Site icon simplymommynote

โรคหัด วิธีรักษา และอาการแบบไหนต้องไปพบแพทย์

โรคหัด วิธีรักษา และอาการแบบไหนต้องไปพบแพทย์

โรคหัด หรือ ไข้ออกหัด ถือว่าเป็นภัยร้ายที่คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองที่มีเด็กอยู่ในครอบครัวไม่ควรมองข้าม ด้วยความที่โรคนี้มักเกิดขึ้นกับระบบทางเดินหายใจ และจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกน้อยมีความเสี่ยงต่อหรือไม่ หากมีอาการใกล้เคียงต้องปฏิบัติอย่างไร โดยเฉพาะกับวัยเด็กหากมีอาการแทรกซ้อนจะทำให้มีอันตรายเป็นอย่างมาก ดังนั้นหากเกิดอาการผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์อย่างเร่งด่วนเพื่อความปลอดภัย

อาการโรคหัด ที่สังเกตได้

อาการโรคหัด มักจะเกิดขึ้นกับระบบของทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า Rubeola Virus โดยผู้ปกครองจะต้องสังเกตอาการผิดปกติของโรคนี้ได้ดังนี้

โดยอาการผื่นจะแสดงให้เห็นหลังจากได้รับเชื้อไวรัสประมาณ 2-3 วันไปแล้ว มักจะขึ้นที่บริเวณหลังใบหู และตามขอบของเส้นผม จากนั้นจะเริ่มกระจายสู่ใบหน้า และกระจายลงตามตัวและแขนขา ซึ่งในระหว่างที่มีอาการผื่นแดง จะมีอาการไข้สูงจนถึง 40 องศาเซลเซียสร่วมด้วย ในช่วงนี้ให้ระวังลูกอาจมีอาการชักได้

อาการแทรกซ้อนที่อาจพบได้ในผู้ป่วยโรคหัด

อย่างไรก็ตาม มีการพบว่าผู้ป่วยอาการโรคหัดอาจเกิดอาการแทรกซ้อนอย่างรุนแรงขึ้นได้ โดยอาการแทรกซ้อน มักเกิดขึ้นกับเด็กที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งอาการแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย จะมีดังต่อไปนี้

อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองควรดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันการเกิดอาการแทรกซ้อนดังกล่าวข้างต้น หากพบอาการต้องสงสัยให้รีบพาผู้ป่วยพบแพทย์จะดีที่สุด

ผู้มีความเสี่ยงในการเกิดอาการแทรกซ้อน

วิธีรักษาโรคหัด

โดยส่วนใหญ่ของคนไข้ที่มีอาการไข้หัดมักจะมีอาการที่ไม่รุนแรง แพทย์จะมีการรักษาตามอาการหรือประคับประคองอาการของผู้ป่วยจนมีอาการที่ดีขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีตัวยาที่สามารถต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคได้ ซึ่งคำแนะนำของแพทย์สำหรับวัยเด็กที่มีอาการไข้หัดโดยส่วนใหญ่ มักจะแนะนำวิธีรักษาไข้หัดในเบื้องต้น โดยแบ่งตามอาการได้ดังนี้

มีไข้สูง

ให้เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นและรับประทานยาแก้ไข้ตามคำแนะนำของแพทย์

มีอาการไอ

ให้ดื่มน้ำมาก ๆ ทานยาแก้ไอตามแพทย์สั่ง

คำแนะนำจากแพทย์

ให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพอ

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีการรักษาที่พัฒนามากขึ้น โดยการให้วิตามินเอแก่ผู้ป่วยในระยะเริ่มต้น เพื่อป้องกันการเกิดอาการรุนแรงในผู้ป่วย

วิธีรับมือ โรคหัด

อาการเบื้องต้นของโรคหัด มักจะมีอาการที่ไม่รุนแรง หากผู้ปกครองพบว่าลูกน้อยมีอาการเบื้องต้นตามที่กล่าวไว้ ได้แก่ มีไข้ อาการไอ ผื่นแดงขึ้นตามตัว โดยที่ไม่พบอาการที่บ่งบอกว่าเป็นอาการแทรกซ้อน สามารถดูแลรักษาลูกน้อยได้ที่บ้านตามคำแนะนำที่ได้กล่าวไว้ แต่หากพบว่าลูกน้อยมีอาการไอที่ค่อนข้างรุนแรง เหนื่อยหอบ รวมถึงมีสีของเสมหะที่ผิดแปลกไปจากสีปกติ ให้รีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์

โรคหัด ป้องกันได้อย่างไร

โรคหัด ถือว่าเป็นโรคที่สามารถติดต่อกันจากคนสู่คนได้ง่ายซึ่งจะสามารถติดต่อกันได้จากลมหายใจที่มีการติดเชื้อของผู้ป่วย หรือมีการสัมผัสละอองน้ำลายของผู้ป่วยโดยตรง ดังนั้นหากพบว่าบุคคลภายในครอบครัวมีอาการไข้หัด แนะนำให้ปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้

สวมหน้ากากอนามัย

ผู้ปกครองที่ต้องดูแลบุตรหลานที่มีอาการไข้หัดอย่างใกล้ชิด ควรสวมหน้ากากอนามัยอยู่ตลอดเวลา

ล้างมือให้สะอาด

เมื่อมีการสัมผัสผู้ป่วยหรือสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วยโดยตรง ควรจะต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง

หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด

หลีกเลี่ยงการพาผู้ป่วยออกไปพบผู้คน หรือหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีความแออัด เพื่อป้องกันเชื้อแพร่กระจาย

ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโรคหัด

ตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันสำหรับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 9 – 12 เดือนในเข็มแรก และกระตุ้นวัคซีนเข็มที่ 2 ในช่วงอายุ 2 ปีครึ่ง จากเดิมที่มีการกำหนดฉีดเข็มกระตุ้นในเด็กที่มีอายุ 4 – 6 ปี

ในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด ถือว่าเป็นวิธีที่สามารถป้องกันให้แก่ลูกน้อยได้ดีที่สุด ดังนั้นเมื่อเด็กมีอายุครบตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกน้อยเข้าไปติดต่อเพื่อขอรับวัคซีนป้องกันได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน

แม้ว่าโรคหัดในเบื้องต้นจะมีอาการที่ไม่รุนแรงมากนัก แต่ผู้ปกครองหรือผู้ที่ใกล้ชิดผู้ป่วยควรหมั่นสังเกตอาการของผู้ป่วยหรือเด็กเล็กอย่างใกล้ชิด เนื่องจากอาการไข้หัดมักจะมีการเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการที่ค่อนข้างรุนแรงมากขึ้นจนไม่สามารถใช้วิธีรักษาไข้หัดเบื้องต้นด้วยตนเองที่บ้านได้ควรพาผู้ป่วยเข้าพบแพทย์โดยเร็วเพื่อคลายความกังวลต่ออาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่รู้ตัว

อ้างอิง : samitivejhospitals, phyathai, bumrungrad

Exit mobile version