Site icon simplymommynote

10 วิธีแก้ เต้านมคัด เวิร์กสุด ๆ

10 วิธีแก้ เต้านมคัด เวิร์กสุด ๆ-01

ในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด คุณแม่จะต้องเจออาการเต้านมคัด ไม่ว่าคุณแม่วางแผนจะให้นมลูก หรือไม่ก็ตาม ร่างกายของคุณแม่ก็จะเริ่มผลิตน้ำนม และเต้านมจะมีอาการบวม แข็ง เต้านมจะร้อน ผิวบวมแดงเป็นมัน เจ็บ ลานนมตึงแข็ง เป็นสาเหตุให้ลูกดูดนมได้ยากขึ้นด้วย สิ่งที่คุณแม่กำลังประสบนี้ คือการคัดตึงเต้านมหลังคลอดค่ะ และเป็นเรื่องปกติสำหรับคุณแม่ทุกคนนะคะ แต่ทำไมมันถึงเกิดขึ้น และจะทำอะไรได้บ้างเพื่อบรรเทาอาการเหล่านี้? วันนี้เรามีข้อมูลมาฝากค่ะ

สาเหตุของเต้านมคัด

มีหลายสาเหตุที่ทำให้คุณแม่มีอาการเต้านมคัดตึง ตั้งแต่ภายหลังคลอดลูก จนกระทั้งสิ้นสุดการให้นมลูก จึงรวบรวมสาเหตุได้ดังนี้ค่ะ

อาการเต้านมคัด เป็นอย่างไร

เต้านมตึงแข็ง

หน้าอกที่คัดตึงเมื่อจับจะรู้สึกแข็งมากกว่านุ่มหรือเด้ง รู้สึกร้อนๆผิวบริเวณนั้น และผิวหนังจะดูตึงหรือเป็นมันเงา

เต้านมบวมและเจ็บ

ภายหลังคลอด ฮอร์โมนการตั้งครรภ์จะลดลง ฮอร์โมนโปรแลคตินเข้ามาทำงานแทนที่เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายคุณแม่ผลิตน้ำนม ขณะเดียวกัน เลือดและของเหลวต่างๆ ก็ถูกส่งมาเลี้ยงที่เต้านมมากขึ้น

ลานนมแข็งและหัวนมสั้นลง

ผิวหนังบริเวณลานนมของคุณแม่จะรู้สึกตึงเจ็บ จึงดึงหัวนมให้สั้นลง ทำให้เวลาลูกดูดนมจะงับถึงลานนมได้ยากขึ้น

มีไข้

บางคนมีไข้ต่ำแต่จะไม่เกิน 24 ชม. หรือต่อมน้ำเหลืองบวมโดยเฉพาะบริเวณรักแร้

วิธีบรรเทาอาการคัดเต้านม

ประคบเต้านมด้วยผ้าอุ่นจัด

อย่างน้อย 10 นาทีก่อนที่จะให้นมลูก ควรใช้ผ้าขนหนูผืนใหญ่พอที่จะหุ้มเต้านมได้โดยรอบ หรือที่ประคบนมที่ปัจจุบันมีผู้ผลิตออกมาวางจำหน่ายก็สะดวกมากยิ่งขึ้น ตามด้วยการนวดและคลึงเต้านมเบาๆ จากฐานลงไปที่หัวนม

ใช้ใบกะหล่ำปลีประคบ

เลือกกะหล่ำปลีที่สามารถคลุมเต้านมของคุณแม่  นำมาล้างน้ำหรือแช่ในน้ำส้มสายชู เพื่อล้างสารพิษตกค้างออก นำไปแช่แข็ง จากนั้นนำมาประคบเต้าประมาณ 15 – 20 นาที

บีบน้ำนมออก

ให้บีบน้ำนมออกจนลานหัวนมนุ่มลง จะช่วยให้ลูกงับลานหัวนมง่ายขึ้น

ให้ลูกดูดน้ำนมบ่อยมากขึ้น

อย่างน้อยทุก 2 – 2 ½ ชั่วโมง ดูดให้ถูกวิธี เพื่อระบายน้ำนมออกจากเต้าให้ได้มากที่สุด และต้องให้ดูดในเวลากลางคืนด้วย หรือตั้งนาฬิกาปลุกเพื่อปั๊มระบายน้ำนมออก มิฉะนั้นเต้านมจะคัดในเช้าวันรุ่งขึ้นอีก ถ้าไม่สามารถให้นมลูกได้ตามเวลา ควรบีบน้ำนมออกเก็บไว้

ประคบเย็น

หลังให้นมลูกเสร็จ เพื่อลดความเจ็บปวด แต่ไม่ควรทำก่อนการให้นม เพราะอาจขัดขวางการไหลของน้ำนมได้

ปั๊มนมออก หากเจ็บมาก

ถ้าคุณแม่เจ็บมากจนให้ลูกดูดนมไม่ได้ อาจต้องพัก ระบายน้ำนมออกโดยบีบหรือปั๊มออก และป้อนนมแม่จากถ้วยให้ลูกแทน หากป้อนด้วยขวดนมลูกอาจติดขวดนมได้ง่าย เพราะน้ำนมไหลง่าย และออกแรงดูดน้อยกว่าการดูดเต้า

รับประทานยาแก้ปวด

ตามความจำเป็นเช่น พาราเซทตามอล

เพราะจะยิ่งทำให้เกิดการกดทับบริเวณหน้าอก และจะทำให้เจ็บเต้านมมากขึ้น

ทำ PP หรือ Power pumping

บีบเอาน้ำนมออกได้เรื่อย ๆ ถ้าจำเป็น หรือควรทำ PP หรือ Power pumping เพื่อคลายความเจ็บปวด ป้องกันการเกิดท่อน้ำนมอุดตัน และเป็นการช่วยกระตุ้นน้ำนม

ปรึกษาแพทย์ หรือคลินิกนมแม่

หากอาการคัดเป็นรุนแรงมาก พยายามแก้ไขด้วยตัวเองทุกวิธีแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ หรือคลินิกนมแม่

เต้านมคัดแบบไหน ที่ควรพบแพทย์

มีไข้ต่ำ ๆ

คุณแม่ที่มีอาการเต้านมคัดบางครั้งจะมีไข้ต่ำ ๆร่วมด้วย แต่จะเป็นเวลาแค่ 12 – 24 ชั่วโมง ซึ่งอาการนี้เรียกว่า ไข้จากน้ำนม (Milk Fever) สาเหตุอาจเกิดจากสารในน้ำนมซึมผ่านเข้าไปในกระแสเลือดแม่ โดยปกติอาการไข้ที่เกิดขึ้นจะหายได้เอง แต่ถ้ามีไข้สูง และนานกว่า 48 ชั่วโมง แสดงว่ามีการติดเชื้อเกิดขึ้น ควรปรึกษาแพทย์

ลูกไม่สามารถดูดนมแม่ได้ดี

แม้ว่าคุณแม่จะพยายามลดอาการคัดตึงของเต้า หรือลดการพุ่งแรงของน้ำนมแล้วก็ตาม เช่นนี้ลูกอาจมีปัญหาการดูดนมจากสาเหตุอื่นร่วมด้วย ซึ่งควรปรึกษาแพทย์ค่ะ

เจ็บทุกครั้งที่ให้ลูกดูดเต้า

คุณแม่รู้สึกเจ็บมากทุกครั้งที่ให้ลูกดูดเต้า จนรู้สึกว่าทนไม่ไหว

เต้านมบวม

รวมถึงมีอาการคัดตึงยังไม่หายหลังจากผ่านไปหนึ่งอาทิตย์

มีไข้สูงกว่า 38 องศา

ร่วมกับมีอาการอ่อนเพลีย อ่อนแรง และหนาวสั่น อาจเกิดจากเต้านมอักเสบ ต้องพบแพทย์ค่ะ

การมีอาการเต้านมคัดตึงคงไม่ใช่เรื่องสนุกแน่นอนสำหรับคุณแม่ ดังนั้นคุณแม่ก็ควรป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดอาการเหล่าบ่อยๆค่ะ ควรให้นมลูกอย่างน้อย 8 ครั้งต่อวัน ไม่เสริมของเหลวให้ลูกในช่ว 4 สัปดาห์แรก หากลูกกินนมน้อยลงก็ควรระบายน้ำนมออกจากเต้าอย่างสม่ำเสมอ ถ้าแม่จำเป็นต้องหย่านมลูกควรทำทีละน้อย และอย่าตกรอบการให้นมช่วงกลางคืนนานเกินไป รวมไปถึงการให้นมท่าห้อยหัวก็มักช่วยป้องกันท่อนมอุดตัน และป้องกันการคัดตึงของเต้านมได้ค่ะ

Exit mobile version