วิธีอุ่นนมแม่ อุ่นอย่างไรให้ลูกได้สารอาหารครบถ้วน

วิธีอุ่นนมแม่ อุ่นนมแม่อย่างไรให้ลูกได้สารอาหารครบถ้วน
ตั้งครรภ์

Last Updated on 2022 05 10

คุณเคยได้ยินประโยคที่ว่า น้ำนมแม่ คือ ทองคำ ไหมคะ ??? ที่กล่าวเช่นนั้น เพราะนอกจากนมแม่จะอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อลูกน้อย ยังประกอบไปด้วยส่วนประกอบที่ “มีชีวิต” นมแม่นั้นเต็มไปด้วยสารช่วยต่อต้านแบคทีเรีย ช่วยสนับสนุนภูมิคุ้มกัน และยังมีโพรไบโอติกที่ช่วยย่อยอาหาร  แต่คุณแม่บางคนไม่สามารถให้นมลูกด้วยตัวเองได้ตลอดเวลา ด้วยเหตุผลนี้จึงอยากชวนคุณแม่ที่ทำสต๊อกนมแม่เก็บไว้มาทำความเข้าใจเรื่องวิธีอุ่นนมแม่ที่ถูกต้องกันสักนิดค่ะ เพื่อให้ลูกน้อยได้สารอาหารจากนมแม่ที่ครบถ้วน เนื่องจากหากอุ่นแม่ได้ไม่ถูกวิธีอาจสูญเสียสารอาหารสำคัญในน้ำนมไปได้ค่ะ

นมแม่ประกอบด้วยสารอาหารอะไรบ้าง?

นมแม่แต่ละหยดนั้นมีสัดส่วนของสารอาหารแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกัน เพราะนมแม่มีความพิเศษในการปรับเปลี่ยนตัวเองให้เหมาะสมกับลูกในแต่ละช่วงวัยได้เป็นอย่างดี แต่ในที่นี้จะพูดถึงองค์ประกอบโดยรวมที่มีอยู่ในนมแม่ มีดังนี้

ภูมิคุ้มกัน

นมแม่ช่วงแรกหลังคลอดที่เรียกกว่า “น้ำนมเหลือง” (Colostrum) จะมีปริมาณสารภูมิคุ้มกันที่สูง สามารถช่วยป้องกันและลดโอกาสการติดเชื้อของทารกแรกเกิดได้ มีเม็ดเลือดขาวเป็นส่วนประกอบ 2,000-3,000 เซลล์/มิลลิลิตร มีปริมาณไลโซไซม์ ซึ่งเป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่สามารถทำลายผนังเซลล์ของแบคทีเรียทำให้เชื้อตาย สูงกว่านมอื่นๆ ถึง 5,000 เท่า จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เปรียบเทียบนมแม่ว่าเป็นเสมือนวัคซีนแรกของลูก

โปรตีน

นมแม่มีโปรตีนมากกว่า 1,000 ชนิด ซึ่งกว่า 60% เป็นโปรตีนชนิดที่เรียกกันว่า “เวย์โปรตีน” ที่มีคุณสมบัติย่อยง่าย ดูดซึมง่าย ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และป้องกันการติดเชื้อได้ดี

น้ำตาล

ในนมแม่มีน้ำตาลเชิงซ้อนกว่า 200 ชนิดที่เรียกว่าโอลิโกแซ็กคาไรด์ 6 ซึ่งทำหน้าที่เป็นพรีไบโอติก ในลำไส้ของลูก และยังช่วยป้องกันการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด และลดความเสี่ยงของการอักเสบของสมองได้อีกด้วย

ไขมัน

นมแม่จะมีปริมาณไขมันอยู่ที่ 4 กรัมต่อน้ำนม 100 มิลลิลิตร เป็นแหล่งพลังงานสำคัญของลูก และกรดไขมันส่วนใหญ่ในนมแม่จะเป็นกรดไขมันสายยาวและไม่อิ่มตัว ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนาสมอง และยังช่วยในการดูดซึมวิตามิน กระตุ้นกระบวนการเผาผลาญของร่างกายให้ทำงานอย่างสมบูรณ์

วิตามินและแร่ธาตุ

ทั้งวิตามินบี ซี เอ อี ล้วนสามารถพบได้ในน้ำนมแม่ แต่ปริมาณวิตามินจะมากหรือน้อยนั้น ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณวิตามินที่แม่ได้รับ ดังนั้นแม่ที่ให้นมลูกจึงควรทานอาหารอย่างหลากหลาย ครบ 5 หมู่ นอกจากนี้ในนมแม่ยังมีธาตุเหล็ก และแคลเซียม เพียงพอกับลูกวัยแรกเกิด – 6 เดือน ถึงแม้อาจจะมีปริมาณที่ไม่มากแต่ก็สามารถดูดซึมได้ดีกว่า

ทำไมต้องอุ่นนมแม่?

ในเมื่อการอุ่นนมอาจทำให้สารอาหารที่มีอยู่ในน้ำนมแม่สูญเสียไป แล้วทำไมจึงต้องอุ่นนมแม่ด้วยหรือ? สามารถให้นมแม่แบบเย็นแก่ทารกได้หรือไม่ ? — คำตอบคือ สามารถทำได้อย่างปลอดภัย — แต่เหตุผลที่เราควรอุ่นนมให้ลูกมี ดังนี้

คุ้นเคยกับอุณหภูมิร่างกายแม่

แต่เนื่องจากโดยปกตินมแม่มักจะถูกส่งจากเต้านมแม่สู่ลูกโดยตรง จึงทำให้ลูกคุ้นเคยกับนมอุ่นที่อุณหภูมิร่างกาย

นมอุ่นย่อยได้ดีกว่า

ด้วยอุณหภูมิของอาหารส่งผลต่อการย่อยอาหาร โดยทั่วไป อาหารที่อุณหภูมิห้องและอาหารอุ่นจะย่อยง่ายกว่า และให้สารอาหารมากกว่าอาหารเย็น ตามทฤษฎีแล้วการอุ่นนมแม่จะทำให้ลูกย่อยอาหารได้ง่ายขึ้น

วิธีอุ่นนมแม่ ที่ถูกต้อง

เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารครบถ้วน และย่อยได้ง่ายขึ้นจึงจำเป็นที่จะต้องอุ่นนมแม่ให้ลูก หากแม่ไม่สามารถให้ลูกเข้าเต้าได้ตลอดเวลา การอุ่นนมแม่แบ่งได้เป็น 2 วิธีหลัก ดังนี้

วิธีอุ่นนมแม่ที่แช่ตู้เย็น

  • นำถุงน้ำนมแม่ออกจากตู้เย็นแล้วพักไว้
  • ต้มน้ำร้อนโดยใช้กาต้มน้ำ หรือไมโครเวฟ เทน้ำอุ่น (ไม่เดือด) ลงในแก้วหรือชาม
  • ใส่ถุงนม หรือขวดนมที่ปิดสนิทลงในชามน้ำอุ่น ควรเก็บนมในภาชนะที่ปิดสนิทเพื่อคงความอุ่น
  • ทิ้งนมไว้ในน้ำอุ่น 1-2 นาที จนนมแม่ถึงอุณหภูมิที่ต้องการ
  • เทนมอุ่นลงในขวด ด้วยมือที่สะอาด หรือหากอยู่ในขวดนมอยู่แล้ว ให้ปิดฝาจุกนมให้แน่น
  • หมุนขวดนมไปมา แต่ห้ามเขย่าขวดเด็ดขาด เพื่อให้ไขมันที่แยกตัวก่อนหน้า ผสมเข้ากันได้ดีก่อน
  • ทดสอบอุณหภูมินมแม่ก่อนให้ลูกกิน ด้วยการหยดลงหลังมือ

วิธีอุ่นนมแม่แช่แข็ง

  • นำนมแม่ที่แช่แข็งออกมาพักข้ามคืนในช่องแช่เย็นธรรมดา
  • จากนั้นให้ทำตามขั้นตอนเดียวกันกับวิธีอุ่นนมแม่ที่แช่ตู้เย็น
  • หากต้องการใช้นมทันทีโดยที่ไม่ได้นำลงมาพักข้ามคืนไว้ก่อน สามารถทิ้งนมไว้ในน้ำอุ่น 10-15 นาที หรือนานกว่านั้น
  • เทนมอุ่นลงในขวด ด้วยมือที่สะอาด ปิดฝาจุกนมให้แน่น หมุนขวดนมไปมา แต่ห้ามเขย่า

อุ่นนมแม่ด้วยไมโครเวฟได้ไหม?

อย่าใช้เตาไมโครเวฟ หรือใส่นมแม่ลงในหม้อโดยตรง เพราะการทำเช่นนี้อาจเป็นการทำลายสารอาหาร และแอนติบอดี้ที่มีอยู่ในนมแม่ นอกจากนี้ ไมโครเวฟยังให้ความร้อนไม่เท่ากัน จึงอาจทิ้งจุดร้อนที่อาจไหม้ปากของลูกได้ แต่สามารถใช้ไมโครเวฟอุ่นน้ำที่ใช้อุ่นนมแม่ได้

อุ่นนมแม่ได้มากกว่า 1 ครั้ง หรือไม่

หากคุณมีนมแม่เหลืออยู่ หรือลูกกินไม่หมดในคราวเดียว ทางที่ดีควรทิ้งนมนั้นไปค่ะ เนื่องจากเมื่อลูกดูดนมจากขวด แบคทีเรียจากน้ำลายของลูก อาจเข้าสู่น้ำนมผ่านทางจุกนม ซึ่งอาจส่งผลต่อปริมาณสารอาหาร อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าแบคทีเรียจากน้ำลายของลูกอาจไม่เลวร้ายนัก เพราะแอนติบอดี้จากนมแม่จะต่อสู้กับแบคทีเรีย

แต่ทางที่ดีควรเก็บนมแม่ในปริมาณที่เหมาะสมต่อการกินแต่ละครั้ง โดยใส่ถุงเก็บน้ำนมขนาด 2 ถึง 6 ออนซ์ การทำเช่นนี้สามารถช่วยลดโอกาสสูญเสียนมแม่ได้ดีกว่า นอกจากนี้ อย่าลืมระบุวันที่ เวลาปั๊มนมข้างถุงนมเสมอ เพื่อจะได้ นำของเก่ามาใช้ก่อน

ไม่ใช่แม่ทุกคนที่สามารถให้ลูกเข้าเต้าได้ตลอดเวลาเมื่อลูกหิว ดังนั้นการทำความเข้าใจวิธีการอุ่นนมแม่จึงสำคัญอย่างมากสำหรับการนำนมสต๊อกออกมาให้ลูกกิน เพื่อรักษาสารอาหารในนมแม่ให้ได้มากที่สุด และนมอุ่นก็ทำให้ลูกย่อยได้ง่ายกว่าด้วย นมแม่ที่ปั๊มใหม่สามารถเก็บในอุณหภูมิห้องได้นานสูงสุด 4 ชม. ควรใช้ จัดเก็บ หรือทิ้ง แต่หากเป็นนมที่ผ่านการอุ่นมาแล้วสามารถวางไว้ในอุณหภูมิห้องได้นานสูงสุด 2 ชม. หากใช้ไม่หมด ควรทิ้งค่ะ เนื่องจากจะเสี่ยงต่อสุขภาพของลูกได้

อ้างอิง phyhathai.com, mamanatural, healthline.com


Mommy Gift

158,210 views

แม่น้องสปิน คุณแม่ฟูลไทม์ ที่เชื่อเรื่องการเลี้ยงลูกแบบธรรมชาติอย่างสมดุลทั้งภายใน-ภายนอก และเชื่อว่าลูกคือครู จึงทําให้สนใจความเป็นไปของผู้คน จิตวิทยาความสัมพันธ์ในครอบครัว และความสัมพันธ์ของมนุษย์กับธรรม(ะ)ชาติ ชื่นชอบการทำอาหาร งาน Handmade อ่านหนังสือ ปลูกต้นไม้ Facebook : Gift Bfive IG : spin_ramil

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save