• HOME
  • BLOG
  • โรค
  • ลูกเหงื่อออกมากขณะหลับ สัญญาณโรคร้าย หรือแค่ร้อน?

ลูกเหงื่อออกมากขณะหลับ สัญญาณโรคร้าย หรือแค่ร้อน?

ลูกเหงื่อออกมากขณะหลับ สัญญาณโรคร้าย หรือแค่ร้อน?
โรค

บ่อยครั้งที่เราพบว่า ขณะนอนหลับทารก หรือเด็กเล็ก มักมีเหงื่อออกมาก เนื่องจากอากาศที่ร้อนจัดแทบทุกฤดูกาลของประเทศไทยเป็นเหตุ แต่ถ้าหากลูกน้อยนอนหลับในห้องแอร์ แต่ยังมีเหงื่อออกมาก คุณพ่อคุณแม่ก็ควรตั้งข้อสังเกตได้เลยว่า อาจจะมีสิ่งผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นกับลูกน้อยก็เป็นได้

สารบัญ

ลูกเหงื่อออกมากขณะหลับ เกิดจากอะไร

นอกจากอากาศที่ร้อนจัดจนทำให้ลูกหรือทารกเหงื่อออกมาก จนรู้สึกไม่สบายตัวขณะนอนหลับแล้ว ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้ลูกมีเหงื่อออกมากขณะนอนหลับอีกด้วย โดยเฉพาะสาเหตุที่อาจจะมาจาก

โรคไหลตายในทารก

โรคไหลตายในทารก หรือ SIDS (Sudden Infant Death Syndrome) จะเป็นลักษณะว่าร่างกายจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นในเวลากลางคืน เป็นเหตุให้ลูกเหงื่อออกน้อย และหายใจได้ลำบาก จึงเป็นเหตุให้ลูกน้อยเสียชีวิตได้

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

เด็กที่เป็นโรคนี้จะมีเหงื่อออกมามากกว่าเด็กทั่วไป โดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน โรคนี้มีสาเหตุมาจากพัฒนาการการเติบโตของหัวบกพร่องตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

เป็นอีกหนึ่งโรคที่อาจทำให้ลูกน้อยมีเหงื่ออกมากในเวลากลางคืน มักเป็นความผิดปกติของอวัยวะในช่องทางเดินลมหายใจ ส่งผลให้หายใจไม่สะดวก ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจพบว่าลูกน้อยมีอาการอื่นร่วมด้วย อาทิ มีเสียงหายใจที่ดังคล้ายเสียงกรน หรือผิวหนังออกสีฟ้า เป็นต้น

ภาวะเหงื่อท่วม หรือภาวะเหงื่อหลั่งมาก

อีกหนึ่งสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ นั่นก็คือ ลูกมีภาวะเหงื่อท่วม ซึ่งจุดที่พบว่ามีเหงื่อออกมาก ได้แก่ รักแร้ รองลงมาคือ ฝ่าเท้า และฝ่ามือ ภาวะนี้ไม่ส่งผลร้ายต่อร่างกายมากนัก แต่ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่มีความกังวล สามารถพาลูกน้อยไปพบแพทย์ได้
ทั้งนี้ ในบทความนี้เราจะขอเจาะลึกโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่อาจส่งผลอันตรายต่อสุขภาพน้อยกันสักหน่อย เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้ทำความเข้าใจ และเตรียมตัวรับมือกันค่ะ

อาการโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมีอะไรบ้าง

ไม่ใช่แค่ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุเท่านั้นที่มีความเสี่ยงในการป่วยเป็นโรคหัวใจ แม้แต่ทารกแรกเกิดเองก็มีความเสี่ยงในการป่วยเป็นโรคหัวใจได้เช่นกัน ทั้งนี้สามารถตรวจเช็คอาการของลูกน้อย ว่ามีความเสี่ยงป่วยเป็นโรคหัวใจได้ง่ายๆ ด้วยวิธีการสังเกตอาการผิดปกติดังต่อไปนี้

มีอาการเหนื่อยง่ายหรือไม่

วิธีสังเกตแบ่งออกได้เป็น 2 ช่วงวัย ได้แก่

เด็กระยะแรกเกิดหรือวัยทารก

หากใช้เวลาในการดูดนมจากอกแม่นานเกิน 30 นาทีต่อมื้อ หรือต้องหยุดดูดนมเป็นระยะๆ เนื่องจากมีอาการเหนื่อยหอบ เหนื่อยง่าย และหายใจเร็วกว่าปกติ ให้สงสัยว่าทารกอาจมีอาการผิดปกติบางอย่างที่ทำให้เหนื่อยง่าย

เด็กเล็กในวัยเรียน

ให้สังเกตว่า ลูกมีอาการเหนื่อยง่ายเมื่อออกกำลังกายหรือไม่ และเมื่อหยุดพักจากการเล่นหรือออกกำลังกายแล้ว ก็ยังมีอาการหอบเนื่อยอยู่อีกหรือไม่ จนบางครั้งต้องให้นอนพักในท่าศีรษะสูง ซึ่งอาการต่างๆ เหล่านี้เป็นผลเนื่องมาจากการทำงานของปอดผิดปกติ และมีภาวะหัวใจพิการมาแต่กำเนิด ทำให้การฟอกเลือดเพื่อผลิตออกซิเจนไม่ดีเท่าที่ควร

ทารกมีอาการตัวเขียวหรือไม่?

อาการตัวเขียว (cyanotic) เป็นสภาวะร่างกายของทารกแรกเกิด ที่มีผิวสีคล้ำทั้งลำตัว โดยเฉพาะบริเวณริมฝีปาก ปลายนิ้วมือ และนิ้วเท้า อาการเหล่านี้จะเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อทารกดูดนม เล่น หรือร้องไห้ ถ้ามีอาการรุนแรงมากขึ้นก็จะถึงขั้นหายใจหอบ หายใจแรง ลำตัวอ่อนปวกเปียก และอาจหมดสติ หรือไม่รู้สึกตัวได้

หัวใจของลูกเต้นเร็ว และแรงผิดปกติหรือไม่

คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตการเต้นของตัวใจของลูกน้อยโดยดูจากบริเวณหน้าอกด้านซ้ายใต้ราวนม ที่มีอาการกระเพื่อมของหน้าอกเร็วและแรงกว่าปกติหรือไม่

มีเหงื่อออกมากผิดปกติหรือไม่

หากทารกมีอาการเหงื่อออกมากผิดปกติขณะที่นอนหลับ โดยเฉพาะบริเวณหน้าผาก ด้านหลังศีรษะ และแผ่นหลัง ทั้งที่ไม่เกี่ยวกับเสื้อผ้าที่สวมใส่ หรืออุณภูมิภายในห้อง สาเหตุเนื่องมาจากการทำงานของระบบประสาทซิมพาเธติก และหัวใจที่ต้องทำงานหนัก จึงจำเป็นต้องใช้พลังงานมากกว่าปกติ ส่งผลให้ลูกน้องมีอาการเหงื่อออกมากผิดปกติ นั่นเอง

มีอาการใจสั่นหรือไม่

ในภาวะปกติของคนเรา ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ หัวใจของคนเรามักจะเต้นเร็ว และแรงขึ้นเมื่อออกกำลังกาย หรือออกแรงมากๆ แต่เมื่อได้รับการผ่อนคลาย หรือพักผ่อน ระบบการเต้นของหัวใจก็จะค่อยๆ กลับสู่ภาวะปกติ แต่ในเด็ก(หรือผู้ใหญ่) ที่มีอาการของโรคหัวใจ แม้จะได้รับการพักผ่อนแล้วก็ยังมีอาการหัวใจเต้นเร็ว และใจสั่นอยู่เช่นเดิม เนื่องจากมีความผิดปกติของระบบคลื่นไฟฟ้าเกิดขึ้นที่หัวใจ นั่นเอง

ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถนับอัตราการเต้นของหัวใจของลูก เพื่อดูความผิดปกติ ได้ดังนี้ คือ ในทารกหัวใจของเด็กปกติจะเต้นเร็ว 160 ครั้ง/นาที ในเด็กเล็กหัวใจจะเต้น 140 ครั้ง/นาที ในเด็กโตหัวใจจะเต้น 120 ครั้ง/นาที ซึ่งถ้าพบว่าลูกๆ มีระดับการเต้นของหัวใจสูงกว่าที่กำหนด ควรรีบพาไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย และให้การรักษาต่อไป

มีอาการหน้ามืด หมดสติบ่อยหรือไม่

สาเหตุเนื่องมาจากภาวะตีบแคบของหลอดเลือดแดงบริเวณลิ้นหัวใจ ส่งผลทำให้เลือดไปหล่อเลี้ยงสมองและร่างกายไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการหน้ามืด เป็นลม และหมดสติบ่อยๆ

ลูกเติบโตช้ากว่าเด็กปกติทั่วไปหรือไม่

เด็กทารกที่ป่วยเป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดมักจะตัวเล็ก การเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ และสมองเป็นไปได้ช้า สังเกตจากการดูดนมที่ช้า หรือหยุดดูดเป็นระยะๆ เพราะมีอาการเหนื่อย จึงทำให้ร่างกายได้รับอาการไม่เพียงพอ การเจริญเติบโตจึงเป็นไปได้ช้ากว่าปกติ เป็นต้น

วิธีดูแลลูกน้อยหากเหงื่อออกมากขณะหลับ

คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้วิธีดูแลลูกน้อยขณะนอนหลับได้ง่ายๆ โดยสังเกตจากอาการเหงื่อออก อึดอัดไม่สบายตัวของทารก ได้ดังนี้

สวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะกับภูมิอากาศ

ถ้าพบว่าเสื้อผ้าที่สวมใส่คับ และแน่นหนาจนเกินไป ก็อาจปรับเปลี่ยนเสื้อผ้าให้ทารก โดยใช้เสื้อผ้าที่บาง เบา จะช่วยให้ทารกรู้สึกสบายตัวยิ่งขึ้น

เช็ดตัว เปิดพัดลม

ถ้าพบว่า เป็นเพราะอากาศที่ร้อนอบอ้าวจนเกินไป ทำให้ทารกเหงื่อออกมากขณะหลับ อาจใช้วิธีเช็ดตัว ทาแป้งเย็น เปิดพัดลม หรือเปิดแอร์ให้เพื่อให้ทารกรู้สึกเย็นสบาย ผ่อนคลายยิ่งขึ้น แต่หากเปิดพัดลม ไม่ควรเปิดพัดลมจ่อไปที่ลูก เพราะความเย็นจากลมที่ส่งออกมาตลอดเวลาอาจทำให้ลูกไม่สบาย หรือปวดบวมได้

ปรึกษาแพทย์

หากใช้วิธีข้างต้นแล้วไม่ได้ผล ให้สังเกตว่าลูกมีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วยหรือไม่ เช่น หายใจอึดอัด หายใจหอบ หายใจเหนื่อย มีอาการตัวเขียว ฯลฯ ซึ่งอาจเป็นเพราะทารกมีอาการเจ็บป่วยด้วยสาเหตุอื่นๆ ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาโดยเร็วที่สุด

เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์?

การที่ทารกหรือลูกน้อยมีอาการเหงื่อออกมากขณะนอนหลับทั้งๆ ที่ภายในห้องมีอากาศเย็น อาจสันนิษฐานได้ว่าลูกน้อยอาจป่วยเป็นโรคหัวใจพิการมาแต่กำเนิดก็เป็นได้ ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจใช้วิธีสังเกตอาการอื่นๆ เพิ่มเติม อาทิ ระบบการหายใจ จังหวะการเต้นของหัวใจ สีผิวของลูก รวมถึงภาวะที่เหงื่อออกมากผิดปกติ เป็นต้น

สรุป

หากทารกมีอาการผิดปกติดังกล่าว คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโดยด่วน เพื่อจะได้ทำการรักษาได้ทันท่วงที ทั้งนี้เพราะนอกจากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อยเท่านั้น แต่ยังอาจส่งผลร้ายถึงชีวิตของทารกได้ด้วยเช่นกัน


waayu

329,408 views

(นามปากกา : วายุ, วิสัชนา, อารีรัตน์) ชอบปลูกต้นไม้ อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ และวาดรูป เคยเป็นครูอนุบาล ครูประถม ครูมัธยมต้น ครูสอนจินตคณิต(สมาร์ทเบรน) มีงานเขียนพ็อกเก็ตบุ๊ค และ E-book ที่ mebmarket.com Facebook

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save