfive IG : spin_ramil

    Profile

    Pickup posts

    Related posts

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

    Privacy Preferences

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    Allow All
    Manage Consent Preferences
    • คุกกี้ที่จำเป็น
      Always Active

      ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

    • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

      คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

    Save