อายุครรภ์ 7 เดือน หรือประมาณ 28 weeks เป็นอายุครรภ์ที่เข้าไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์แล้ว ช่วงนี้ร่างกายคุณแม่จะเป็นอย่างไร อาหารบำรุงครรภ์ยังจะต้องกินอยู่อีกหรือไม่ และที่สำคัญพัฒนาการทารกในครรภ์จะเติบโตไปแค่ไหนแล้ว ไปติดตามกันเลยค่ะ
อาการคนท้อง7 เดือน และและการเปลี่ยนแปลงของร่างกายแม่ตั้งครรภ์
ในช่วงนี้คุณแม่ท้อง 7 เดือน ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ อย่างทีเดียว ดังนี้
- มีปัญหาในเรื่องการนอน นอนไม่หลับ
- ปัสสาวะถี่มากขึ้น
- เหนื่อยง่าย หายใจเท่าไหร่ก็ยังรู้สึกไม่อิ่ม
- มีอาการปวดตามเส้นประสาทบริเวณตั้งแต่เอวไปถึงขา (ปวดแบบไซติก้า – Sciatica)
- อาหารไม่ย่อยจนบางครั้งจะรู้สึกแสบร้อนกลางหน้าอก
- เวียนศีรษะ
- น้ำหนักตัวของทารกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ในระยะนี้ให้คุณแม่เฝ้าดูการดิ้นของทารกในครรภ์ด้วยนะคะ อาจหากระดาษมาจดบันทึกการดิ้นไว้เลยว่าดิ้นกี่โมง ครั้งละประมาณกี่นาที เป็นต้น ซึ่งโดยมากแล้วทารกในครรภ์ที่อายุได้ 7 เดือนนี้มักจะขยับตัวประมาณ 10 ครั้ง ภายใน 2 ชั่วโมง หากวันใดหรือช่วงใดคุณแม่รู้สึกได้ว่ามีความปกติจนรู้สึกว่ากังวลใจ ให้คุณแม่ลองดื่มน้ำเย็น เปิดเพลงฟัง นวดผ่อนคลาย หรือยืดเส้นยืดสายเบา ๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นการเคลื่อนไหวของทารกได้ แต่ถ้าหากทำทุกอย่างแล้วก็ยังดูไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ทันที
อาหารบำรุงครรภ์ 7 เดือน
คาร์โบไฮเดรต
คาร์โบไฮเดรตยังเป็นอาหารกลุ่มที่คนท้อง 7 เดือน ยังต้องการอยู่ และช่วงนี้คุณแม่ต้องดูแลตัวเองให้มากขึ้นเนื่องจากอาจมีภาวะเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนได้ ซึ่งอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ช่วยบำรุงครรภ์ได้ในระยะนี้ได้แก่ ถั่ว มัน โฮลวีท โฮลเกรน พืชที่มีฝัก ผักใบเขียว พาสต้าโฮลวีท และซีเรียล ทั้งนี้คาร์โบไฮเดรตก็คืออาหารจำพวกแป้งที่มีทั้งดีและไม่ดี คุณแม่ควรเลือกกินแป้งที่ไม่ผ่านการขัดสีแบบนี้จะดีที่สุด และควรควบคุมปริมาณการกินด้วยนะคะ
วิตามินเอ
พบมากใน ฟักทอง มะละกอ แตงกวา มะเขือเทศ ผักกาดขาว หรือตำลึง อาหารดังกล่าวนี้มีส่วนช่วยในเรื่องพัฒนาการของอวัยวะสืบพันธุ์ของทารกในครรภ์ให้เติบโตอย่างสมบูรณ์
โปรตีน
นอกจากเนื้อสัตว์แล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่คุณแม่ควรกินในไตรมาสสามนี้ก็คือ ไข่ นั่นเอง เพราะโปรตีนจากไข่มีสารอาหารที่ช่วยป้องกันภาวะซีดจางที่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงใกล้คลอด ปริมาณที่แนะนำต่อวันสำหรับคุณแม่คือ วันละ 1 ฟองค่ะ
โอเมก้า 3
สารอาหารโอเมก้า 3 พบมากในน้ำมันปลา เมล็ดฟักทอง ปลาทะเลน้ำลึก แซลมอน และปลาทู สารอาหารกลุ่มนี้จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านการมองเห็นและระบบการทำงานของสายตาของทารกในครรภ์ให้เติบโตได้อย่างเป็นปกติ
ธาตุเหล็ก
เป็นสารอาหารสำคัญที่คุณแม่ท้องต้องการมาก ๆ ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์เลยก็ว่าได้ค่ะ เพราะธาตุเหล็กจะช่วยในเรื่องการสร้างเม็ดเลือดแดง อาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กได้แก่ เนื้อแดง ข้าว ธัญพืช และถั่ว ถึงแม้ว่าธาตุเหล็กเป็นธาตุอาหารที่สำคัญที่ช่วยป้องกันภาวะซีดจางเมื่อใกล้คลอดได้ แต่ก็ควรทานแต่พอดีไม่มากเกินไปนะคะ คุณแม่ควรกินอาหารให้หลากหลายเอาไว้ค่ะ
พัฒนาการทารกในครรภ์ 7 เดือน
Credit: emmasdiary.co.uk
-
-
-
- ในเดือนนี้ทารกในครรภ์จะมีความยาวตั้งแต่หัวจรดเท้าประมาณ 35 เซนติเมตร และมีน้ำหนักตัวประมาณ 1,000 กรัม หรือเทียบเท่าลูกมะพร้ามขนาดย่อม ๆ ค่ะ
- ต่อมไขมันของทารกในครรภ์เริ่มทำงานแล้ว ในระยะนี้ผิวของลูกน้อยเริ่มมีความชุ่มชื้นมากขึ้น
- ทารกเริ่มลืมตาได้เองแล้ว แม้อยู่ครรภ์ แต่ก็ลืมตาเป็นช่วง ๆ นะคะ ดังนั้น อย่าลืมส่องไฟคุยกับลูกเป็นระยะ ๆ นะคะ เขาชอบฟังเสียงของคุณพ่อคุณแม่มากที่สุดค่ะ
- เนื่องจากทารกในเดือนที่ 7 นี้ตัวของลูกน้อยเริ่มใหญ่มากขึ้น จึงทำให้พื้นที่ในท้องของคุณแม่น้อยลง ดังนั้น ช่วงที่ลูกน้อยดิ้นจึงทำให้รู้สึกว่าลูกดิ้นแรงและดิ้นบ่อย
- ทารกบางรายมีการหมุนกตัวกลับหัว ลักษณะอยู่ในท่าเตรียมคลอดแล้ว
- ทารกมีการกลืนน้ำคร่ำ และมีการฝึกดูดนม ซึ่งน้ำคร่ำที่ทารกกลืนเข้าไปนั้นจะถูกขับออกมาเป็นปัสสาวะโดยมีปริมาณอยู่ที่ 500 มล. ต่อวัน
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
- อาการคนท้อง 1 เดือน พร้อมวิธีแก้อาการแพ้ท้อง
- อาการคนท้อง 2 เดือน อาหารบำรุงครรภ์ และพัฒนาการทารกในครรภ์
- อาการคนท้อง 3 เดือน อาหารบำรุงครรภ์ และพัฒนาการทารกในครรภ์
- อาการคนท้อง 4 เดือน อาหารบำรุงครรภ์ และพัฒนาการทารกในครรภ์
- อาการคนท้อง 5 เดือน อาหารบำรุงครรภ์ และพัฒนาการทารกในครรภ์
- อาการคนท้อง 6 เดือน อาหารบำรุงครรภ์ และพัฒนาการทารกในครรภ์
- อาการคนท้อง 8 เดือน อาหารบำรุงครรภ์ และพัฒนาการทารกในครรภ์
- อาการคนท้อง 9 เดือน อาหารบำรุงครรภ์ และพัฒนาการทารกในครรภ์
-
-